ฝุ่นควันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พ.ศ. 2562

ฝุ่นควันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พ.ศ. 2562 เป็นวิกฤตด้านมลภาวะทางอากาศข้ามชาติที่มีผลต่อหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ไทย บรูไน ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย เวียดนาม สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย

ฝุ่นควันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พ.ศ. 2562
ภาพถ่ายดาวเทียมของนาซาแสดงขอบเขตของฝุ่นควันในเกาะบอร์เนียว ณ วันที่ 15 กันยายน 2562
ระยะเวลากุมภาพันธ์–พฤษภาคม 2562 (ไทย)
มิถุนายน–กันยายน 2562 (ประเทศอื่น)
ที่ตั้ง ไทย
 บรูไน
 ฟิลิปปินส์
 มาเลเซีย
 เวียดนาม
 สิงคโปร์
 อินโดนีเซีย
เสียชีวิตอินโดนีเซีย:
2 คนเนื่องจากติดเชื้อทางเดินหายใจ
จับอินโดนีเซีย:
230 คนฐานต้องสงสัยว่าเกี่ยวข้องกับการเผาป่า[1]

ประเทศไทยเริ่มประสบฝุ่นควันในเดือนกุมภาพันธ์จนถึงเดือนพฤษภาคม ต่อมา ตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคม ประเทศอินโดนีเซียเริ่มได้รับผลกระทบจากฝุ่นควันเช่นกัน มาเลเซียได้รับผลกระทบตั้งแต่เดือนสิงหาคม ส่วนสิงคโปร์ บรูไน และเวียดนามประสบฝุ่นควันในเดือนกันยายน

ปัญหาฝุ่นควันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นปัญหาเรื้อรังที่มีความรุนแรงต่าง ๆ กันในทุกฤดูแล้งในภูมิภาค ส่วนใหญ่เกิดจากไฟป่าที่เกิดจากการทำไร่เลื่อนลอยเพื่อถางพื้นที่สำหรับอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม ซึ่งอยู่บนเกาะสุมาตราและบอร์เนียวของอินโดนีเซียเป็นหลัก แล้วมีการกระจายอย่างรวดเร็วในฤดูแล้ง และกินเวลานานขึ้นจากการก่อพายุไต้ฝุ่นฟรานซิสโกในมหาสมุทรแปซิฟิก และระบบความกดอากาศต่ำที่ก่อตัวขึ้นในทะเลจีนใต้และมหาสมุทรแปซิฟิก[2]

ในวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 กรุงเทพมหานครได้รับการจัดอันดับเป็นอันดับที่ 5 ของเมืองที่มีสภาพอากาศเลวร้ายที่สุดในโลก โดยสภาพอากาศเป็นพิษเกินมาตรฐาน[3]

เบื้องหลังและสาเหตุ

แก้

จุดความร้อนส่วนใหญ่สำหรับประเทศทางเหนือของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ไทย พม่า กัมพูชา ลาว เวียดนาม และฟิลิปปินส์) เกิดตั้งแต่เดือนมกราคมถึงพฤษภาคม 2562 โดยเฉพาะอย่างยิ่งเดือนมีนาคมและเมษายน[4] เกิดอัคคีภัยในพื้นที่ป่าในภาคเหนือของประเทศไทย และพื้นที่เกษตรในป่าพรุควนเคร็งในจังหวัดนครศรีธรรมราชในภาคใต้ของประเทศ[5][6]

ฝุ่นควันข้ามพรมแดนในประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย และสิงคโปร์เกิดขึ้นแทบทุกปีอันเนื่องจากไฟป่าในอินโดนีเซีย ซึ่งมีการเผาป่าเพื่อถางพื้นที่สำหรับไร่ใหญ่น้ำมันปาล์ม และผู้รับจ้างช่วงรายย่อยเป็นผู้เริ่มจุดไฟโดยตรง[7] ในปี 2562 มีไฟป่าในเกาะสุมาตราและบอร์เนียวในอินโดนีเซีย[8] ทั้งสองเกาะมีพื้นที่พรุกว้างใหญ่ ซึ่งเผาไหม้ได้ง่ายระหว่างฤดูแล้ง พีต ซึ่งประกอบขึ้นจากชั้นพืชและสารอินทรีย์อื่นที่ตายแล้ว ทำให้เกิดการปล่อยคาร์บอนมากเพราะสารมีความหนาแน่นสูงและปริมาณคาร์บอนสูง[9]

จากข้อมูลของศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษอาเซียน จุดความร้อนส่วนใหญ่สำหรับอินโดนีเซียและมาเลเซียเกิดในเดือนสิงหาคมและกันยายน 2562[10] ณ เดือนกันยายน 2562 ประเทศอินโดนีเซียมีจุดความร้อนรวมกว่า 20,000 จุดในปี 2562 ส่วนประเทศมาเลเซียมีจุดความร้อนกว่า 2,000 จุด[11]

อ้างอิง

แก้
  1. "Indonesian police arrest hundreds linked to forest fires". The Star. 19 September 2019. สืบค้นเมื่อ 19 September 2019.
  2. Shagun Kapil (19 September 2019). "Southeast Asia enveloped in haze". Down to Earth. สืบค้นเมื่อ 26 September 2019.
  3. กทม.ติดท็อป 5 โลก ฝุ่น PM 2.5 เกินมาตรฐาน
  4. "Monthly Hotspot Count for Year 2019 - North ASEAN". Asean Specialised Meteorological Centre. 17 September 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-01-08. สืบค้นเมื่อ 17 September 2019.
  5. "Thailand's North choking on toxic haze from fires". The Straits Times. 12 March 2019. สืบค้นเมื่อ 23 August 2019.
  6. Asaree Thaitrakulpanich (22 August 2019). "Weeks of Fire Destroyed Almost 14,500 Rai of Forest and Farms in Southern Thailand". Khaosod English. สืบค้นเมื่อ 23 August 2019.
  7. Lamb, Kate (6 November 2015). "Illegally planted palm oil already growing on burnt land in Indonesia". สืบค้นเมื่อ 29 September 2019.
  8. Linda Yulisman (14 August 2019). "Indonesia steps up fight against fires as hot spots increase". The Straits Times. สืบค้นเมื่อ 23 August 2019.
  9. Cris, R., Buckmaster, S., Bain, C. and Reed, M. (2014). "Peatlands and Climate Change". IUCN. สืบค้นเมื่อ 26 September 2019.{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  10. "Monthly Hotspot Count for Year 2019 - South ASEAN". Asean Specialised Meteorological Centre. 17 September 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-01-08. สืบค้นเมื่อ 17 September 2019.
  11. "Annual Hotspot Count (2019-2019) - South ASEAN". Asean Specialised Meteorological Centre. 17 September 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-01-08. สืบค้นเมื่อ 17 September 2019.