ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หนุมาน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Lookruk (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ย้อนด้วยมือ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 22:
[[ไฟล์:Hanuman Mask.jpg|thumb|250px|[[หัวโขน]]หนุมาน (จาก[[นิทรรศน์รัตนโกสินทร์]])]]
[[ไฟล์:Hanuman, Kanchi.jpg|thumb|250px|[[เทวรูป]]หนุมาน ที่ประเทศอินเดีย]]
 
'''หนุมาน''' ({{lang-sa|हनुमान्}}; {{lang-hi|हनुमान}}) เป็นตัวละครเอกตัวหนึ่งในเรื่อง[[รามเกียรติ์]] เป็น[[ลิง]][[สีขาว|เผือก]] จึงมีสีขาวเป็นสีประจำกาย เมื่อสำแดงฤทธิ์จะมี 4 หน้า 8 มือ หาวเป็นดาวเป็นเดือน นอกจากนี้ ยังมีลักษณะประจำกายอื่น ๆ อีก เช่น สวมกุณฑล มีขนเพชร มีเขี้ยวเป็นแก้ว และ หาวเป็นดาวเป็นเดือน ดังกลอนตอนที่หนุมานเกิดว่า
 
{{คำพูด|ลอยอยู่ตรงพักตร์ชนนี รัศมีโชติช่วงในเวหา
 
มีกุณฑลขนเพชรอลงการ์ เขี้ยวแก้วแววฟ้ามาลัย
 
หาวเป็นดาวเดือนระวีวร แปดกรสี่หน้าสูงใหญ่
 
สำแดงแผลงฤทธิ์เกรียงไกร แล้วลงมาไหว้พระมารดร|}}
หนุมาน เป็นลิงที่มีฤทธิ์มาก สามารถสำแดงเดชต่าง ๆ ได้หลายประการ เช่น การขยายร่างกายให้ใหญ่โต การยืดหางให้ยาว เป็นต้น นอกจากนี้ หนุมานยังได้ชื่อว่าเป็นอมตะ คือ ไม่มีวันตาย เนื่องจากเป็นบุตรของ[[พระพาย]] (ลม) กับ[[นางสวาหะ]] ด้วยเหตุนี้ เมื่อหนุมานมีอันตรายถึงตายแล้ว เพียงแค่มีลมพัดมา หนุมานก็จะฟื้นคืนชีพขึ้นมาใหม่ ด้วยอำนาจของพระพายผู้เป็นบิดา
 
บุคลิกของหนุมานเป็นตัวแทนของชายหนุ่มทั่วไป คือ รูปงาม มีนิสัยเจ้าชู้ และ มีภรรยามาก เช่น [[นางสุพรรณมัจฉา]] ทั้งคู่มีบุตรด้วยกันหนึ่งตน คือ [[มัจฉานุ]] ซึ่งเป็นลูกผสมระหว่าง ลิงเผือกกับปลา นั่นคือ มีกายเป็นลิงเผือกเหมือนหนุมาน แต่หางนั้น กลับเป็นหางของปลา [[นางเบญกาย]] บุตรีของพญาพิเภก หนุมานได้นางเบญกายตอนที่ นางเบญกายจำแลงกายเป็นศพของ [[นางสีดา]]ลอยทวนน้ำมา เพื่อหลอกพระรามให้เสียพระทัย แต่ภายหลังกลนี้ถูกจับได้ พระรามจึงให้หนุมานพานางเบญจกายไปส่งกลับเมือง ซึ่งทั้งคู่มีลูกด้วยกัน ชื่อว่า [[อสุรผัด]]
 
ตลอดเรื่องรามเกียรติ์นั้น หนุมานผู้เป็นทหารเอกได้รับรางวัลจากพระราม 3 ครั้ง
# ผ้าขาวม้า ได้ตอนที่หนุมานไปเผากรุงลงกา
# ธำมรงค์ ได้จากตอนที่ไปช่วยพระรามหลังจากที่ถูกไมยราพจับไปขังไว้ที่เมืองบาดาล
# เมืองลพบุรีพร้อมสนม 5000 นาง ได้ในตอนที่เสร็จศึกลงกาแล้ว
 
เมื่อเสร็จศึกกรุงลงกาแล้ว พระรามได้สถาปนาให้เป็น "พระยาจักรกฤษณ์พิพรรธพงศา" และยกกรุงอยุธยาให้ครองกึ่งหนึ่ง แต่หนุมานได้ถวายคืนพระราม เพราะสำนึกว่าตนไม่สูงศักดิ์พอ พระรามจึงยกเมืองลพบุรีให้ครองแทน
 
== กำเนิด ==
หนุมานมีตำนานกำเนิดต่างๆ กันได้แก่<ref>หนุมานชาญสมร สุจิตต์ วงษ์เทศ บรรณาธิการ</ref>
* มารดาเป็นนางฟ้าชื่อว่าอัญจนา แต่ถูกสาปให้เป็น "วานรี" บิดาคือพระพาย
* มารดาคือนางสวาหะ พระอิศวรมอบให้พระพายนำเทพอาวุธทั้ง ๓ อย่าง ๑.คฑา ๒.ตรีเพชร ๓.จักรแก้วและกำลังในกายของตนทิ้งเข้าในปากนางสวาหะจนนางตั้งครรภ์ แต่กำหนดให้พระพายรับเป็นบิดา
== ลักษณะของหนุมาน ==
กายสีขาว มีกุณฑล (ต่างหู) ขนเพชร เขี้ยวแก้ว (อยู่กลางเพดานปาก) หาวเป็นดาวเป็นเดือน ยามแผลงฤทธิ์จะมีสี่หน้า แปดกร
 
เป็นทหารเอกที่รู้ใจพระรามที่สุด ฉลาดรอบรู้ ค่อนข้างหัวดื้อ เช่น ตอนที่หักกิ่งไม้ ทำลายอุทยานของทศกัณฐ์ ตอนเผาเมืองลงกา เป็นต้น ซึ่งเป็นการทำนอกเหนือคำสั่ง เจ้าเล่ห์เพทุบาย มีกลอุบายมากมายซึ่งเอาไว้ใช้ในการศึก รักนายและพลีชีพเพื่อนาย
 
== ภรรยาและบุตรของหนุมาน ==
1. '''[[นางบุษมาลี]]''' เป็นภรรยาคนแรกของหนุมาน ได้พบกันเมื่อหนุมาน [[ชมพูพาน]] และ[[องคต]] จะเดินทางไปกรุงลงกาเพื่อสืบข่าวนางสีดา ระหว่างทางไปเจอเมืองเมืองหนึ่งตั้งอยู่กลางป่า ไม่มีทหารอยู่เลย หนุมานแปลกใจจึงขอเข้าไปดู ก็ได้พบกับ “นางบุษมาลี” นางฟ้าที่พระอินทร์สาปให้มาอยู่ในเมืองนี้แต่เพียงผู้เดียว สาเหตุเพราะนางดันไปเป็นแม่สื่อแม่ชักให้แก่นางสนมของพระอินทร์กับท้าวตาวัน โดยนางบุษมาลีจะพ้นจากคำสาปได้ก็ต่อเมื่อทหารเอกของพระรามที่หาวเป็นดาวเป็นเดือนโยนนางกลับขึ้นไปบนท้องฟ้าส่งนางไปสู่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์
 
เมื่อหนุมานได้เจอนางบุษมาลีก็นึกรัก มีใจปฏิพัทธ์ต่อนางทันที ดังนั้นเมื่อสอบถามจนรู้ความ ก่อนจะโยนนางกลับขึ้นสวรรค์ หนุมานก็ได้นางเป็นเมียเสียก่อน แต่ถึงจะรักนางบุษมาลี หนุมานก็ไม่ยอมให้เรื่องผู้หญิงทำให้เสียงาน และก็ไม่ลืมสัญญาที่จะส่งนางกลับขึ้นสวรรค์
 
รักแรกของหนุมานกับนางฟ้าก็เป็นรักที่แสนสั้น และไม่ได้มีลูกด้วยกัน
 
2. '''[[เบญกาย]]''' ธิดาของพิเภก ทศกัณฐ์ลักพาตัวนางสีดามาแล้วก็วางแผนที่จะให้พระรามเลิกตามนางสีดา จึงให้ “นางเบญกาย” หลานสาวแปลงกายเป็นนางสีดาตายลอยน้ำมา ทำให้พระรามที่ได้พบศพเสียใจมาก แต่หนุมานผู้มีปฏิภาณดีมาก สังเกตเห็นว่าศพนี้ไม่น่าจะใช่นางสีดาตัวจริง จึงให้พิสูจน์ด้วยการเผาร่างนั้น นางเบญกายทนร้อนไม่ไหวก็ปรากฏตัวจริงออกมา พระรามให้พิเภกผู้เป็นพ่อเป็นผู้พิพากษาลงโทษเอง พิเภกให้ประหารชีวิตเพื่อพิสูจน์ความจงรักภักดี แต่พระรามเห็นใจจึงยกโทษให้ และให้หนุมานพากลับไปส่งที่กรุงลงการะหว่างทางหนุมานก็ได้เกี้ยวพาราสีจนได้นางเบญกายเป็นเมียอีกคน มีบุตรกับหนุมานคือ อสุรผัด
 
3. '''[[สุพรรณมัจฉา]]''' เป็นนางเงือก ธิดาของทศกัณฐ์ ได้เป็นภรรยาขณะจองถนนข้ามกรุงลงกา มีบุตรคือ [[มัจฉานุ]]
 
4. '''[[นางวารินทร์]]''' ได้ขณะตามล่า[[วิรุญจำบัง]]
 
5. '''[[นางมณโฑ]]''' ได้มาโดยการใช้เล่ห์กลขณะปลอมตัวเป็น[[ทศกัณฐ์]]
 
6. '''[[นางสุวรรณกันยุมา]]''' ทศกัณฐ์ประทานให้ ขณะเสแสร้งแปรพักตร์ (นางเคยเป็นภรรยา[[อินทรชิต]])
 
== หนุมานในประเทศต่าง ๆ ==
เนื่องจาก อารยธรรมอินเดียได้แพร่หลายไปโดยตลอดทั้งเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งในเรื่องของศาสนา สถาปัตยกรรม และ วรรณกรรม ดังนั้น วรรณคดีเรื่อง "[[รามายณะ]]" จึงได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในกลุ่มประเทศที่ได้รับวัฒนธรรมอินเดีย<ref>[http://www.indiaindream.com/%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B9%8C-%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%93%E0%B8%B0 มหากาพย์รามายณะ]</ref> ไม่ว่าจะเป็น อินโดนีเซีย ไทย หรือ กัมพูชา เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ลักษณะของหนุมานของแต่ละประเทศนั้น ย่อมแตกต่างกันไปตามการตีความของชนชาตินั้น ๆ เช่น หนุมานในรามายณะของอินเดียไม่มีความเจ้าชู้เหมือนหนุมานในรามเกียรติ์ของไทย<ref>[http://www2.thairath.co.th/content/508666 พาลีสองหน้า ไทยรัฐ]</ref>
 
== ในวัฒนธรรมร่วมสมัย ==
เนื่องจากหนุมาน เป็นตัวละครที่มีชื่อเสียง เป็นที่รู้จักในวงกว้างของสังคมไทย ดังนั้นหนุมาน จึงถูกใช้เป็นสื่อใน[[วัฒนธรรมร่วมสมัย]]หลายประเภท เช่น เป็น[[ตุ๊กตาสัญลักษณ์|ตัวนำโชค]]ใน[[กีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 19]] ปี [[พ.ศ. 2540]] ที่[[จาการ์ตา]] รวมถึงเป็นตัวนำโชคในการรณรงค์[[การออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2559]]<ref>[http://www.ect.go.th/th/wp-content/uploads/2016/04/referendum_mascot.pdf ] {{Webarchive|url=https://web.archive.org/web/20160824013030/http://www.ect.go.th/th/wp-content/uploads/2016/04/referendum_mascot.pdf |date=2016-08-24 }},.</ref> อีกด้วย หรือเป็นตัวเอกในภาพยนตร์ไทย เรื่อง ''[[หนุมานพบ 7 ยอดมนุษย์]]'' ([[พ.ศ. 2517]]) หรือ''[[หนุมานพบ 5 ไอ้มดแดง]]'' ([[พ.ศ. 2518]]) หรือดัดแปลงเป็นตัวละคร ชื่อ "เผือก" ใน[[แอนิเมชัน]][[ภาพยนตร์ไทย|สัญชาติไทย]]เรื่อง ''[[ยักษ์ (ภาพยนตร์)|ยักษ์]]'' ([[พ.ศ. 2555]]) เป็นต้น ต่อมาในปี [[พ.ศ. 2560]] [[ช่อง 8]] ได้เอาซีรีส์อินเดียเรื่อง ''[[หนุมาน สงครามมหาเทพ]]'' ซึ่งเน้นประวัติของหนุมานเป็นหลัก มาออกอากาศบนโทรทัศน์​
 
== ดูเพิ่ม ==
*[[เห้งเจีย]]
 
==อ้างอิง==
{{คอมมอนส์-หมวดหมู่|Hanuman|หนุมาน}}
{{รายการอ้างอิง}}
 
 
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/หนุมาน"