พระราชบัญญัติเหมืองแร่และเหมืองถ่านหิน ค.ศ. 1842

พระราชบัญญัติเหมืองแร่และเหมืองถ่านหิน ค.ศ. 1842 (อังกฤษ: Mines and Collieries Act 1842; c. 99) หรือเรียกกันทั่วไปว่า พระราชบัญญัติเหมืองแร่ ค.ศ. 1842 เป็นพระราชบัญญัติแห่งรัฐสภาสหราชอาณาจักร มีเนื้อหาห้ามหญิงและเด็กหญิงทุกวัยทำงานใต้ดิน และกำหนดอายุขั้นต่ำ 10 ปีสำหรับเด็กชายที่ได้รับว่าจ้างให้ทำงานใต้ดิน ทั้งนี้เป็นกฎหมายที่ออกมาหลังมีการเปิดเผยสภาพการทำงานของเด็กในรายงานคณะกรรมาธิการการจ้างงานเด็ก (เหมืองแร่) ค.ศ. 1842 หลังเกิดอุบัติเหตุที่เหมืองถ่านหินฮัสการ์ในซิลก์สโตน จนเป็นเหตุให้มีเด็กเสียชีวิต 26 คน เป็นเด็กหญิงอายุระหว่าง 8 ถึง 16 ปี 11 คน และเด็กชายอายุระหว่าง 9 ถึง 12 ปีอีก 15 คน ซึ่งสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียสั่งการไต่สวน[1]

ภาพคนดึงอ่างถ่านหินที่จัดพิมพ์ในรายงานคณะกรรมาธิการการจ้างงานเด็ก (เหมืองแร่) ค.ศ. 1842

แอนโทนี แอชลีย์ คูเปอร์โน้มน้าวสมาชิกรัฐสภาให้สนับสนุนกฎหมายนี้โดยอ้างศีลธรรมยุควิกตอเรีย คือกล่าวว่าหญิงและเด็กหญิงทำงานโดยสวมกางเกงขายาว และเปลือยอกต่อหน้าชายและเด็กชาย ซึ่งทำให้เด็กหญิงไม่เหมาะจะแต่งงานและเป็นแม่คน[1] ร่างกฎหมายผ่านสภาขุนนางในการพิจารณาวาระสามเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1842[2]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "The Mines Act, 1842". University of Paris. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-21. สืบค้นเมื่อ 2010-12-05.
  2. Hansard 1842, House of Lords, Session of the 1st August 1842, Mines and Collieries: "The Marquess of Londonderry opposed the third reading."