สภาพเศรษฐกิจ สหพันธรัฐรัสเซียภายหลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต

รัสเซีย คือหนึ่งในประเทศที่มีสภาพเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับต้น ๆ ของโลกในช่วงเวลาหลังจากที่สหภาพโซเวียตได้ล่มสลายลงนั้นนั้น ประเทศรัสเซียมีสภาพเศรฐกิจหลากหลายรูปแบบมากในช่วงเวลาดังกล่าว

สภาพทางเศรษฐกิจของ รัสเซีย นั้นได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการความไม่มั่นคงหลังล่มสลาย คอรับชั่นที่รุนแรง สงครามเย็น ราคาน้ำมันที่ผันผวน การแทรกแซงทางเศรษฐกิจและคว่ำบาตรจากนานาประเทศจากการที่ รัสเซียนั้นเข้าไปโจมตีแคว้นไครเมียของประเทศ ยูเครน ในช่วงเวลาที่ผ่านมานั้น สามารถกล่าวได้ว่าประเทศ รัสเซีย ภายหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียตนั้นเส้นทางอาจไม่ได้โรยไว้ด้วยกลีบกุหลาบแต่ท้ายที่สุดแล้วก็ฟื้นตัวขึ้นมาได้ขึ้นเรื่อย ๆ

ประวัติเบื้องต้นของ สหพันธรัฐรัสเซีย[1]

แก้

ข้อมูลทั่วไป

แก้

เมืองหลวง

แก้

กรุงมอสโก (Moscow)

พื้นที่

แก้

รัสเซีย มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 17,098,242 ตร.กม

ประชากร

แก้

มีประชากรประมาณ 143,975,923 คน

รูปแบบการปกครอง

แก้

สหพันธ์สาธารณะรัฐกึ่งประธานาธิบดี

ผู้นำหลังสหภาพโซเวียตล่มสลาย

แก้

นาย เยลต์ซิน เกิดวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1931 เป็นประธานาธิบดี คนแรกของรัสเซีย

นาย ปูติน เกิดเมื่อ วันที่ 7 ตุลาคม ค.ศ.1952 ณ เมือง เลนินกราด มีพี่น้อง 2 คน ในตอนเด็กมีชื่อเล่นว่า โววา จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเลนินกราด สาขานิติศาสตร์ เริ่มทำงานครั้งแรก กับการเป็นเจ้าหน้าที่สายลับให้กับองค์กร KGB นาย ปูตินมีบุตรสาว 2 คน ต่อมาเริ่มมีอำนาจทางการเมืองเมื่อได้รับความไว้วางใจจากนาย เยลต์ซิน เป็นต้นมา [2]

สภาพเศรษฐกิจหลังโซเวียตล่มสลาย

แก้

การก้าวขึ้นมามีอำนาจของเยลต์ซิน

แก้

[3] จากการล่มสลายของสหภาพโซเวียตนั้น ในยุคนั้นมีผู้นำคือนาย เยลต์ซิน (บอริส เยลต์ซิน) เป็นประธานาธิบดีคนแรกของสหพันธรัฐรัสเซีย โดยในวันที่ 2 มกราคม ค.ศ.1992 รัฐบาลได้ประกาสลอยตัวราคาสินค้า กว่าร้อยละ90 ทั้งยังยกเลิกเงินสนับสนุนอุตสาหกรรมและรัฐวิสาหกิจที่ดูแล้วว่าไม่มีประสิทธิภาพในการทำงานลง การวางแผนเช่นนี้นั้นก็เพื่อ ปล่อยให้ระบบเศรฐกิจนั้นขยับตามแบบเสรีนิยม มีการตัดงบด้านการทหารลงมามากเพื่อนำเงินไปบริหารด้านอื่น มีการกำหนดมาตรการเพิ่มภาษีมากขึ้น แต่กับทำให้ราคาข้าวของนั้นมีราคาพุ่งขึ้นเป็นอย่างมากให้ประชาชนทั่วไปมีฐานะยากจนมาก ต่อมาได้มีการเรียกร้องให้มีการควบคุมราคาสินค้าให้ค่อยเป็นค่อยไป เพื่อปกป้องคุ้มครองสิทธิผลประโยชน์ของประชาชนทุกคน ต่อมาในเดือน มกราคม 1993 ได้มีการเริ่มนโยบายควบคุมราคาและตรึงราคาสินค้า แต่ภาวะเงินเฟ้อเองก้ยังคงพุ่งสูงต่อไปเรื่อย ๆ ตลอดปี ค.ศ.1993 และไม่มีท่าทางที่จะลดลงโดยง่าย หลังการเลือกตั้งคผู้แทนรัฐสภาในเดือน ธันวาคม ค.ศ. 1993 รัฐหันมาดำเนินนโยบายยกเลิกระบบควบคุมสินค้าที่มีอยู่ทั้งหมด ยกเลิกการผูกขาดด้านพลังงานและการเกษตร รวมจนถึงการยกเลิกการควบคุมการทำธุรกรรมระหว่างประเทศ แต่สภาพเศรษฐกิจนั้นก็ยังไม่ดีขึ้นมากนัก

สมัยที่ 2 ของเยลต์ซิน

แก้

เยลต์ซินได้เป็น ประธานาธิบดีสมัยที่สองระหว่าง ค.ศ.1996-1999 โดยเยลต์ซินได้มุ่งนำพาประเทศเข้าสู่ระบบตลาดเสรี รวมทั้งควบคุมเงินเฟ้อเพื่อรักษาค่าเงินของตนเองให้มั่นคง แต่ก็ยังมีปัญหาจากการขาดแคลนเงินลงทุนจากภายนอก ตลอดจนภาวะราคาน้ำมันที่ราคาลดต่ำลงมา ทำให้รัฐบาลต้องทำการกู้เงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือ IMF และได้มีการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ คือ นายเยฟเกนี ปรีมาคอฟ ซึ่งนายปรีมาครอฟนั้นก็ได้วางนโยบายด้วยการลดการสั่งซื้อจากต่างประเทศ ควมคุมการไหลของเงินต่างทำให้เงินเฟ้อลดลงและเศรษฐกิจรัสเซียมีความกระเตื้องขึ้นมาบ้าง ต่อมาราคาน้ำมันโลกได้ปรับราคาสูงขึ้นพร้อมกับทั้งประชาชนนั้นหันมาจับจ่ายซื้อขายสินค้าภายในประเทศทำให้เงินหมุนเวียนมากขึ้น ทำให้อุตสาหกรรมภายในประเทศขยายตัวอย่างมาก

หมากตัวต่อไปที่มีชื่อว่า ปูติน

แก้

[4] เนื่องจากที่นาย เยลต์ซิน มีอาการป่วยและจะหมดวาระดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีในปี ค.ศ.2000 ทำให้นาย เยลต์ซิน ต้องหาผู้สืบทอดตำแหน่งของตนและเนื่องจากต้องการบุคคลที่ซื่อสัตย์กับตนนั้นเพื่อที่จะไม่ให้มีใครมาดำเนินคดีย้อนหลังกับตนเกี่ยวกับการคอร์รัปชั่นที่ตนทำไว้สมัยที่ตนเป็นประธานาธิบดี ทำให้นาย ปูติน (วลาดีมีร์ ปูติน) ได้ถูกรับเลือกขึ้นมาให้เป็นตัวแทนในการลงสมัครประธานาธิบดีแทนนาย เยลต์ซินที่จะหมดวาระลงและไม่สามรถที่จะเป็นต่อเนื่องได้ เนื่องจากเป็ยนประธานาธิบดีครบสองสมัยแล้ว ซึ่งเป็นไปตามที่นาย เยลต์ซินคาด คือ นาย ปูติน ชนะไปในคะแนนเสียงร้อยละ53 ทำให้นายปูตินกลายเป็นประธานาธิบดีคนที่ 2 ของรัสเซียต่อจากนาย เยลต์ซิน โดยในปี ค.ศ.2002 ปูตินยังเปิดโอกาศให้ประชาชน ได้มีโอกาสในการฝากเงินในธนาคารต่างประเทศได้ ต่อมาสมาพันธ์ยุโรป(European Union - UN)และ สหรัฐอเมริกาได้ยอมรับสถานภาพทางเศรษฐกิจของรัสเซีย ทำให้รัสเซียสามารถส่งบริษัทต่าง ๆ ไปค้าขายยังตะวันตกได้ดีมากยิ่งขึ้นและเป็นการเพิ่มโอกาสให้รัสเซียสู่การเข้าเป็นสมาชิกองค์กรการค้าโลก (World Trade Organization - WTO) ซึ่งจะทำให้รัสเซียมีการพัฒนาทางเศรษฐกิจได้มากยิ่งขึ้น ในปีเดียวกัน รัสเซียก็ยังได้เข้าประชุม G-8 โดยในการประชุมครั้งนั้นสมาชิกในกลุ่มก็ได้สัญาญาที่จะให้เงิน 20,000ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อช่วยรัสเซียทำลายอาวุธที่มีอยู่ตามข้อสัญญาที่จะไม่สะสมอาวุธร้ายแรง

เมื่อรัสเซียเจอการคว่ำบาตรและเจอพิษราคาน้ำมัน

แก้

ภายในปี ค.ศ.2015 รัสเซียต้องเจอพิษราคาน้ำมันตกต่ำ ซึ่งรัสเซียได้ส่งออกน้ำมันเป็นหลักทำให้รัสเซียขาดรายได้ไปอย่างมหาศาลรวมไปถึงการถูกคว่ำบาตรจาก สหรัฐอเมริกา และ สหภาพยุโรป จากการที่รัสเซียถูกกล่าวหาว่าให้การสนับกบฏฝักใฝ่รัสเซียในประเทศยูเครน ทำให้รัสเซียประสมปัญหาทางการเงินและขาดแคลนทรัพยากรที่จำเป็นบางอย่าง

เมื่อมีสัญญาณว่าเศรษฐกิจรัสเซียกำลังฟื้นตัวขึ้น [5]

แก้

จากการที่เศรษฐกิจรัสเซียโดนคว่ำบาตรและราคาน้ำมันตกต่ำ ได้มีคนเข้ามาช่วยเหลือรัสเซีย คือ จีน เนื่องจากจีนได้ตั้งโครงการถ่ายโอนสับเปลี่ยนเงินกับรัสเซียเป็นมูลค่า 2.4หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อพยุงเศรษฐกิจรัสเซียและเมื่อราคาน้ำมันได้ปรับตัวสูงขึ้นก็ได้ทำให้เศรฐกิจรัสเซียได้ปรับตัวขึ้นมาได้อีกครั้งหนึ่ง

  1. https://th.m.wikipedia.org/wiki/ประเทศรัสเซีย
  2. อนันต์ชัย เลาะหะพันธุ, และ สัญชัย สุวังบุตร. (2550).รัสเซียสมัยซาร์และสังคมนิยม.กรุงเทพฯ: สักดิโสภาการพิมพ์.
  3. กุลธิดา บุณยะกุล-ดับนากิ้น.(2553).ประธานาธิบดี วลาดิมเมียร์ ปูติน:บุรุษเหล็กรัสเซีย.นกฮูก พับลิชชิง:ภาพพิมพ์.
  4. มานะ ผุยเจริญ.(2544).รัสเซียยุค ปูติน.ศูนย์การศึกษาระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
  5. http://www.thairath.co.th/content/614697 ทำไมรัสเซียไม่ล้ม?