พิธีไหว้ครู เป็นพิธีกรรมที่เป็นประเพณีของไทยที่นิยมปฏิบัติมาแต่สมัยโบราณ แสดงถึงความระลึกถึงบุญคุณของครู การไหว้ครูเป็นการแสดงตนว่าขอเป็นศิษย์ของท่านโดยตรง

พิธีไหว้ครูในโรงเรียนที่จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2552

การไหว้ครูมีใช้ในหลายกิจกรรม เช่น การไหว้ครูในโรงเรียน พิธีกรรมของโรงเรียนในวันครู การไหว้ครูมวย เป็นการไหว้ครูด้วยลีลาของศิลปะมวยไทย เช่นเดียวกับกระบี่กระบอง การไหว้ครู ก่อนการแสดงศิลปะดนตรี เช่น หนังตะลุง และการไหว้ครูในงานประพันธ์ เรียกว่า บทไหว้ครู หรือ อาเศียรวาท (อาเศียรพาท ก็ว่า) เป็นการกล่าวระลึกถึงบุญคุณครู และขอความเป็นมงคล[1]

พิธีไหว้ครูในโรงเรียน

แก้

โดยปกติสถานศึกษามักจัดพิธีไหว้ครูขึ้นในวันพฤหัสบดีที่สองของเดือนมิถุนายน

ดอกไม้ที่ใช้ในการไหว้ครู

แก้

ในพิธีไหว้ครูนับตั้งแต่สมัยก่อน จะใช้ดอกไม้หลัก 4 อย่างในการทำพาน ซึ่งดอกไม้ ความหมายในการระลึกคุณครู ได้แก่

  1. หญ้าแพรก สื่อถึง ขอให้เรียนได้เร็วเหมือนหญ้าแพรก ที่โตได้เร็วและทนต่อสภาพดินฟ้า อากาศ ทนต่อการเหยียบย่ำ ซึ่งเปรียบเสมือน คำสั่งสอนของครูบาอาจารย์
  2. ดอกเข็ม สื่อถึง ขอให้มีสติปัญญาเฉียบแหลม เหมือนชื่อของดอกเข็ม ซึ่งเป็นปริศนาธรรมว่า ครูต้องจัดการเรียนการสอนเพื่อปลูกฝังความคิด ให้นักเรียนนักศึกษาเป็นคนฉลาด (หัวแหลม) รู้จักวิเคราะห์วิจารณ์
  3. ดอกมะเขือ สื่อถึง การเปรียบเทียบว่า มะเขือนั้น จะคว่ำดอกลงเสมอเมื่อจะออกลูก แสดงถึง นักเรียนที่จะเรียนให้ได้ผลดีนั้นต้องรู้จักอ่อนน้อม ถ่อมตน เป็นคนสุภาพเรียบร้อย เหมือนมะเขือที่โน้มลง
  4. ข้าวตอก เนื่องจากข้าวตอกเกิดจากข้าวเปลือกที่คั่วด้วยไฟอ่อน ๆ ให้ร้อนเสมอกันจนถึงจุดหนึ่งที่เนื้อข้างในขยายออก จนดันเปลือกให้แยกออกจากกัน ได้ข้าวสีขาวที่ขยายเม็ดออกบาน ซึ่งสามารถนำไปประกอบพิธีกรรม หรือทำขนมต่าง ๆ ได้ ดังนั้น ข้าวตอกจึงเป็นสัญลักษณ์ของความมีระเบียบวินัย หากใครสามารถทำตามกฎระเบียบ เอาชนะความซุกซนและความเกียจคร้านของตัวเองได้ ก็จะเหมือนข้าวตอกสีขาวที่ถูกคั่วออกจากข้าวเปลือก[1]

สถานที่

แก้
  1. โต๊ะหมู่บูชา โดยตั้งไว้ที่สูงบนเวทีชิดด้านหลัง ข้างหน้ามีกระถางดอกไม้และธูปเทียน และ โต๊ะ เพื่อวางพานดอกไม้และธูปเทียนที่นำมาบูชา
  2. หนังสือ เพื่อให้ประธานเจิม โดยเอาหนังสือวางไว้บนพาน บนโต๊ะเล็กหน้าที่บูชา
  3. ที่นั่งประธานและคณาจารย์ จัดไว้ข้าง ๆ ที่บูชา[1]

พิธีการ

แก้
  1. เมื่อประธานมาถึง ให้กราบทำความเคารพ จนกว่าคุณครูทุกท่านจะผ่านไปหมดทุกคน
  2. ให้ประธานจุดธูปเทียน นมัสการพระพุทธรูปที่แท่นหมู่บูชา
  3. เริ่มพิธีโดยการสวดมนต์ ตามด้วยเจิมหนังสือเพื่อความเป็นสิริมงคล
  4. หลังจากนั้นกล่าวคาถาไหว้ครู และวรรคแรกของคำไหว้ครู
  5. เมื่อกล่าวคำไหว้ครูเสร็จแล้ว ให้ว่าคาถาไหว้ครูตอนท้าย
  6. ตัวแทนนักเรียนกล่าวคำปฏิญาณตน
  7. ให้ตัวแทนของแต่ละห้องนำพานไปให้คุณครูแต่ละท่าน[1]

วันครู

แก้

สำหรับในวันครู (วันที่ 16 มกราคม ของทุกปี) เป็นวันที่มีการจัดพิธีไหว้ครูอีกอย่างหนึ่ง ผู้ร่วมงานคือบรรดาครูบาอาจารย์ที่สอนนักเรียนในปัจจุบัน มาร่วมไหว้ครูเพื่อรำลึกถึงบูรพาจารย์ผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาการให้ และมีการท่องบทไหว้ครูเป็นภาษาบาลี อาจมีครูอาวุโส เป็นประธานในงานด้วย[2][3]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Tramote, Montri, "Paying Homage to the Musical Teachers", Sawasdee, Thai Airways International, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-27, สืบค้นเมื่อ 2009-02-24
  2. Janehutthakarnkij, Jongchai; Ratchaneekorn, Songsri; Siriwong, Komkrit; Trisonthi, Pattama; Poethong, Arunee; Getbenlittikul, Pranee, บ.ก. (2007), 70 ปี เตรียมอุดมศึกษา (Triam Udom Suksa School 70th Anniversary), Bangkok: Triam Udom Suksa School, p. 278 (ไทย)
  3. Daoruang, Panrit (8 July 2002), "Wai Khru Ceremony", Bangkok Post, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-06, สืบค้นเมื่อ 2014-03-22.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้