พระพุฒาจารย์ (มา อินฺทสโร)

พระพุฒาจารย์ นามเดิม มา หรือที่รู้จักในนามท่านเจ้ามา เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะอรัญวาสี อดีตเจ้าอาวาสวัดจักรวรรดิราชาวาสวรมหาวิหาร

พระพุฒาจารย์

(มา อินฺทสโร)
ชื่ออื่นท่านเจ้ามา
ส่วนบุคคล
เกิด11 กันยายน พ.ศ. 2380 (77 ปี 28 วัน ปี)
มรณภาพ9 ตุลาคม พ.ศ. 2457
นิกายมหานิกาย
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดจักรวรรดิราชาวาสวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร
อุปสมบทพ.ศ. 2401
พรรษา56
ตำแหน่งเจ้าคณะอรัญวาสี

ประวัติ แก้

พระพุฒาจารย์ มีนามเดิมว่า มา เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2380 ตรงกับวันขึ้น 12 ค่ำ เดือน 10 ปีระกา ถึงปีระกา พ.ศ. 2401 ได้บวชเป็นพระภิกษุ ณ วัดจักรวรรดิราชาวาส โดยพระอาจารย์นองเป็นพระอุปัชฌาย์ ได้ฉายาว่า อินฺทสโร ได้ศึกษาวิปัสสนาธุระแล้วออกจาริกธุดงค์แทบทุกปี แล้วกลับมาเป็นอาจารย์สอนวิปัสสนาอยู่ที่วัดจักรวรรดิราชาวาส[1]

สมณศักดิ์ แก้

  • พ.ศ. 2413 เป็น พระปลัดมา ฐานานุกรมในพระวรญาณมุนี (เส็ง)
  • 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2432 ตั้งเป็นพระครูสัญญาบัตรที่ พระครูภาวนาวิจารณ์ ผู้ช่วยกิจการในวัดจักรวรรดิราชาวาส มีนิตยภัตเดือนละตำลึง 2 บาท ได้รับพระราชทานไตรผ้าสลับแพร ตาลปัตรพุดตานหักทองขวาง พัดรองโหมด ย่ามอัตลัด บาตรถุงอัตลัด กระโถนขันน้ำถมปัด เป็นเครื่องยศอย่างพระครู[2]
  • 17 มีนาคม พ.ศ. 2435 เลื่อนเป็นพระราชาคณะเจ้าคณะใหญ่แขวงเมืองสมุทรปราการที่ พระมงคลทิพยมุนี ศรีชลังคันตรีปเทศ เขตรสมุทรปราการ อภิบาลพุทธคยาปทวี ชลคิรีไทวปสีมาบพิตร มีนิตยภัตเดือนละ 3 ตำลึง[3] ได้รับพระราชทานตาลปัตรแฉกหักทองขวาง พัดรองตราแผ่นดิน พัดรองโหมด ย่ามหักทองขวาง ย่ามเข้มขาบ บาตรถุงเข้มขาบ ฝาบาตรเชิงบาตรมุก กระโถนกาน้ำถมปัด เป็นเครื่องยศ[4]
  • ได้รับพระราชทานตาลปัตรแฉกประดับพลอยและเพิ่มนิตยภัตเสมอพระราชาคณะชั้นเทพ
  • 16 มีนาคม พ.ศ. 2448 ได้รับพระราชทานพัดแพร เพิ่มนิตยภัตเป็นเดือนละ 7 ตำลึง เสมอพระราชาคณะชั้นธรรม[5]
  • 30 ธันวาคม พ.ศ. 2455 เลื่อนเป็นเจ้าคณะรอง ได้รับพระราชทานพัดแฉกพื้นโหมดสลับแพร เพิ่มนิตยภัตเป็นเดือนละ 30 บาท[6]
  • 30 ธันวาคม พ.ศ. 2456 ได้รับสถาปนาเป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ เจ้าคณะอรัญวาสี เสมอเจ้าคณะรอง มีนามจารึกในหิรัญบัฏว่า พระพุฒาจารย์ อเนกสถานปรีชา วิสุทธศีลจรรยาสมบัติ นิพัทธธุตคุณ ศิริสุนทรพรตจาริก อรัญญิกคณิศราธิการ อภิบาลบทวลัญช์ อรัญวาสี สังฆนายก[7]

มรณภาพ แก้

พระพุฒาจารย์ อาพาธเป็นลม มรณภาพเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2457 ปีขาล[8] สิริอายุได้ 77 ปี 28 วัน ได้รับพระราชทานโกศแปดเหลี่ยมเป็นเกียรติยศ[9]

วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2458 เคลื่อนโกศศพจากกุฏิไปตั้งเหนือแว่นฟ้า 2 ชั้นที่เมรุน้อยในวัดจักรวรรดิราชาวาส ถึงวันที่ 2 พฤษภาคม เวลาบ่าย 5 โมงเศษ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ มาพระราชทานเพลิงศพ[10]

อ้างอิง แก้

เชิงอรรถ
  1. เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๑, หน้า 229
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ตั้งตำแหน่งสงฆ์, เล่ม 6, ตอน 7, 19 พฤษภาคม ร.ศ. ,หน้า
  3. ราชกิจจานุเบกษา, คำประกาศตั้งตำแหน่งพระสงฆ์, เล่ม 9, ตอน 52, 26 มีนาคม ร.ศ. 111, หน้า 463
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ตั้งตำแหน่งพระสงฆ์, เล่ม 9, ตอน 52, 26 มีนาคม ร.ศ. 111,หน้า 461
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศเลื่อนตำแหน่งสมณศักดิ์, เล่ม 22, ตอน 52, 25 มีนาคม ร.ศ. 124, หน้า 1187
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ตั้งสมณศักดิ์ พระราชาคณะ และพระครู วันที่ ๓๐ ธันวาคม รัตนโกสินทร์ ศก ๑๓๑, เล่ม 29, ตอน 0 ง, 22 , 22 มกราคม ร.ศ. 131, หน้า 2409
  7. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งพระราชาคณะและพระครู, เล่ม 30, ตอน ก, 18 มกราคม 2456, หน้า 392-393
  8. เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๑, หน้า 231
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวมรณภาพ วันที่ ๙ ตุลาคม ๒๔๕๗ พระพุฒาจารย์, เล่ม 31, ตอน 0 ง, 18 ตุลาคม 2457, หน้า 1573
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ส่งอนุมัติบัตรมรรคนายกไปพระราชทาน เรื่อง พระราชทานเพลิงศพ พระพุฒาจารย์ (มา) เมรุวัดจักรวรรดิราชาวาศ, เล่ม 32, ตอน ง, 9 พฤษภาคม 2458, หน้า 297-298
บรรณานุกรม
  • สมมอมรพันธุ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ. เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. 428 หน้า. หน้า 218-222. ISBN 974-417-530-3