พระธาตุจอมคีรี (ไทยถิ่นเหนือ: ) เป็นโบราณสถานตั้งอยู่บนยอดเขาเตี้ย ๆ อดีตไม่มีพระสงฆ์อาศัยอยู่ มีแต่พระธาตุหรือเจดีย์องค์เดียวเท่านั้น ปัจจุบันได้รับการพระราชทานวิสุงคามสีมาให้เป็นวัดมีพระสงฆ์จำพรรษา ชื่อว่า วัดพระธาตุจอมคีรี โดยองค์พระธาตุตั้งอยู่ในเขตตำบลป่าแดด โดยมีทางแยกจากถนนสายใหญ่เข้าไปประมาณ 3 กิโลเศษ และมีทางรถยนต์วิ่งเลียบไปข้าง ๆ โรงเรียนป่าแดดวิทยาคม ตำบลป่าแดด อำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย

พระธาตุจอมคีรี
แผนที่
ชื่อสามัญวัดพระธาตุจอมคีรี
ที่ตั้งตำบลป่าแดด อำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย 57190
ประเภทพุทธศาสนสถาน
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

ตำนานพระธาตุจอมคีรี แก้

จากคำบอกเล่าสืบต่อกันมา สรุปได้ความเดิมทีเดียวเป็นวัดเก่าร้าง มีเจดีย์เก่า ๆ อยู่ก่อนแล้ว และตามตำนานบอกว่าเดิมชื่อพระธาตุจอคีรี ในสมัยอาณาจักรพะเยาประมาณปี พ.ศ. 1848 มีนามเดิมว่าเมืองภูกามยาว มีพ่อเมืองปกครองในฐานะกษัตริย์ ในครั้งนั้น มีเจ้าชายรูปหนึ่งแห่งอาณาจักภูกามยาวพระนามว่าเจ้าหลวงคำลือ พระราชโอรสของพญาคำแดง กษัติย์ลำดับที่ 10 แห่งอาณาจักรภูกามยาว ซึ่งเป็นพระราชบุตรของพญางำเมือง คราวหนึ่งเจ้าหลวงคำลือ กราบบังคมทูลขอพระราชานุญาตพระราชบิดา เพื่อพาอำมาตย์และเหล่าทหารพรานไพร เสด็จประพาสและพักแรมในป่าเพื่อล่าสัตว์เป็นเวลานาน 9 วัน

วันหนึ่ง ขณะที่ พญาคำลือทรงม้า อยู่บนเขาแห่งหนึ่ง พระองค์ทอดพระเนตรเห็นกวางงามตัวหนึ่งสีนำตาลปนแดง ยามแสงสุริยาต้องกับเส้นขนทำให้ดูคล้ายดั่งทอง (เรียกกวางชนิดนี้ว่าฟานฅำหรือกวางฅำ) พระองค์จึงรับสั่งให้พวกเสนาอำมาตย์ที่เป็นพรานไพรทั้งหลายพยายามคล้องบ่วงเชือกจับกวางนั้นมาให้ได้แต่พวกพรานทั้งหลายก็จับไม่ได้แม้แต่คนเดียวแถมมิหนำซ้ำ กวางยังไล่ขวิดนายพรานหลายคนลอยขึ้นบนอากาศทำให้พระองค์แปลกใจมาก เพราะพรานไพรต่างเข็ดขยาดไม่กล้าเข้าไปคล้องบ่วงเชือกกวางอีก และพระองค์แม้จะชำนาญในการคล้องเชือกเอาสัตว์นานาชนิดได้อย่างแม่นยำ แต่คราวนี้กลับผิดพลาดไปหมด ทว่ากวางนั้นไม่กล้าขวิดพระองค์ เอาแต่วิ่งหนีอย่างเดียว พระองค์ทรงวิ่งไล่ตามกวางนั้นไปเป็นระทางไกลแสนไกล จากเมืองภูกามยาวเข้าสู่อาณาเขตของอาณาจักรเชียงราย (ซึ่งอดีตคือส่วนหนึ่งของอาณาจักรภูกามยาวก่อนที่พญางำเมืองจะยกให้แก่พญามังราย) โดยเลาะป่าผ่าเขา ผ่านเวี่ยงฮ่องจ้าง(ตำบลโรงช้าง) เวียงแซ่ลุน(ตำบลป่าแงะ) มาถึงเขาลูกหนึ่ง ในพื้นที่อาณาเขตเวียงปากบ่อง(ตำบลป่าแดด) ทรงติดตามกวางตัวนั้นมาอย่างใกล้ชิด แต่ดั่งมีมนต์บังตากวางตัวนั้นก็วิ่งหายลับไปกับตา พระองค์ตามหาอยู่สักพัก องค์ก็ทอดพระเนตรเห็นสตรีนางหนึ่งล้มตัวนอนบนโขดหินลูกหนึ่งบนยอดดอยแห่งนั้น นางมีอาการเหนื่อยล้าดุจดั่งวิ่งหนีอะไรมา เจ้าหลวงคำลือจะได้ตรัสถามนาง เมื่อนางเงยหน้ามาทำให้เจ้าหลวงคำลือตกตะลึงกับใบหน้าของสตรีผู้นั้นด้วยรูปโฉมชวนพิศวงยิ่งนัก มีดวงตาประดุจตากวาง ผิวพรรณขาวผุดผ่อง ทำให้พระองค์พลั้งวาจาออกไปว่าเรามีบุญมากที่ได้พบนางเทพธิดาในป่าแห่งนี้ ก่อนที่พระองค์จะตรัสถามต่อ สตรีนางนั้นจึงเอ่ยปากถามว่าเจ้าหลวงคำลือ ว่าพระองค์เป็นใครมาจากไหน เหตุใดจึงเข้ามาในป่าลึกเช่นนี้ เมื่อพระองค์ได้ฟังคำถามจากนางจึงทรงเล่าเรื่องให้ฟังนางได้ทราบเรื่องราวโดยตลอด นางจึงบอกแก่พระองค์ว่านางมิได้เป็นเทพธิดา และไม่ทราบมาจากไหนเช่นกัน ทราบแต่เพียงว่ามีพระฤๅษีตนหนึ่งได้เก็บมาเลี้ยงไว้เท่านั้น เมื่อพระองค์ได้ยินเช่นนั้นพระองค์จึงขอติดตามนางเพื่อเดินทางไปพบพระฤๅษีดังกล่าว แต่นางบอกว่าพระฤๅษีอยู่ในถ้ำไกลมากซึ่งอยู่ในทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ของอาณาแห่งนี้ ปัจจุบันสันนิฐานว่าถ้ำที่พระฤๅษีจำศิลอยู่ตามคำบอกเล่าของนางคือ "ถ้ำผาไฟ" ในอำเภองาว จังหวัดลำปาง หลังจากทราบที่ไปที่มาของหญิงสาว เจ้าหลวงคำลือจึงถามนางต่อว่าพระฤๅษีมีประสงค์อันใดถึงให้นางเดินทางแสนไกลมาถึงที่แห่งนี้ หรือพระฤๅษีมีการอันใดใช้ให้นางมา นางจึงตอบว่าพระฤๅษีให้นางมาแสวงหาที่ปลอดสัตว์ (บริเวณที่สัตว์จะปลอดภัย) เพื่อปลดปล่อยสัตว์ที่มนุษย์ถูกรังแกหรือหมายจะเอาชีวิตของเขาทั้งหลาย เหตุเพราะในอดีตองค์สัมมาสัมพุทธเจ้าเคยเสด็จมาโปรดสัตว์ในบริเวณนี้ครั้งหนึ่งในสมัยพุทธกาล และตรัสพุทธทำนายกับโมคคัลลานะ และ พระสารีบุตรว่าในอนาคตการณ์ บริเวณแห่งนี้จักเป็นสถานที่คงไว้ซึ่งพระศาสนา บริเวณที่นางปรารภถึงคือบริเวณม่อนคีรีหรือดอยคีรี แห่งนี้ (ปัจจุบันดอยคีรีอยู่ในเขตอำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ห่างจากเมืองภูกามยาวไป 40 กว่ากิโลเมตร) และหลังจากนั้นเมื่อนางได้สนทนากับเจ้าน้ยคำลือเสร็จนางจึงได้กราบทูลลาเจ้าหลวงคำลือเพื่อเดินทางกลับ เมื่อนางเดินจากเจ้าหลวงคำลือไปได้ 7 ก้าว ร่างของนางจึงกลายเป็นกวางทองซึ่งเป็นตัวเดียวกับที่เจ้าน้อยคำลือติดตามมา กวางตัวนั้นวิ่งหายไปในป่ามุ่งไปทางทิศตะวันตกหายลับไปกับตา ทำให้เจ้าหลวงคำลือทรงตกพระราชหฤทัยเป็นอย่างมากที่ได้ทรงทอดพระเนตรความอัศจรรย์ที่เกิดขึ้น

เมื่อเจ้าหลวงคำลือเสด็จกลับถึงเมืองภูกามยาว ก็ทรงเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นให้พญาคำแดงพระราชบิดาฟัง พญาคำแดงก็เกิดความปลื้มปิติใจอย่างยิ่ง พระองค์ทรงเรียกเหล่าเสนาอามาตย์ปรึกษา ว่าจะกระทำประการใด พอดีขณะนั้นพระมหาอุอะเส่ง (พระสงฆ์จากพม่า) เดินทางจากเมืองม่าน (พม่า) เข้ามาในเมืองภูกามยาว จึงได้ถวายคำแนะนำแล้วอาสาจะไปแบ่งเอาพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้าซึ่งมีคนนำมาจากลังกาทวีปมาไว้ที่เมืองม่าน เจ้าหลวงคำลือ จึงได้ทูลขอพระราชบิดา ให้ส่งเหล่าไพร่พลจัดขบวนตามพระมหาอุอะเส่ง ไปอันเชิญพระเกศาธาตุมา โดยพญาฅำลือให้ช่างผู้มีฝีมือ (ตระกูลช่างพะเยา) ทำช่อฅำ 7 ช่อ ช่อเงิน 7 ช่อ ช่อแก้ว 7 ช่อ สั่งทำพระอุบแก้ว ทอง เงิน (พระอบ) พระอุบทองและเงินล้วนประดับด้วยอัญมณีมีค่าอย่างสวยงามเตรียมไว้ เมื่อขบวนอัญเชิญพระเกศาธาตุ กลับมาถึงเมืองภูกามยาวพญาคำลือก็ให้ไพร่พลและชาวเมืองตั้งขบวนรับพระเกศาธาตุเข้าประตูเมือง เสียงประโคมกลอง ปี่ พาทย์ ฆ้อง สะล้อ ซึง ดุริยะดนตรี ดังกรึกก้องไปทั่วเมือง ทั้งการฟ้อนร่ายรำ ของชาวเมือง ด้วยความปิติยินดี ท้องฟ้าที่มืดครึ้มฟ้าครึ้มฝนก็พลันสลายสว่างแจ้ง อย่างปฏิหาร ชาวเมืองภูกามยาวฉลองงานรื่นเริงถึง 7 วัน 7 คืน ก่อนที่จะอันเชิญพระเกศาธาตุ ไปยอดดอยคีรี ชาวเมืองเวียงปากบ่อง เวียงฮ่องจ๊าง เวียงแซ่ลุน เวียงเชียงเคี่ยน เวียงลอ และชาวเมืองใกล้เคียงเมื่อได้ทราบข่าวก็พากันเดินทางมาที่ดอยคีรี เพื่อที่จะนมัสการพระเกศาธาตุ และชาวเมืองต่างปิติยินดี ร่วมกันประโคมดนตรีร่ายรำฟ้อนต้อนรับขบวนช้างอันเชิญพระเกศาธาตุ ตั้งแต่ปากประตูเวียงปากบ่อง จนไปถึงยอดดอยคีรี เมื่อมาถึงยอดดอยคีรีพญาคำลือจึงได้ไปที่โขดหินใกล้ ๆ กับที่พบทางกวางทองพร้อมอัญเชิญพระอุบที่บรรจุพระเกศาธาตุทางอัญเชิญไว้บนพานทองวางบนโขดหินที่ถูกสร้างหลังคามุงไว้ และหลังจากนั้นได้อธิฐานจิตภาวนาหมายจักขอสร้างพระธาตุไว้เพื่อบรรจุพระเกศาธาตุพลัน ก็เกิดปฏิหารไม่ทันได้สร้างพระธาตุ พระอุบที่บรรจุพระเกศาธาตุค่อย ๆ จมหายไปในพื้นดิน จึงมีคำสั่งให้สร้างพระธาตุองค์ใหญ่ครอบบริเวณที่นั้นไว้ การก่อสร้างพระธาตุใช้เวลาหลายเดือนจึงก่อสร้างพระธาตุองค์ใหญ่สีเหลืองทองอร่ามขึ้น ต่อมาผู้คนต่างหลังไหลมาตั้งรกรากมากขึ้นจนเป็นเมืองใหญ่ ณ บริเวณแห่งนี้ปัจจุบันชาวบ้านเรียกว่าหมู่บ้านเวียงเดิม ต่อมาเกิดยุคสงคราม เวียงปากบ่องหรือเวียงปากน้ำ ซึ่งเป็นเมืองหน้าด่าน เป็นทางผ่านขบวนทัพศึก ผู้คนสมัยนั้นก็พากันหลบหนีไปอยู่ต่างบ้านต่างเมืองทิ้งให้บ้านเมืองร้าง พระธาตุบนม่อนดอยคีรีก็ไม่มีผู้คนบูรณะดูแลก็ทรุดโทรม มีโจรเข้ามาขุดหาสมบัติที่ฝั่งไว้ในตัวองค์พระธาตุ ทำให้พระธาตุองค์เดิม ทลายลงเหลือเพียงเศษซากของอิฐ ต่อมาหลังหมดยุคสงครามหลายปีต่อก็มีผู้คนอพยพมาตั้งถิ่นฐานที่เวียงเก่าแห่งนี้อีกครั้ง จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2489 พระครูบาศรีชัย นักบุญแห่งล้านนาได้รับรู้ด้วยญานจึงเดินทางแสวงบุญมาที่ตำบลป่าแดด อำเภอพาน(ปัจจุบันคืออำเภอป่าแดด) จังหวัดเชียงราย พบเศษซากอิฐโบราณ มากมายที่ถูกทับถม จึงได้ปรึกษาพระครูบาเจ้าศิริปัญญา เจ้าคณะตำบลป่าแดด ในสมัยนั้น และชักชวนชาวบ้านในสมัยนั้นให้ช่วยกันสร้างก่อพระเจดีย์ใหม่เข้าทับตรงเจดีย์เก่าอีกครั้ง โดยตั้งชื่อว่าพระธาตุจอมคีรี ตามชื่อเดิมของม่อนคีรีและเรียกสืบกันมาว่าพระธาตุจอมคีรี จอมคีรี อันหมายถึง ม่อนดอยอันยิ่งใหญ่ที่ธำรงค์ไว้แห่งศาสนา ตราบถึงทุกนี้

ประวัติ แก้

วัดพระธาตุจอมคีรีจะตั้งอยู่นานเท่าไรไม่ปรากฏ แต่กรมศิลปกรและกรมพระพุทธศาสนาสันนิษฐานว่าน่าจะมีอายุประมาณ 700 กว่าปี หรือประมาณ ปี 1841-1860 ซึ่งใกล้เคียงระหว่างการครองราชสมบัติของพญาคำแดงและพญาคำลือ

ประเพณีและความสำคัญ แก้

พระธาตุจอมคีรีจะมีประเพณี ในเดือน 6 คือวันวิสาขบูชา และทุกปีจะมีประชาชนเลื่อมใสไปเคารพกราบไหว้อยู่เสมอมิได้ขาด

เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย แก้

สมัยก่อนชาวเวียงปากน้ำหรืออำเภอป่าแดดในปัจจุบัน มีประเพณีที่สำคัญคือการทอผ้าห่มพระธาตุจอมคีรี ความสำคัญของงานนี้คือ การนำฝ้ายมายทอและย้อมเป็นผ้าเหลือง เพื่อแห่ขึ้นไปห่มตัวพระธาตุจอมคีรี โดย จากจากตำนานกล่าวไว้ว่ามีเหตุการณ์สำคัญของการทอผ้าครั้งหนึ่งในอดีตหลังจากเจ้าหลวงคำคือเสด็จขึ้นครองราชแทนพญาคำแดงพระราชบิดา เป็นกษัตริย์ลำดับที่ 11 แห่งอาณาจักรภูกามยาว(ถือเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของอาณาจักรภูกามยาว) พญาคำลือหลังจากได้มีสร้างพระธาตุจอมคีรีขึ้นแล้วมีความประสงค์ที่จะนำผ้าเหลืองขึ้นห่มตัวพระธาตุจึงตรัสให้ทหารนำเมล็ดฝ้ายไปแจกจ่ายให้กับชาวบ้านครั้นเมื่อออกดอกจนกระทั่งเมล็ดฝ้ายแห้งจึงให้ชาวบ้านนำมาถวายจากนั้นก็ให้ช่างทอมีฝีมือช่วยกันฮีตฝ้ายยอมสีฝาดและนำมาทอให้ได้ 7 วา ให้แล้วเสร็จก่อนรุ่งสางของวันที่ 7 เมื่อผ้าที่ทอใกล้แล้วเสร็จเหลือเพียง 1 คีบ ก็ทอต่อไม่ได้แม้นช่างทอจะต่อฝ้ายและพุ่งกระสวยไหมฝ้ายเพื่อจะทอต่อไหมฝ้ายก็ขาดสิ้น ร้อนถึงพญาคำลือ เจ้าผู้ครองนครภูกามยาว ด้วยความร้อนพระทันและทรงมีพระทัยที่ร้อนเป็นเดิมทุนอยู่แล้ว ต้องลงมาทำพิธีบวงสรวงเทพไท้เทวา และเมื่อทำพิธีเสร็จพญาฅำลือได้ทำการพุ่งกระสวยฝ้ายด้วยพระองค์เองจึงทำให้การทอผ้าสามารถทอต่อจนแล้วเสร็จ เมื่อพญาคำลือได้ถวายผ้าห่มพระธาตุแล้วเสร็จ คืนนั้นบังเอิญตรงกับวันเป็งปุ๊ด คือ วันพุธ ขึ้น 4 ค่ำ คือการตักบาตรพระอุปคุตนั้นเอง (พระอุปคุตคือพระอรหันต์รูปหนึ่ง ท่านเกิดหลัง พระพุทธเจ้า เสด็จปรินิพพานแล้ว ประมาณ พ.ศ. 218 ปีนัยว่าท่านเนรมิตเรือนแก้ว พระอุปคุตเถระองค์นี้ มีปกติสันโดษอยู่องค์เดียว เข้าฌานสมาบัติเสวยวิมุตติสุข อยู่ในมหาสมุทรอันกว้างใหญ่ ภายในปราสาทแก้วที่เนรมิตขึ้น เหนือรัตนะบัลลังก์ จะออกจากสมาบัติ เหาะขึ้นมาบิณฑบาต ในโลกมนุษย์ ในยามเที่ยงคืนที่เป็นวันเพ็ญที่ตรงกับวันพุธเท่านั้นคนในอดีตเชื่อการได้ตักบาตรกับท่านถือเป็นสิริมงคลตอชีวิต) ซึ่งชาวบ้านจะลุกขึ้นมาตักบาตรตอนเที่ยงคืนพระองค์จึงตักบาตรบริเวณทางลงบันไดพระธาตุ (จอมคีรี) เมื่อตักบาตรเสร็จพระองค์จึงได้ปล่อยโคมลอยเพื่อเป็นการการบูชาพระพุทธบนสวรรค์คือการปล่อยโคมลอยเพื่อบูชาพระธาตุเกศแก้วมณีบนสวรรค์และนับจากนับชาวเมืองจึงถือเป็นประเพณีที่สำคัญและสืบทอดกันมาโดยตลอด เหตุที่ทำให้ประเพณีนี้สูญหายคาดว่ามีอยู่ 2 สาเหตุ คือ

  1. สาเหตุนี้น่าจะเป็นไปได้ที่สุดคือการร้างของของเมืองเนื่องมาจากสงครามทำให้ประเพณีวัฒนธรรมดั้งเดิมสูญหายไปด้วยและเมื่อผู้คนที่อพยพเข้าอาศัยอยู่ใหม่ไม่รู้ประเพณีที่เคยมีอยู่จึงทำให้ประเพณีนี้สูญหายไปในที่สุด
  2. เนื่องจากกำหนดเวลาไม่แน่นอนเช่นการตักบาตรพระอุปคุตนั้น จะทำกันใน วันพุธ ขึ้น 4 ค่ำ เท่านั้น ซึ่งปีหนึ่งมีเพียงครั้งเดียว หรืออาจมี ถึงสองครั้ง และบางปี ก็ไม่มีวันใดตรงเลย และต้องกระทำการตักบาตตั้งแต่เวลาเที่ยงคืนขึ้นไปเท่านั้นเมื่อ วัน เวลา กำหนดไม่ได้จึงได้ยกเลิกประเพณีนี้ไปเหลือเพียงงานทอผ้าห่มธาตุ บูชาองค์พระพุทธบนสวรรค์ แต่เนื่องด้วยการจัดงานมักใช้เวลาเตรียมงานค่อนข้างนานเสียเวลาสาเหตุเพราะการทอผ้านั้นยุ่งยากและเสียเวลา แล้วผ้าเหลืองก็หาซื้อง่ายขึ้นกว่าสมัยก่อนและปัจจุบันคงเหลือเพียงงานขึ้นพระธาตุเพียงอย่างทีชาวป่าแดดยังคงอนุรักษ์ไว้

สาเหตุที่จังหวัดเชียงรายไม่ได้รวมพระธาตุจอมคีรีเข้าในหนึ่งพระธาตุ 9 จอม ทั้งที่พระธาตุจอมคีรีมีอายุเก่าแก่พอ ๆ กับพระธาตุจอมอื่น ๆ สันนิษฐานว่าคงเพราะพระธาตุจอมคีรีมีความสมบูรณ์น้อยค้นพบและบูรณะขึ้นมาใหม่ได้ไม่นาน

อ้างอิง แก้

  1. สารนุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่มที่ 9 เรื่องพระธาตุจอมคีรี หน้า 4381-4382
  2. สงวน โชติสุขรัตน์ ประชุมลานนาไทย พ.ศ. 2515
  3. กรมศิลปากร การขึ้นทะเบียนโบราณสถานภาคเหนือ พ.ศ. 2525

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

19°30′39″N 99°59′54″E / 19.510916°N 99.998302°E / 19.510916; 99.998302