พรรคดาวเดือนเสี้ยว

พรรคดาวเดือนเสี้ยว (Crescent Star Party; อินโดนีเซีย: Partai Bulan Bintang) เป็นพรรคการเมืองในอินโดนีเซีย จุดกำเนิดของพรรคย้อนไปถึงการคว่ำบาตรพรรคมัสยูมีโดยประธานาธิบดีซูการ์โนใน พ.ศ. 2503 หลังการคว่ำบาตร ผู้สนับสนุนได้จัดตั้งครอบครัวดาวเดือนเสี้ยว (Keluarga Bulan Bintang) เพื่อสนับสนุนการใช้กฎหมายชะรีอะห์และการสอนศาสนาอิสลามในอินโดนีเซีย หลังจากที่ซูการ์โนหมดอำนาจลง และเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคระเบียบใหม่ สมาชิกขององค์กรต้องการฟื้นฟูพรรคมัสยูมี แต่ไม่ได้รับอนุญาต ต่อมาในราว พ.ศ. 2513 มีการประชุมที่มาลังและได้ตั้งพรรคใหม่คือพรรคมุสลิมแห่งอินโดนีเซีย (Partai Muslimin Indonesia) หรือปาร์มูซี และได้คะแนนเป็นอันดับ 4 ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2514 ต่อมา ใน พ.ศ. 2516 พรรคถูกบีบให้รวมกับพรรคนิยมอิสลามอื่นๆในชื่อพรรคสหพัฒนาการ หลังจากซูฮาร์โตหมดอำนาจใน พ.ศ. 2541 กลุ่มผู้สนับสนุนพรรคมัสยูมีตัดสินใจตั้งพรรคใหม่ในชื่อพรรคดาวเดือนเสี้ยว โดยผู้นำพรรคคือยุสริล อิห์ซา มาเฮนดรา

พรรคดาวเดือนเสี้ยว
Partai Bulan Bintang
ชื่อย่อPBB
ประธานยุซรี อิฮ์ซา มาเฮินดรา
เลขาธิการอัฟเรียนชะฮ์ นูร์
ก่อตั้ง17 July 1998; 25 ปีก่อน (17 July 1998)
ที่ทำการจาการ์ตาใต้ ประเทศอินโดนีเซีย
ฝ่ายเยาวชนCrescent Star Youth
Crescent Star Hizbullah Brigade (กำลังกึ่งทหาร โดยพฤตินัย)
ฝ่ายสตรีMuslimat Bulan Bintang (Crescent Star Muslim Women)
อุดมการณ์ปัญจศีล
ลัทธิอิสลาม[1]
ชาตินิยมทางศาสนา[2]
จุดยืนขวา
กลุ่มระดับชาติOnward Indonesia Coalition
สีเขียว
หมายเลขบัตรเลือกตั้ง19
สภาผู้แทนราษฎร
0 / 575
สภาผู้แทนราษฎรประจำจังหวัด
8 / 2,207
เว็บไซต์
https://www.partaibulanbintang.or.id/
การเมืองอินโดนีเซีย
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

พรรคนี้เข้าร่วมการเลือกตั้ง พ.ศ. 2542 ได้คะแนน 1.9% และได้ 13 ที่นั่ง ยุสริลได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ต่อมาเกิดความขัดแย้งภายในพรรค ฮาร์โตโน มาร์โยโนได้แยกออกไปตั้งพรรคอิสลามอินโดนีเซีย ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2547 พรรคมัสยูมีได้2.6 % และได้ 11 ที่นั่ง ส่วนในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2552 พรรคนี้ไม่ได้รับเลือกตั้ง

อ้างอิง แก้

  1. Sejarah Singkat ("Short History") PBB website, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 April 2014, สืบค้นเมื่อ 13 April 2014
  2. Al-Hamdi, Ridho. (2017). Moving towards a Normalised Path: Political Islam in Contemporary Indonesia. JURNAL STUDI PEMERINTAHAN (JOURNAL OF GOVERNMENT & POLITICS). Vol. 8 No. 1, February 2017. p.53, p.57, p.62.