พระครูเทพสิทธิเทพาธิบดี (ทับ อินฺทโชโต)
หลวงพ่อทับ อินฺทโชโต (2390 - 2455) ยอดพระคณาจารย์ผู้ที่มีความแตกฉานในพระไตรปิฎกและวิชาอักขระสักยันต์ เลขยันต์ เป็นพระธรรมกถึกนามอุโฆษ เชี่ยวชาญการหล่อหลอมโลหะ ศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมต่าง ๆ พระปิตตามหาอุตม์เนื้อโลหะของท่านได้รับความนิยมเป็นอันดับหนึ่งของวงการ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ (สมัยที่ยังเป็นกรมหมื่น) ยังเคยเสด็จมาหาท่าน แม้แต่สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว) ในสมัยที่ยังเป็นพระธรรมโกษาจารย์ ก็มีความสนิทสนมชิดชอบกับหลวงพ่อ ได้แวะเวียนไปมาหาสู่กันเสมอ[1]
พระครูเทพสิทธิเทพาธิบดี (ทับ อินฺทโชโต) | |
---|---|
ชื่ออื่น | หลวงพ่อทับ |
ส่วนบุคคล | |
เกิด | 6 มิถุนายน พ.ศ. 2389 (65 ปี) |
มรณภาพ | 9 ธันวาคม พ.ศ. 2455 |
นิกาย | มหานิกาย |
ตำแหน่งชั้นสูง | |
ที่อยู่ | วัดสุวรรณารามราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร |
บรรพชา | พ.ศ. 2408 |
อุปสมบท | พ.ศ. 2411 |
พรรษา | 44 |
ตำแหน่ง | เจ้าอาวาสวัดสุวรรณาราม รูปที่ 9 |
ประวัติ
แก้หลวงพ่อทับ อินฺทโชโต ท่านเกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2389 ตรงกับวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 7 ปีมะเมีย[2] ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ บ้านคลองชักพระ อำเภอบางกอกน้อย จังหวัดธนบุรี (ฝั่งธนบุรี) ในปัจจุบัน เป็นบุตรคนโตของนายทิมและนางน้อย ปัทมานนท์
เมื่ออายุได้ 17 ปีบิดาได้นำไปฝากเป็นศิษย์ของพระปลัดแก้วซึ่งรักษาการเจ้าอาวาสวัดสุวรรณารามในช่วงก่อนที่พระศีลสารพิพัฒน์ (ศรี) จะย้ายจากวัดสุทัศเทพวรารามมาเป็นเจ้าอาวาสวัดสุวรรณาราม เพื่อเป็นศิษย์ร่ำเรียนหนังสือไทย และขอม เมื่อถัดมาปีหนึ่งเมื่อท่านมีอายุได้ 18 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ณรอยู่ศึกษาเล่าเรียนในสำนักพระปลัดแก้ว แล้วยังได้ศึกษาเพิ่มเติมกับพระอาจารย์พรหมน้อย และพระครูประสิทธิ์สุตคุณ ที่วัดอัมรินทร์อีกด้วย เมื่อมีอายุได้ 21 ปี ท่านได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อปี พ.ศ. 2411 ณ พัทธสีมาวัดตลิ่งชัน มีพระอธิการม่วง วัดตลิ่งชันเป็นพระอุปัชฌาย์ พระปลัดแก้ว วัดทอง และพระอาจารย์พึ่ง วัดรวก เป็นพระคู่สวด ได้รับฉายาว่าอินฺทโชโต
หลังจากอุปสมบทแล้ว ท่านได้ย้ายมาจำพรรษา อยู่ที่วัดทอง หากแต่ได้ร่ำเรียนวิปัสสนากรรมฐานและวิชาพุทธาคม ไสยศาสตร์จากพระอุปัชฌาย์มิได้ขาดจนกระทั่งสำเร็จ[3] หลวงพ่อท่านมีนิสัยส่วนตัวคือชอบใฝ่ศึกษาหาความรู้อยู่เสมออาจารย์รูปใดที่มีชื่อเสียงได้ยินมาถึงตัวท่านไม่ว่าจะไกลลำบาก และท่านมักได้ศึกษาพระปริยัติธรรม อักขระขอม วิปัสสนาธุระมาโดยตลอดและยังออกธุดงค์ไปยังที่ต่าง ๆ ได้อย่างวิจิตรยิ่ง มักเขียนภาพมหาอุตม์พร้อมกับเลขยันต์โดยไม่ซ้ำแบบ เพื่อเตรียมไว้ปั้นหุ่นสำหรับพระ ที่จะสร้างเป็นองค์ ท่านแตกฉานในวิชาโลหะ แม้แต่กลุ่มช่างหล่อยังมาขอคำปรึกษาจากท่านอยู่เสมอ [4] ท่านได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสุวรรณารามเมื่อปี พ.ศ. 2450 และเป็นเจ้าอาวาสอยู่ 5 ปี ก็อาพาธ ตอนที่ท่านป่วยอยู่นั้น กรมหลวงชุมพร ลูกศิษย์ของท่าน เสด็จมาเยี่ยมและถวายแพทย์หลวงเพื่อทำการรักษาหลวงพ่อ หลวงพ่อทัพได้มรณภาพในวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2455[2]
อ้างอิง
แก้- ↑ หนังสือรวมสุดยอดพระคณาจารย์ทั้งหมด 180 พระองค์ ทศพล จังพาณิชยกุล
- ↑ 2.0 2.1 "ลำดับเจ้าอาวาส". พระมหาชอบ จนฺทวํโส. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-16. สืบค้นเมื่อ 28 มิถุนายน 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "หลวงพ่อทัพ อินทโชติ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-11. สืบค้นเมื่อ 2011-10-11.
- ↑ "พระปิตตา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-21. สืบค้นเมื่อ 2011-10-11.
ก่อนหน้า | พระครูเทพสิทธิเทพาธิบดี (ทับ อินฺทโชโต) | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระครูวิมลปัญญา (เนียม) | เจ้าอาวาสวัดสุวรรณาราม (พ.ศ. 2450 - 2455) |
พระครูสังวราธิคุณ (เทศ) |