พระเจ้ามุฮัมมัดที่ 8 อัลอะมีนแห่งตูนิเซีย

พระเจ้ามุฮัมมัดที่ 8 อัลอะมีนแห่งตูนิเซีย (อาหรับ: الأمين باي بن محمد الحبيب, al-ʾAmīn Bāy bin Muḥammad al-Ḥabīb; 4 กันยายน 1881 – 30 กันยายน 1962) พระองค์ได้ขึ้นราชสมบัติเป็นเบย์แห่งตูนิสองค์สุดท้ายตั้งแต่ 15 พฤษภาคม 1943 ถึง 20 มีนาคม 1956 และได้ขึ้นราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์แห่งตูนิเซียพระองค์แรกตั้งแต่ 20 มีนาคม 1956 จนกระทั่งพระองค์จะถูกปลดในวันที่ 25 กรกฎาคม 1957 พระองค์เป็นพระโอรสของพระเจ้ามุฮัมมัดที่ 6 อัลฮะบีบแห่งตูนิเซีย เบย์แห่งตูนิสพระองค์ก่อน

พระเจ้ามุฮัมมัดที่ 8 อัลอะมีน
พระมหากษัตริย์แห่งตูนิเซีย
พระมหากษัตริย์ตูนิเซีย
ครองราชย์20 มีนาคม ค.ศ. 1956 - 25 กรกฎาคม ค.ศ. 1957
ก่อนหน้าก่อตั้งตำแหน่ง (ตนเอง ในฐานะเบย์แห่งตูนิส)
ถัดไปยุบตำแหน่ง (ฮะบีบ บูรกีบะฮ์ ในฐานะประธานาธิบดีตูนิเซีย)
เบย์แห่งตูนิส
ครองราชย์15 พฤษภาคม ค.ศ. 1943 – 20 มีนาคม ค.ศ. 1956
ก่อนหน้ามุฮัมมัดที่ 7
ถัดไปยุบตำแหน่ง (ตนเอง ในฐานะพระมหากษัตริย์ตูนิเซีย)
ประสูติ4 กันยายน ค.ศ. 1881(1881-09-04)
คาร์เธจ, ตูนิเซียในอารักขาของฝรั่งเศส
ตูนิเซีย
สวรรคต30 กันยายน ค.ศ. 1962(1962-09-30) (81 ปี)
ตูนิส, เขตปกครองตูนิส
ตูนิเซีย
ฝังพระศพสุสาน ซีดี อับดุลอะซีซ, ลามัรซา
คู่อภิเษกLalla Jeneïna Beya (สมรส 1902; เสียชีวิต 1960)
พระนามเต็ม
มุฮัมมัด อัลอะมีน
พระนามในภาษาอาหรับالأمين باي بن محمد الحبيب
ราชวงศ์ราชวงศ์ฮุซัยนิด
พระราชบิดามุฮัมมัดที่ 6 อัลฮะบีบ
พระราชมารดาลัลลา ฟาฏิมะฮ์ บินต์ มุฮัมมัด
ศาสนาอิสลามนิกายซุนนี

พระเจ้ามุฮัมมัดที่ 8 อัลอะมีน ครองราชย์หลังจากที่กองทัพเสรีฝรั่งเศสปลดพระเจ้ามุฮัมมัดที่ 7 แห่งตูนิเซียลูกพี่ลูกน้องของพระองค์ ด้วยข้อหาว่าพระเจ้ามูฮัมหมัดที่ 7 สมรู้ร่วมคิดกับฝรั่งเศสเขตวีชี เมื่อ 20 มีนาคม 1956 พระองค์ได้ประกาศอิสรภาพของตูนิเซีย และปกครองตูนิเซียในฐานะพระมหากษัตริย์พระองค์แรกอย่างเต็มรูปแบบอย่างไรก็ตามสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่ได้ตอบสนองตามความคาดหวังของประธานาธิบดีฮะบีบ บูรกีบะฮ์ (Habib Bourguiba) พระองค์ถูกปฏิวัติเมื่อ 25 กรกฎาคม ค.ศ. 1957[1][2]

พระเจ้ามุฮัมมัดที่ 8 ต้องเสด็จย้ายไปพำนักที่มาโนอูบา ภายใต้การเฝ้าดูของรัฐบาล และก็ได้รับอนุญาตให้กลับตูนิสหลังพระชายาสิ้นพระชนม์ พระองค์เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 1962 ที่ตูนิส ขณะทรงมีพระชนมายุได้ 81 พรรษา พระองค์ไม่เคยสละสิทธิในราชบัลลังก์ ผู้อ้างสิทธิ์ต่อจากพระองค์คือเจ้าชายฮุสเซน บีย์ซึ่งเป็นพระโอรสของพระองค์

บรรณานุกรม แก้

อ้างอิง แก้

  1. El Mokhtar Bey, De la dynastie husseinite. Le fondateur Hussein Ben Ali. 1705 - 1735 - 1740, éd. Serviced, Tunis, 1993, p.70
  2. Werner Ruf, Introduction à l'Afrique du Nord contemporaine, éd. Centre national de la recherche scientifique, Paris, 1975, p.432