พระยาวิชิตภักดี (เต็งกูปูเตะ)

พระยาวิชิตภักดีศรีสุรวังษารัตนาณาเขตรประเทศราช (เต็งกูปูเตะ) (มลายู: Tengku Puteh) เป็นพระยาเมืองปัตตานีในช่วงปี พ.ศ. 2399-2425 โดยเป็นรายาปัตตานีองค์ที่ 8

พระยาวิชิตภักดี (เต็งกูปูเตะ)
เสียชีวิตพ.ศ.2424
สุสานสุสานหลวง รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย
สัญชาติมลายู
ตำแหน่งเจ้าเมืองปัตตานี
บุตร7 องค์
บิดามารดา
  • พระยาวิชิตภักดี (ตนกูปะสา) (บิดา)

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าแต่งตั้ง เต็งกูปูเตะซึ่งเป็นโอรสองค์โตในตนกูปะสาเป็นเจ้าเมืองปัตตานีองค์ต่อมาโดยได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระยาวิชิตภักดีศรีสุรวังษารัตนาณาเขตรประเทศราช ในช่วงที่เต็งกูปูเตะปกครองเมืองปัตตานีได้มีผู้คนเข้าอาศัยอยู่ในเมืองปัตตานีมากขึ้น โดยเฉพาะพ่อค้าชาวจีนซึ่งเข้ามาตั้งบ้านเรือนประกอบอาชีพค้าขาย สำหรับเต็งกูปูเตะนั้นได้ปกครองปัตตตานีด้วยความสงบเรียบร้อยเป็นเวลา 26 ปี ในบั้นปลายชีวิตเต็งกูปูเตะได้เดินทางไปรักษาตัวและได้ถึงแก่พิราลัยที่เมืองกลันตันในปี พ.ศ.2424[1]

โอรส-ธิดา แก้

พระยาวิชิตภักดี (เต็งกูปูเตะ) มีชายา 2 องค์ คือ ตนกูรายา (ตนกูนานิ) ธิดาของพระยากลันตัน(ตวนสนิปากแดง) และตนกูโวะ ธิดาของตนกูตือเงาะที่ปรึกษาพระยาพิทักษ์เมืองปัตตานี โดยมีโอรส-ธิดา 7 องค์ ดังนี้

  1. เต็งกูบือซาร์ (ตนกูตีมุง) เจ้าเมืองปัตตานีองค์ที่ 9
  2. เต็งกูอามงร์ ชายาของรายาบันดารอเมืองกลันตัน
  3. เต็งกูอัมปิ ชายาตนกูมูฮัมหมัดเมืองกลันตัน
  4. เต็งกูตือเงาะ ชายาพระยาเมืองยะลา
  5. เต็งกูปิ ชายาตนกูมูฮัมหมัด โอรสในรายาเบอร์รัส
  6. เต็งกูปัตตานี ชายาตนกูเบอร์ซาร์อินดรา รายาเมืองกลันตัน
  7. เต็งกูมูฮัมหมัด เป็นอุปราชในสมัยของเต็งกูสุไลมานชารีฟุดดีน

อ้างอิง แก้

  1. การตั้งถิ่นฐานราชวงศ์กลันตันในเมืองปัตตานี[ลิงก์เสีย] (PDF).P.35-36.