ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทวีปเอเชีย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 79:
กระจายตัวออกไป 3 ทาง คือ ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ทิศตะวันตก และทิศตะวันตกเฉียงใต้ จากยอดเขาที่สูงที่สุดในโลกบางส่วนยาวไปถึงประเทศตุรกีซึ่งอยู่บน[[อานาโตเลีย|คาบสมุทรอานาโตเลีย]]
 
=== เขตที่ราบสูงเก่าเก ===
*
ที่ราบสูงเก่าของทวีปเอเชียมีโครงสร้างทางธรณีวิทยาเป็นแผ่นดินหินของเปลือกโลกที่มีอายุเก่าแก่ ประกอบด้วยที่ราบสูงเดกกัน (Deccan Plateau) ใน[[คาบสมุทรอินเดีย]] และที่ราบสูงอาหรับ (Arabian Plateau) ใน[[คาบสมุทรอาหรับ]] ลักษณะของที่ราบสูงทั้งสองมีดังนี้
* '''ที่ราบสูงเดกกัน''' เกิดจากการที่แผ่นดินส่วนหนึ่งจาก[[ทวีปแอนตาร์กติกา]]เคลื่อนตัวมาชนกับแผ่นทวีปเอเชียจนทำให้เกิดเป็นภูเขาขึ้นมาทางด้านแนวชนที่เกิดขึ้น จากตะกอนทะเลทำให้เกิดเป็นเทือกเขาหินสูงตระหง่านที่ชื่อ "หิมาลัย"
* '''ที่ราบสูงอาหรับ''' เกิดจากการที่หินใต้เปลือกโลกเคลื่อนตัว ทำให้เกิดแนวหุบเหวลึกจนกลายเป็น[[ทะเลแดง]]ปัจจุบัน นอกจากนี้ยังปรากฏภูมิประเทศแบบทะเลทรายในคาบสมุทรอาหรับ โดยเฉพาะในดินแดนของ[[ประเทศซาอุดีอาระเบีย]] เป็นต้น
 
เส้น 143 ⟶ 142:
 
{{บทความหลัก|เอเชียกลาง}}
 
'''เอเชียกลาง''' เป็นภูมิภาคที่เกิดขึ้นใหม่จากประเทศต่าง ๆ ที่แยกตัวออกจาก[[สหภาพโซเวียต]] (เฉพาะที่มีเขตแดนอยูในทวีปเอเชีย) มีขนาดพื้นที่ประมาณ 4,021,431 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรประมาณ 61,551,945 คน (กุมภาพันธ์ 2553) เมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่อันกว้างใหญ่ของภูมิภาค เอเชียกลางจึงเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่มีประชากรอาศัยอย่างเบาบางที่สุดแห่งหนึ่งของโลก (เฉลี่ยทั้งภูมิภาค 15 คนต่อตารางกิโลเมตร) และเหตุที่ประเทศภูมิภาคเอเชียกลางไม่มีทางออกสู่ทะเล การส่งออกและการค้าของเอเชียกลางจึงพัฒนาอย่างช้า ๆ โดยประเทศส่งออกหลักของกลุ่มประเทศเอเชียกลาง ได้แก่ [[รัสเซีย]] [[ยุโรปตะวันออก]] และ[[เอเชียตะวันตกเฉียงใต้]]
ลักษณะภูมิประเทศของเอเชียกลางเป็นแบบที่ราบสูง แต่จะมีที่ราบลุ่มบริเวณ[[ทะเลแคสเปียน]] ด้านศาสนา ประเทศส่วนใหญ่ในเอเชียกลางนับถือ[[ศาสนาอิสลาม]]และ[[ศาสนาคริสต์]]
 
{| class="wikitable"