พรรคแรงงานอินโดนีเซีย

พรรคแรงงานอินโดนีเซีย (อังกฤษ: Labour Party of Indonesia; อินโดนีเซีย: Partai Buruh Indonesia, PBI) เป็นพรรคการเมืองในประเทศอินโดนีเซีย พรรคนี้ก่อตั้งในฐานะสหภาพการค้าระดับชาติในชื่อแนวร่วมแห่งชาติอินโดนีเซียเมื่อ 15 กันยายน พ.ศ. 2488 และหลังจากมีการประชุมใหญ่เมื่อ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2488 ได้ตัดสินใจเปลี่ยนเป็นพรรคการเมืองใช้ชื่อพรรคแรงงานอินโดนีเซีย[1][2] ในช่วงแรก พรรคนี้ทำงานอย่างโดดเดี่ยว ในขณะที่ญี่ปุ่นเข้ายึดครองใน พ.ศ. 2489 เซเตียจิดซึ่งลี้ภัยไปเนเธอร์แลนด์ได้กลับมายังอินโดนีเซีย และเป็นหัวหน้าพรรค เซเตียจิดเข้ามากุมอำนาจในพรรคและมีความสัมพันธ์อันดีกับรัฐบาลซูการ์โน และมีความใกล้ชิดกับพรรคสังคมนิยม[2][3][4]

พรรคนี้เข้าร่วมกับกลุ่มสนับสนุนรัฐบาลที่เรียก กนเซนสตราซี นาซียนนัล ที่ก่อตั้งขึ้นในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2489[5] ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2489 รัฐบาลได้ขยายแนวร่วมออกไปเพื่อรวมผู้นำจากหลายพรรคกการเมือง แนวร่วมใหม่ที่เรียกซายับกีรีได้สนับสนุนข้อตกลงลิงกายาตีกับรัฐบาลเนเธอร์แลนด์ ซายับกีรีนี้ประกอบด้วยพรรคแรงงานอินโดนีเซีย พรรคสังคมนิยม เปซินโด และพรรคคอมมิวนิสต์อินโดนีเซีย[6] ต่อมาซายับกีรีเปลี่ยนชื่อเป็นแนวร่วมประชาธิปไตยประชาชน[7]

การสลายตัว แก้

ในปลายเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2491 ได้รวมพรรคแรงงานอินโดนีเซียเข้ากับพรรคคอมมิวนิสต์อินโดนีเซีย[8] ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2492 กลุ่มหนึ่งของพรรคได้ออกมาปฏิเสธการรวมตัวกับพรรคคอมมิวนิสต์และก่อตั้งพรรคใหม่คือพรรคแรงงาน นำโดยอดีตหัวหน้าพรรคสังคมนิยม อิสกันดาร์ เทยาซุกมานา[3][9]

อ้างอิง แก้

  1. Ensiklopedi umum[ลิงก์เสีย]. Yogyakarta: Yayasan Kanisius, 1977. p. 133
  2. 2.0 2.1 Kahin, George McTurnan. Nationalism and Revolution in Indonesia. Studies on Southeast Asia, 35. Ithaca, NY: Cornell Southeast Asia Program, 2003. p. 161
  3. 3.0 3.1 Rose, Saul. Socialism in Southern Asia. London: Oxford University Press, 1959. pp. 152-153
  4. Klinken, Geert Arend van. Minorities, Modernity and the Emerging Nation: Christians in Indonesia, a Biographical Approach[ลิงก์เสีย]. Verhandelingen van het Koninklijk Instituut voor Taal-, Land- en Volkenkunde, 199. Leiden: KITLV Press, 2003. p. 193
  5. Rose, Saul. Socialism in Southern Asia. London: Oxford University Press, 1959. p. 147
  6. Rose, Saul. Socialism in Southern Asia. London: Oxford University Press, 1959. p. 148
  7. Cribb, R. B. Historical Dictionary of Indonesia. Asian historical dictionaries, no. 9. Metuchen, N.J.: Scarecrow Press, 1992. pp. 151, 384
  8. Swift, Ann. The road to Madiun: the Indonesian communist uprising of 1948. Cornell Modern Indonesia Project publications, 69. 1989. p. 57
  9. Feith, Herbert. The Decline of Constitutional Democracy in Indonesia. An Equinox classic Indonesia book. Jakarta [u.a.]: Equinox, 2007. p. 144