พลับพลึง
พลับพลึง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Crinum asiaticum) เป็นพรรณไม้ล้มลุกขึ้นเป็นกอ และมีหัวอยู่ใต้ดิน พบได้ในจีน, ฮ่องกง, อินเดีย และ ญี่ปุ่น มีชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ คือ ว่านชน (ภาคอีสาน)[2], ลิลัว (ภาคเหนือ), พลับพลึง (ภาคกลาง), วิรงรอง (ชวา)[3] ในใบและหัวพลับพลึงมีสารไลโคริน รับประทานจะทำให้อาเจียน ท้องร่วงอย่างแรง[4]
พลับพลึง | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอต Eukaryota |
อาณาจักร: | พืช Plantae |
เคลด: | พืชมีท่อลำเลียง Tracheophytes |
เคลด: | พืชดอก Angiosperms |
เคลด: | พืชใบเลี้ยงเดี่ยว Monocots |
อันดับ: | หน่อไม้ฝรั่ง Asparagales |
วงศ์: | วงศ์พลับพลึง Amaryllidaceae |
วงศ์ย่อย: | Amaryllidoideae Amaryllidoideae |
สกุล: | Crinum Crinum L.[1] |
สปีชีส์: | Crinum asiaticum |
ชื่อทวินาม | |
Crinum asiaticum L.[1] | |
ชื่อพ้อง[1] | |
|
ลักษณะทั่วไป
แก้พลับพลึงเป็นพรรณไม้ล้มลุกขึ้นเป็นกอ และมีหัวอยู่ใต้ดิน ลำต้นกลมมีความกว้างประมาณ 15 ซม. และยาวประมาณ 30 ซม.ใบจะออกรอบ ๆ ลำต้น ลักษณะใบแคบยาวเรียว ใบจะอวบน้ำ ขอบใบจะเป็นคลื่น ตรงปลายใบจะแหลม ใบจะมีความยาวประมาณ 1 เมตร และกว้างประมาณ 10-15 ซม. ดอกจะออกเป็นช่อ ตรงปลายจะเป็นกระจุกมีประมาณ 12-40 ดอก ตอนดอกยังอ่อนอยู่จะมีกาบเป็นสีเขียวอ่อน ๆ หุ้มอยู่ 2 กาบ ก้านช่อดอกจะมีความยาวประมาณ 90 ซม. ดอกมีความยาวประมาณ 15 ซม. กลีบดอกจะเป็นสีขาว และมีกลิ่นหอม เกสรตัวผู้จะมีอยู่ 6 อัน ติดอยู่ที่หลอดดอกตอนโคน ตรงปลายเกสรมีลักษณะเรียวแหลมยาวเป็นสีแดง โคนเป็นสีขาว ส่วนอับเรณูนั้น จะเป็นสีน้ำตาล ผลเป็นสีเขียวอ่อน และผลค่อนข้างกลม
สรรพคุณทางยา
แก้- ใบ คนโบราณจะรู้กันดีว่าสามารถนำมารักษาอาการปวดเมื่อย กล้ามเนื้ออักเสบ คลายเส้น แก้อาการฟกช้ำปวดบวมได้ และยังสามารถนำไปใช้กับคุณแม่ที่เพิ่งคลอด หรืออยู่ไฟได้ โดยเอามาประคบหน้าท้อง ทำให้มดลูกเข้าที่อยู่ตัว น้ำคาวปลาแห้ง ขจัดไขมันส่วนเกิน และขับของเสียต่าง ๆ ออกจากร่างกายคุณแม่ที่เพิ่งคลอดได้ด้วย นอกจากนั้นยังมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงกำลัง ขับเสมหะ เป็นยาระบาย ทำให้คลื่นเหียนอาเจียน รักษาโรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะและน้ำดี
- เมล็ด สามารถขับเลือดประจำเดือนให้ออกมาให้หมดได้
- ราก สามารถนำมาตำแล้วพอกแผลก็ได้
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 แม่แบบ:WCSP
- ↑ 'พลับพลึง'เป็นมากกว่าไม้ประดับ
- ↑ วิรงรอง จากสนุกดอตคอม
- ↑ เศรษฐมนตร์ กาญจนกุล. ไม้มีพิษ. กทม. เศรษฐศิลป์. 2552
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Crinum asiaticum ที่วิกิสปีชีส์