ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พญางำเมือง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Armonthap (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
แทนที่เนื้อหาด้วย "{{Infobox royalty | image = File:King Ngam Mueang Monument.jpg | birth_date = พ.ศ. 1781 | death_date = พ.ศ. 1841 | succession = กษัตริย์แห่งแคว้นพะเยา | father = พญามิ่งเมือง | mother = | queen = นางพญาอั้วเชียงแสน<ref name="เชียงแสน"/> | issue = | house = ราชวงศ์พะเย..."
ป้ายระบุ: ถูกแทน ถูกย้อนกลับแล้ว การแก้ไขแบบเห็นภาพ
บรรทัด 15:
}}
 
'''พญางำเมือง'''<ref>[[ประเสริฐ ณ นคร]]. ''ประวัติศาสตร์เบ็ดเตล็ด.'' กรุงเทพฯ: มติชน. 2549. ISBN 9743236007. หน้า 269.</ref> ({{lang-nod|[[ไฟล์: LN-Phaya Ngammueang.png|60px ]]}}) เป็น[[พระมหากษัตริย์]]ลำดับที่ 12 ของ[[แคว้นพะเยา]]
 
== พระราชประวัติ ==
'''พญางำเมือง''' เป็นพระราชโอรสของ[[พญามิ่งเมือง]] ประสูติในเวลารุ่งเช้า วันพฤหัสบดี ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 6 ปีจอ [[พ.ศ. 1781]] (จ.ศ. 600) <ref name="โยนก">{{Cite web |url=http://www.bpp32.com/p2.html |title=ประวัติพญางำเมือง โดย กองกำกับการตำรวจตระเวณชายแดน |access-date=2016-10-22 |archive-date=2018-03-22 |archive-url=https://web.archive.org/web/20180322152220/http://www.bpp32.com/p2.html |url-status=dead }}</ref> เมื่อพระชนมายุได้ 14 พรรษา ได้ไปศึกษาเล่าเรียนพระเวทกับ[[เทพฤๅษี]]ตนหนึ่งที่ดอยด้วน เรียนอยู่ 2 ปี ครั้นพระชนมายุได้ 16 พรรษา ได้ไปศึกษาศิลปศาสตร์ในสำนักสุกทันตฤๅษี กรุงละโว้ (ลพบุรี) เป็นศิษย์ร่วมสำนักเดียวกับ[[พญามังราย]] และ[[พ่อขุนรามคำแหงมหาราช]] พระร่วงเจ้าแห่ง[[กรุงสุโขทัย]] จึงสนิทสนมร่วมผูกไมตรี เป็นพระสหายตั้งแต่นั้นมา<ref name="โยนก"/> พญางำเมือง มีพระมเหสีนามว่า "นางพญาอั้วเชียงแสน"<ref name="เชียงแสน">[https://www.matichonweekly.com/culture/article_12454 ปริศนาโบราณคดี : คลีโอพัตราแห่งล้านนา “นางพญาอั้วเชียงแสน”] มติชนสุดสัปดาห์ สืบค้นเมื่อ 23 ตุลาคม 2559</ref>
 
ปี [[พ.ศ. 1801]] (จ.ศ. 620) พญามิ่งเมืองสิ้นพระชนม์ จึงเสด็จขึ้นครองราชสมบัติแทน พญางำเมืองเป็นผู้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด มีอิทธิฤทธิ์มาก เมื่อพระองค์เสด็จ ไปทางไหน "แดดก่บ่ร้อน ฝนก่บ่รำ จักหื้อบดก่บด จักหื้อแดดก่แดด" จึงได้รับ พระนามว่า "งำเมือง" นอกจากนั้น พระองค์มีพระทัยหนักแน่นในศีลธรรม มีพระราชศรัทธา เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ไม่ชอบทำสงคราม ทรงดำเนินพระราโชบาย การปกครองบ้านเมือง ด้วยความเที่ยงธรรม พยายาม ผูกไมตรีจิตต่อเจ้าประเทศราชที่มีอำนาจเหนือคน เพื่อหลีกเลี่ยงภัยสงครามแม้กระนั้น ก็ยังถูกพญามังรายยกกองทัพมาตี เมื่อปี [[พ.ศ. 1805]] แต่ในที่สุดพญางำเมืองก็ยอมยกเมืองปลายแดน คือ เมืองพาน เมืองเชียงเคี่ยน เมืองเทิง เมืองเชียงของ ให้แก่พญามังราย ด้วยหวังผูกไมตรีต่อกันและคิดว่าภายภาคหน้าจะขอคืน<ref name="โยนก"/>
 
== พระราชกรณียกิจ ==
[[ไฟล์:3 kings monument.JPG|[[พระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์]] ที่ศาลาว่าการจังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วย [[พ่อขุนรามคำแหง]], พญางำเมือง, และ[[พญามังราย]] ตามลำดับ|thumb]]
ประวัติศาสตร์กล่าวถึงพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระสหาย ได้เสด็จไปมาหาสู่กันเสมอมิได้ขาด จนเส้นทางที่เสด็จผ่านเป็นร่องลึกเรียกว่า แม่ร่องช้าง ในปัจจุบัน พระร่วงเจ้าเสด็จมาเมืองพะเยา ทรงเห็น[[พระนางอั้วเชียงแสน]] พระราชเทวีของพญางำเมือง มีรูปโฉมอันงามยิ่ง ก็บังเกิดปฏิพัทธิ์รักใคร่ และพระนางก็มีจิตปฏิพัทธ์เช่นกัน จึงได้ลักลอบปลอมแปลงพระองค์คล้ายกับพญางำเมือง เข้าสู่ห้องบรรทมพระนางอั้วเชียงแสน พญางำเมืองทราบเหตุ และสั่งให้อำมาตย์ ไพร่พล ทหารตามจับพระร่วงเจ้า นำไปขังได้และมีราชสาส์นเชิญพญามังราย ผู้เป็นสหายมาพิจารณาเหตุการณ์ พญามังรายทรงไกล่เกลี่ย ให้ทั้งสองพระองค์เป็นมิตรไมตรีต่อกันดังเดิม โดยขอให้พระร่วงเจ้าขอขมาโทษพญางำเมืองด้วยเบี้ยเก้าลุนทอง คือเก้าแสนเก้าหมื่นเบี้ย เพื่อกำชับพระราชไมตรีต่อกันยิ่งกว่าเก่า กษัตริย์ทั้ง 3 พระองค์ได้ตั้งสัตยาธิษฐานต่อกัน ณ ริมฝั่งแม่น้ำขนภู แม่น้ำแห่งนี้จึงเรียกชื่อภายหลังว่า "[[น้ำแม่อิง]]"
 
หลังจากนั้น เมื่อพญามังรายทรงสร้าง[[เวียงเชียงใหม่]] ได้เชิญพญางำเมืองและพระร่วงเจ้า ร่วมพิจารณาสร้างเมือง เมื่อสร้างเมืองเสร็จแล้ว พญางำเมืองเสด็จกลับ โดยพญามังรายทรงมอบผอบมณีรัตนะ อันเป็นสมบัติต้นวงศ์แห่งลาวลังกราช และทรงเวนคืนเมืองพาน เมืองเชียงเคี่ยน เมืองเทิงให้และพระราชทานกุลสตรีให้อีกนางหนึ่ง ฝ่ายพระนางอั้วเชียงแสนทรงทราบว่า พระราชสวามีมีพระชายาใหม่ ก็มีพระทัยโทมนัสยิ่ง รับสั่งให้เสนาอำมาตย์จัดแจงม้าพระที่นั่ง เสด็จออกติดตามพระสวามี หมายจักประหารพระชายาใหม่ให้สิ้นพระชนม์ แต่พระนางก็สิ้นพระชนม์เสียกลางทาง ด้วยเหตุพระทัยแตก พญางำเมืองทรงทราบด้วยความสลดพระทัยยิ่ง จัดพระราชทานเพลิงพระศพพระนางอั้วเชียงแสนตามพระราชประเพณี ต่อมาได้มอบพระราชกิจต่าง ๆ ในการปกครองบ้านเมืองให้[[พญาคำแดง]] แล้วเสด็จไปประทับพักผ่อนที่[[อำเภองาว|เมืองงาว]] ปี พ.ศ. 1841 พญางำเมืองก็เสด็จสวรรคต รวมพระชนมายุได้ 60 พรรษา
 
== อนุสาวรีย์พญางำเมือง ==
'''อนุสาวรีย์พญางำเมือง''' อดีตกษัตริย์ผู้ปกครองเมืองภูกามยาว (พะเยา) มีการสร้างไว้สองแห่ง แห่งแรกประดิษฐานอยู่ที่สวนสาธารณะ เทศบาลหน้า[[กว๊านพะเยา]] เริ่มก่อสร้างเมื่อปี [[พ.ศ. 2524]] เสร็จเมื่อปี [[พ.ศ. 2527]] พญางำเมืองเป็นพระสหายร่วมน้ำสาบาน กับ พญามังรายอดีต กษัตริย์เมืองเชียงราย และพระร่วงเจ้า แห่งกรุงสุโขทัย ซึ่งทั้งสามกษัตริย์ได้ทรงกระทำสัตย์ต่อกัน ณ บริเวณน้ำแม่อิง ซึ่งปัจจุบันอยู่บริเวณกว๊านพะเยา แห่งที่สองสร้างเมื่อปี 2560 ตั้งอยู่บริเวณ ริม[[แม่น้ำงาว]] ใกล้วัดท่านาคบ้านทุ่งศาลา ตำบลนาแก [[อำเภองาว]] [[จังหวัดลำปาง ]]บริเวณนี้เชื่อว่าเป็นสถานที่สวรรคต
 
== อ้างอิง ==
{{คอมมอนส์-หมวดหมู่|Ngam Muang|พญางำเมือง}}
{{รายการอ้างอิง}}
 
{{เรียงลำดับ|งำเมือง}}
{{ประสูติปี|1781}}{{สิ้นพระชนม์ปี|1841}}
[[หมวดหมู่:พญางำเมือง| ]]
[[หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์แคว้นพะเยา]]