พรรคเรียกร้องประชาธิปไตยคริสเตียน

พรรคเรียกร้องประชาธิปไตยคริสเตียน (ดัตช์: Christen-Democratisch Appèl) เป็นพรรคการเมืองในประเทศเนเธอร์แลนด์ที่นิยมประชาธิปไตยแบบคริสเตียน[8][9][10] เริ่มก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1977 จากการรวมตัวกันของพรรคประชาชนคาทอลิก พรรคต่อต้านการปฏิวัติ และสหภาพประวัติศาสตร์คริสเตียน[10] มี ซีบรันต์ ฟัน ฮาร์สมา บูมา เป็นหัวหน้าพรรคคนล่าสุดระหว่าง ค.ศ. 2012 ถึง ค.ศ. 2019 ก่อนจะลาออกไปทำให้ตำแหน่งหัวหน้าพรรคว่างลง

พรรคเรียกร้องประชาธิปไตยคริสเตียน
Christen-Democratisch Appèl
ชื่อย่อCDA
ประธานรุตเกอร์ พลูม
หัวหน้าว่าง
ประธานกิตติศักดิ์ปีต สเตนกัมป์
ผู้นำในวุฒิสภาเบ็น กนาเปิน
ผู้นำในสภาผู้แทนราษฏรปีเตอร์ เฮร์มา
ผู้นำในรัฐสภายุโรปเอ็สเตอร์ เดอ ลังเงอ
ก่อตั้ง23 มิถุนายน ค.ศ. 1973 (พันธมิตร)
11 ตุลาคม ค.ศ. 1980 (พรรค)
รวมตัวกับพรรคประชาชนคาทอลิก
พรรคต่อต้านการปฏิวัติ
สหภาพประวัติศาสตร์คริสเตียน
ที่ทำการPartijbureau CDA
Buitenom 18 เดอะเฮก
ฝ่ายเยาวชนเยาวชนคริสเตียนเรียกร้องประชาธิปไตย
สมาชิกภาพ  (ปี 2020)ลดลง 39,187 คน[1]
อุดมการณ์ประชาธิปไตยคริสเตียน[2]
จุดยืนกลาง[3][4] ถึง กลางขวา[5][6][7][8]
สีเขียว
สภาผู้แทนราษฎร
19 / 150
วุฒิสภา
9 / 75
สภาจังหวัด
73 / 570
รัฐสภายุโรป
4 / 29
ข้าหลวงในพระมหากษัตริย์
5 / 12
เว็บไซต์
www.cda.nl
การเมืองเนเธอร์แลนด์
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

อุดมการณ์

แก้

พรรคเรียกร้องประชาธิปไตยคริสเตียน นิยมประชาธิปไตยโดยให้คุณค่าของศาสนา ไม่เพียงศาสนาคริสต์เท่านั้น แต่ในพรรคยังเคารพและมีสมาชิกพรรคนับถือศาสนายูดาย อิสลาม และฮินดู อีกด้วย

พรรคมีอุดมการณ์หลักสี่ประการ ได้แก่ บริการสังคม ความรับผิดชอบร่วมกัน ความยุติธรรม และความสามัคคี โดยพรรคเชื่อว่าไม่ควรมีองค์กรใดองค์กรเดียวควบคุมสังคมทั้งหมด แต่รัฐ ตลาด และองค์กรสังคมเช่นศาสนาและสหภาพควรจะร่วมมือร่วมใจกัน เป็นแนวคิดที่มาจากลัทธิคาลวินแบบใหม่ นอกจากนี้ รัฐระดับท้องถิ่น จังหวัด ประเทศ และยุโรปควรจะร่วมรับผิดชอบสังคมร่วมกัน มิใช่หน้าที่ของรัฐระดับใดระดับหนึ่งเท่านั้น เป็นหลักการเสริมอำนาจการปกครองตามแนวคิดการเมืองของนิกายคาทอลิก ส่วนการบริการสังคมนั้นมีรากจากแนวคิดที่ว่าโลกเป็นของขวัญจากพระเจ้า เราควรร่วมมือร่วมใจกันรักษาสิ่งแวดล้อม

ในทางปฏิบัติแล้ว พรรคเรียกร้องประชาธิปไตยคริสเตียน เป็นพรรคการเมืองสายกลาง แต่โน้มเอียงมาทางฝั่งซ้ายในเรื่องของการสนับสนุนสิ่งแวดล้อม นิยมการรวมตัวกันของยุโรป และมักจะตั้งรัฐบาลร่วมกับพรรคฝ่ายกลางซ้าย อย่างไรก็ตาม จุดยืนของกลุ่มเอียงซ้ายในพรรคเริ่มอ่อนลงนับตั้งแต่พรรคได้เข้าร่วมจัดตั้งรัฐบาลร่วมกับพรรคประชาชนเพื่อเสรีภาพและประชาธิปไตย โดยมีมาร์ก รึตเตอดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในสมัยแรก เป็นคณะรัฐมนตรีที่มีพรรคเพื่อเสรีภาพที่เป็นฝ่ายขวาจัดมาร่วมด้วย

จุดยืนที่สำคัญของพรรคได้แก่

  • รัฐควรหาทางชดเชยการขาดดุลของรัฐให้ทันภายในช่วงอายุคนหนึ่งรุ่นเพื่อรับมือภาวะที่สังคมจะมีผู้สูงอายุมากขึ้นในอนาคต
  • รัฐควรยุตินโยบายผ่อนปรนยาเสพติดแบบอ่อน และควรจำกัดการค้าประเวณี การทำแท้ง และการุณยฆาต
  • พรรคสนับสนุนการรวมตัวกันของยุโรป โดยสนับสนุนให้ตุรกีเข้าร่วมเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปในอนาคต
  • พรรคต้องการให้โรงเรียนและโรงพยาบาลมีอำนาจในการกำหนดนโยบายด้วยตัวเอง แทนที่จะถูกควบคุมจากรัฐบาล

อ้างอิง

แก้
  1. "Forum voor Democratie qua ledental de grootste partij van Nederland" (PDF). Documentatiecentrum Nederlandse Politieke Partijen (ภาษาดัตช์). สืบค้นเมื่อ 27 January 2020.
  2. Nordsieck, Wolfram (2017). "Netherlands". Parties and Elections in Europe. สืบค้นเมื่อ 4 August 2018.
  3. "Netherlands". Freedom in the World 2003. Freedom House. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-29. สืบค้นเมื่อ 29 June 2019.
  4. Bremmer, Ian (13 September 2012). "Going Dutch: The Netherlands' election results roll in". Foreign Policy. สืบค้นเมื่อ 29 June 2019.
  5. Weaver, Matthew (16 March 2017). "Dutch elections: Rutte starts coalition talks after beating Wilders into second – as it happened". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 30 March 2019.
  6. Syuzanna Vasilyan (2009). "The integration crisis in the Netherlands: the causes and the new policy measures". ใน Ditta Dolejšiová; Miguel Angel García López (บ.ก.). European Citizenship in the Process of Construction: Challenges for Citizenship, Citizenship Education and Democratic Practice in Europe. Council of Europe. p. 73. ISBN 978-92-871-6478-0.
  7. Hans Vollaard; Gerrit Voerman; Nelleke van de Walle (2015). "The Netherlands". ใน Donatella M. Viola (บ.ก.). Routledge Handbook of European Elections. Routledge. p. 171. ISBN 978-1-317-50363-7.
  8. 8.0 8.1 Kees Van Kerbergen; André Krouwel (2013). "A double-edged sword! The Dutch centre-right and the 'foreigners issue'". ใน Tim Bale (บ.ก.). Immigration and Integration Policy in Europe: Why Politics – and the Centre-Right – Matter. Routledge. pp. 91–92. ISBN 978-1-317-96827-6.
  9. Wijbrandt H. Van Schuur; Gerrit Voerman (2010). "Democracy in Retreat? Decline in political party membership: the case of the Netherlands". ใน Barbara Wejnert (บ.ก.). Democratic Paths and Trends. Emerald Group Publishing. p. 28. ISBN 978-0-85724-091-0. สืบค้นเมื่อ 20 August 2012.
  10. 10.0 10.1 Christopher Anderson (1995). Blaming the Government: Citizens and the Economy in Five European Democracies. M.E. Sharpe. p. 64. ISBN 978-1-56324-448-3. สืบค้นเมื่อ 21 August 2012.