พระยาวิชิตภักดี (เต็งกูตีมุง)

พระยาวิชิตภักดีศรีสุรวังษารัตนาเขตประเทศราช (เต็งกูตีมุง) (มลายู: Tengku Timun) เป็นพระยาเมืองปัตตานีในช่วงปี พ.ศ. 2425-2433 โดยเป็นรายาปัตตานีองค์ที่ 9

พระยาวิชิตภักดี (เต็งกูตีมุง)
เสียชีวิต2433
สัญชาติมลายู
ตำแหน่งเจ้าเมืองปัตตานี
บุตร5 องค์
บิดามารดา
  • พระยาวิชิตภักดี (เต็งกูปูเตะ) (บิดา)

เต็งกูตีมุงเป็นโอรสองค์โตของพระยาวิชิตภักดี(เต็งกูปูเตะ) ประสูติที่เมืองกลันตันและไม่ได้ย้ายไปอยู่ที่เมืองปัตตานี เต็งกูตีมุงจึงเดินทางไปเมืองกลันตันอยู่เสมอๆ การปกครองในสมัยเต็งกูตีมุงเป็นไปด้วยความราบรื่นจนกระทั้งได้ถึงแก่พิราลัยในปี พ.ศ.2433 ในรายงานของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช เมื่อครั้งเสด็จตรวจตราราชการหัวเมืองปักษ์ใต้ในปี พ.ศ.2427 ได้รายงานสภาพบ้านเมืองในสมัยเต็งกูตีมุง เป็นพระยาวิชิตภักดี เจ้าเมืองปัตตานีว่า

"ตัวเมืองตั้งลำน้ำฝั่งตะวันออก มีตึกกัปตันจีนอยู่ริมน้ำหลังหนึ่ง เป็นตึกจีน 2 ชั้น หันหน้าไปตะวันออก แลมีบ้านโรงเรือนหลังคาจากสาคู ฝาขัดแตะด้วยไม้อยู่ตามริมน้ำประมาณ 50 หลังคาเรือน หน้าตึกกัปตันจีนริมน้ำมีถนน 2 สาย มีตลาดขายผ้าและผลไม้ 4-5 รา้น สองฝากถนนมีตึกจีนชั้นเดียว ตั้งค้าขายสินค้ารายเรียง สลับจากโรงจากตลอดไปตามถนนประมาณ 3 เส้น"[1]

โอรส-ธิดา แก้

พระยาวิชิตภักดี (เต็งกูตีมุง) มีชายา 3 คน ได้แก่ อินเจะวาร์ แมะปูเตะ และอินเจะแมะอินเจะเตะ โดยมีโอรสธิดาทั้งหมด 5 องค์ดังนี้[2]

  • ที่เกิดจากอินเจะวาร์ ได้แก่
    • เต็งกูบือซาร์ ชายามกุฎราชกุมารกลันตัน
    • เต็งกูโว๊ะ ชายาตนกูฮุเซ็น
  • ที่เกิดจากแมะปูเตะ ได้แก่
    • เต็งกูนิฮาญี
  • ที่เกิดจากอินเจะแมะอินเจะเตะ ได้แก่
    • เต็งกูตือเงาะ
    • เต็งกูมูฮัมหมัด

อ้างอิง แก้

  1. การตั้งถิ่นฐานราชวงศ์กลันตันในเมืองปัตตานี[ลิงก์เสีย] (PDF).P.36-37
  2. ภูมิหลังวังจะบังตีกอ[ลิงก์เสีย] (PDF).P.74.