ผู้ใช้:Veeraphum/ทดลองเขียน

วัดศรีสุดารามวรมหาวิหาร
ชื่อสามัญวัดศรีสุดารามวรมหาวิหาร
ที่ตั้งตั้งอยู่เลขที่ ๘๓ ริมคลองบางกอกน้อยฝั่งตะวันตก แขวงบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร https://map.longdo.com/p/A00084771
ประเภทวัดฝ่ายคามวาสี
นิกายเถรวาท มหานิกาย
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

ประวัติวัดศรีสุดารามวรมหาวิหาร

แก้

วัดศรีสุดาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่เลขที่ ๘๓ ริมคลองบางกอกน้อยฝั่งตะวันตก แขวงบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร เดิมมีชื่อว่า วัดชีปะขาวหรือวัดชีผ้าขาว สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นราวสมัยกรุงศรีอยุธยา

อาณาเขต

แก้

ทิศเหนือ ติดต่อกับคลองวัดศรีสุดาราม

ทิศใต้ ติดต่อกับคูสาธารณประโยชน์

ทิศตะวันออก ติดต่อกับคลองบางกอกนน้อย

ทิศตะวันตก ติดต่อกับที่เอกชน

ประวัติความเป็นมา

แก้
   สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๒๗ แห่งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีขึ้นครองสิริราชสมบัติปี พ.ศ.๒๑๙๙ แห่งราชวงศ์ปราสาททอง ในปี พ.ศ. ๒๒๒๙ ได้ส่ง พระวิสุทธสุนทร ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน)ได้ไปเป็นราชทูตเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับฝรั่งเศส เข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ ที่ ๑๔พระราชวังแวร์ซายด์ ในการนี้อาจารย์ชีปะขาวได้ร่วมเดินทางไปด้วยซึ่งพระวิสุทธสุนทร ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) เป็นที่เคารพนับถือเพราะอาจารย์ชีปะขาวได้มีวิชาด้านไสยเวทย์และไสยศาสตร์ หลังจากกลับจากฝรั่งเศส เป็นปลายรัชสมัยแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช  พ.ศ ๒๒๓๐ สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงประชวรเสด็จสวรรคตปี พ.ศ. ๒๒๓๑ รวมครองสิริราชสมบัติได้ ๓๒ ปี ต้นสมัยสมเด็จพระเพทราชา พระมหากษัตริย์ องค์ที่ ๒๘ แห่งกรุงศรีอยุธยาพระอาจารย์ชีปะขาวได้บอกลา เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) ให้บรรดาสานุศิษย์นำไปส่งที่คลองบางกอกน้อยได้พักอาศัยอยู่ที่ริมคลองบางกอกน้อย อยู่มาวันหนึ่งก็ได้หายตัวไปบรรดาสานุศิษย์ได้กลับไปเรียนให้เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) ทรงทราบเจ้าพระยาโกษาธิบดีจึงมอบทรัพย์สินจำนวนหนึ่งให้ไปสร้างวัด ให้ชื่อว่า วัดชีปะขาว เมื่อปี พ.ศ.๒๒๓๒ ซึ่งปรากฏตามหลักฐานการสร้างวัดชีปะขาว ปลายรัชสมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นต้นมา นับได้ว่าวัดชีปะขาวริมคลองบางกอกน้อยปัจจุบันคือ แขวงบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ได้สร้างโดยเจ้าพระยาโกษาธิบดี ตามประวัติ เจ้าพระยาโกษาธิบดี
   ประวัติศาสตร์ของวัดศรีสุดารามมีหลักฐานชัดเจนมากขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ด้วยปรากฏความในพระราชพงศาวดาร ว่าสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์สมเด็จพระพี่นางในรัชกาลที่ ๑ ทรงกรุณาโปรดเกล้าให้บูรณปฏิสังขรณ์และสถาปนาวัดขึ้นใหม่ 
   ครั้นล่วงมาน้ำได้เซาะตลิ่งพังเข้ามาจนถึงหน้าพระอุโบสถ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาขุนมนตรีเป็นแม่กองสร้างพระอุโบสถขึ้นใหม่โดยเลื่อนขึ้นจากที่เดิม ทรงโปรดให้เจ้าพนักงานปักกำหนดเขตรอบโรงพระอุโบสถลงใหม่ใช้แทนวิสุงคามสีมาเดิม โดยให้มีความยาว ๑๕ วา กว้าง ๗ วา แล้วโปรดให้ลงเขื่อนหน้าวัด เพื่อป้องกันน้ำเซาะตลิ่งจนเป็นผลสำเร็จ ครั้นการทุกอย่างเสร็จเรียบร้อยแล้ว ได้พระราชทานนามวัดใหม่ว่า วัดศรีสุดาราม ยกขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ทั้งนี้เพื่อเป็นอนุสรณ์ในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ ซึ่งเป็นสมเด็จพระราชอัยยิกาเจ้าของพระองค์ ทรงสถาปนาพระราชทานไว้ตั้งแต่วันจันทร์ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีเถาะ นพศกพุทธศักราช ๒๔๑๐ เป็นปีที่ ๑๕ ในรัชกาล (ปลายรัชกาล) ตามพระราชโองการพระราชทานวิสุงคามสีมา ซึ่งมีหลักฐานอยู่ในพระอุโบสถ (พระอุโบสถหลังเก่าปรากฏเป็นวิหาร อยู่หน้าพระอุโบสถปัจจุบัน)

ปูชนียวัตถุ ถาวรวัตถุและเสนาสนะต่างๆ

แก้

พระอุโบสถ

แก้
   เป็นอาคารขนาด ๕ ห้อง กว้างยาวประมาณ ๘x๑๔ เมตร ด้านหุ้มกลองต่อเป็นเฉลียงกว้างประมาณ ๔.๒ เมตร หลังคาทำเป็นมุขลดหน้า-หลัง แต่ละมุขซ้อนกัน ๓ ตับ ชายคาตับสุดท้ายตั้งทวยรับชายคา มีครื่องประกอบหลังคาแบบอย่างไทยประเพณี คือ ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ หน้าบันทำปูนปั้นปิดทองประดับกระจกรูปเทพพนม มีลายประกอบประเภทลายช่อก้านขดรูปตัวสัตว์หิมพานต์ ใต้หน้าบันไดไม่ทำปีกนกถือประดับสาหร่ายรวงผึ้งแต่กับต่อเป็นผนังลงมาจรดกับเสาเฉลียง ซึ่งเป็นเสาสี่เหลี่ยมที่ไม่ทำบัวหัวเสาและบัวเชิงเสาประดับทำเพียงหน้ากำแพงกรุหลังกระเบื้องเคลือบสีด้านโดยรอบมีบันไดขึ้นทางด้านข้างทั้งสองข้างปลายพนัสบันไดทำหัวเม็ดทรงมัณฑ์ ฐานรับพระอุโบสถเป็นแบบฐานสิงห์บัวลูกแก้ว ตัวพระอุโบสถทำประตูทางเข้าด้านกลองด้านละ ๒ ช่องแต่ละช่องทำซุ้มประตูทรงบันแถลง เช่นเดียวกับหน้าต่างหน้าบันไดบันแถลงรูปเทพพนมอยู่กลางลายเครือเถา  สำหรับภายในพระอุโบสถตอนท้ายอาคารมีพระพุทธรูปประทับนั่งขัดสมาธิปางพิจารณาชราธรรม เป็นประธานพระหัตถ์ซ้ายขวาวางลงบนพระชานุแต่ละข้างเบื้องหน้า มีพระสาวกนั่งพนมมือเรียงรายรวม ๘ องค์ส่วนผนังนั้นปัจจุบันเขียนภาพแนวสมัยใหม่มีรูปซุ้มเรือนแก้วหลังพระประธานตอนบนเป็นภาพเทวดาเหาะ
   สำหรับซุ้มหน้าต่างของพระอุโบสถเป็นไปตามประเพณีนิยมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวคือซุ้มทรงบันแถลง เป็นซุ้มหน้าต่างที่ตอนบนทำเป็นรูปโค้งแหลมทรงกลีบบัวขนาดเล็กทำนองจั่วหรือหน้าบันของบ้านเรือน กรอบจัวทำเป็นเครื่องลำยองมีหน้าบันประดับลายอาจมีหรือไม่มีลายประธานที่เป็นเครื่องหมายแทนพระองค์
   ส่วนเสมาใช้แบบเสมานั่งแท่นที่มีซุ้มทรงกูบครอบ ตัวเสมาทำเป็นใบที่เอวทำเป็นลูกนาคเศียรเดียว ขอบเสมาจิกเป็นรอยหยักตอนบนรวบเป็นปมแหลมสาบกลางไม่มีแต่ทำเป็นลายอุบะจากบัวคอเสื้อ

พระวิหาร

แก้

เดิมใช้เป็นพระอุโบสถหลังเก่าต่อมาดัดแปลงเป็นพระวิหาร มีลักษณะเป็นแปดเหลี่ยมเป็นอาคารทรงไทย ก่ออิฐถือปูนขนาดกว้าง ๕.๐๖ เมตร ยาว ๗.๒๓ เมตร หลังคาไม่มีช่อฟ้า ใบระกาบริเวณหน้าบันด้านหน้าตัวอาคารเป็นลายปูนปั้นรูปปิ่นบนพานสองชั้น พระวิหารหลังนี้ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าของพระอุโบสถ ปัจจุบันเดิมเคยใช้เป็นพระอุโบสถมาก่อนที่จะมีการสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ พระบาทสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส โปรดให้สร้างขึ้นแทนพระวิหารหลังเดิมที่รื้อถอนออกไป ภายในพระวิหารเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย และพระพุทธรูปทรงเครื่องที่มีลักษณะพุทธศิลป์แบบรัตนโกสินทร์ตอนต้นหลายองค์

ศาลาการเปรียญ

แก้
   เดิมสร้างเป็นอาคารไม้ทรงไทยขนาดกว้าง ๑๔ เมตร ยาว ๒๗ เมตร ใต้ถุนเตี้ยมีบันไดทางขึ้นเพียง ๓ ขั้น หลังคามุงกระเบื้อง ประดับช่อฟ้า ใบระกา และหางหงส์ บานประตูหน้าต่างมีภาพจิตรกรรมรูปทวารบาล แบบศิลปะจีนปรากฏอยู่สันนิษฐานว่าสร้างมาตั้งแต่ครั้งสมัยอยุธยา แต่เดิมใช้เป็นที่เรียนหนังสือไทยของกุลบุตรกุลธิดาทั่วไป ต่อมาได้มีการต่อเติมบริเวณด้านล่างด้วยการยกพื้นอาคารให้สูงขึ้นแล้วก่อผนังคอนกรีตเพื่อดัดแปลงเป็นห้องประชุม และใช้เป็นศาลาเอนกประสงค์ของวัดปัจจุบันศาลาการเปรียญจึงมีลักษณะเป็นอาคารครึ่งปูนครึ่งไม้

ตำหนักแดง

แก้
   เป็นเรือนไทยชั้นเดียวเดิมสร้างขึ้นเป็นตำหนักที่ประทับ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ พระเจ้าพี่นางเธอ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ในระหว่างที่เสด็จมาบำเพ็ญพระราชกุศลที่วัดแห่งนี้ ตั้งติดอยู่กับศาลาการเปรียญปัจจุบันได้ใช้เป็นกุฏิเจ้าอาวาส

วิหารพระศรีอาริย์ หรือหอไตร

แก้
   เป็นอาคารทรงไทยก่ออิฐถือปูนมีขนาดกว้าง ๕.๑๐ เมตร ยาว ๘.๘๐ เมต รหลังคาไม่มีช่อฟ้าใบระกาหางหงส์ หน้าบันทางด้านหน้าและด้านหลังของวิหารเป็นลายปูนปั้นรูปดอกพุดตาน มีประตูทางเข้าเพียงด้านเดียวที่บานประตูทั้ง ๒ บาน มีภาพเขียนรูปทวารบาลปรากฏอยู่ ภายในวิหารประดิษฐานองค์พระศรีอริย์ หล่อด้วยทองสำริดขนาดหน้าตัก ๒ ศอก ประทับนั่งขัดสมาธิราบ พระหัตถ์ขวาวางบนพระเพลา พระหัตถ์ซ้ายถือพัด ซึ่งมีลักษณะขายตาลปัตรแต่มีด้ามจับสั้น บริเวณผนังภายในวิหารมีจิตรกรรมฝาผนังเล่าเรื่องพุทธประวัติตอนพระพุทธเจ้าผจญมาร และจิตรกรรมประเพณี ๑๒ เดือน

วิหารสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี

แก้
   เป็นอาคารทรงไทยก่ออิฐถือปูนหลังคาประดับช่อฟ้าใบระกาหางหงส์ ตั้งอยู่บริเวณด้านข้างทางทิศใต้ของพระอุโบสถ สันนิษฐานกันว่าสร้างขึ้นพร้อมกับวิหารพระศรีอาริย์ ด้านหน้าของวิหารมีประตูทางเข้าอยู่ ๒ ทาง ด้านซ้ายกับด้านขวาภายในวิหารมีรูปหล่อโลหะสำริดของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ขนาดหน้าตัก ๒๙ นิ้ว ประดิษฐานบนฐานสี่เหลี่ยมติดผนังด้านในของวิหาร 

สมเด็จพระพุฒาจารย์ โตพรหมรังสี องค์ใหญ่

แก้
   สร้างขึ้นเพื่อเป็นรูปจำลองเท่าขนาดจริงเพื่อเป็นต้นแบบในการหล่อโลหะสร้างรูปหล่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) องค์ใหญ่ที่สุดในโลกสำหรับนำไปประดิษฐานที่ วัดโนนกุ่ม อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา เพื่อดำเนินการสร้างโดย สรพงษ์ ชาตรี ศิลปินนักแสดง ที่มีจิตศรัทธาจะสร้างเป็นอนุสรณ์สถาน สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) รูปจำลองนี้ทำด้วยโฟมเป็นวัสดุหลักในลักษณะการนั่งสมาธิภาวนา มือทั้งสองข้างยกขึ้นระดับอกในลักษณะกำมืออย่างหลวมๆ มีขนาดหน้าตักกว้าง ๘.๑ เมตร สูง ๑๓ เมตร ทาทับด้วยสีทองทั้งองค์เมื่อสร้างรูปหล่อโลหะเสร็จแล้วจึงมีการทำลายรูปจำลองต้นแบบองค์นี้ทิ้ง พระเทพประสิทธิมนต์ (พระราชพิพัฒน์โกศล ในขณะนั้น) เจ้าอาวาสวัดเห็นว่าไม่เป็นการสมควรจึงได้ขอรูปต้นแบบองค์นี้ไว้ ให้พุทธศาสนิกชนได้เคารพบูชาปัจจุบันรูปจำลองต้นแบบสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) สร้างประดิษฐานอยู่บริเวณลานวัดใกล้ๆกับศาลาการเปรียญ

พระราชานุสาวรีย์ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์

แก้
   องค์บูรณะปฏิสังขรณ์พระอารามพระราชานุสาวรีย์ หล่อด้วยโลหะเป็นพระรูป สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ ขนาด ๒ เท่า ของพระองค์จริงประทับบนพระเก้าอี้ ฉลองพระองค์ด้วยผ้าฝ้ายกลายทองห่มสไบเฉียงปักด้วยผ้าปัก พระหัตถ์ทั้งสองข้างวางบนพระเพลา ข้างพระหัตถ์ทางด้านขวามีโต๊ะสำหรับวางเครื่องพาน พระศรีพระราชานุสาวรีย์ ประดิษฐานอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมบริเวณฝั่งตรงข้ามถนนด้านข้างของพระอุโบสถทางทิศเหนือใกล้ๆกับวิหารพระศรีอาริย์

อนุสาวรีย์สุนทรภู่

แก้
   สร้างขึ้นเป็นอนุสรณ์สถานแก่พระสุนทรโวหาร (ภู่) กวีเอกแห่งแผ่นดินสยามและกวีเอกของโลก ซึ่งได้เคยมาศึกษาเล่าเรียนเขียนอ่านอยู่ที่วัดนี้เมื่อครั้งยังเยาว์วัย จึงสร้างเป็นรูปหล่อโลหะสุนทรภู่ตอนเป็นเด็กขนาด ๒ เท่า ของตัวจริงในลักษณะเด็กชายสมัยโบราณไว้จุกนั่งพับเพียบหันหน้าไปทางคลองบางกอกน้อย ในมือถือกระดานชนวนอีกข้างหนึ่งถือดินสอ รูปหล่อดังกล่าวตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมสูง ๒.๕๐ เมตร ซึ่งจะอยู่ด้านหลังของลูกสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) องค์ใหญ่

ศาลาวิจิตร รัตนศิริวิไลย

แก้
   สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปประจำพระชนมวาร

รายนามเจ้าอาวาสตั้งแต่อดีต-ปัจจุบัน

แก้
  นับตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๑ เป็นต้นมา วัดศรีสุดารามวรวิหารได้รับการดูแลจากเจ้าอาววาสมาทุกยุคสมัยจนถึงปัจจุบัน ดังปรากฏนามเจ้าอาวาส ดังนี้

๑. พระครูธรรมวิจารณ์ (แก้ว) เล่ากันว่าเจ้าอาวาสรูปนี้เป็นอาจารย์สอนหนังสือสุนทรภู่

๒. พระครูธรรมวิจารณ์ (อิน) สมัยรัชกาลที่ ๕

๓. พระครูธรรมวิจารณ์ (โพ)

๔. พระครูธรรมวิจารณ์ (สุด)

๕. พระครูธรรมวิจารณ์ (แดง)

๖. พระครูธรรมวิจารณ์ (ชุ่ม ธมฺมทินฺนโก)

๗. พระครูญารสิริวัฒน์ (ทองห่อ ญาณสิริ) ป.ธ.๕

๘. พระเทพประสิทธิมนต์ (โกศล มหาวีโร)

อ้างอิง

แก้

หนังสือ พระกฐินพระราชทาน ณ วัดศรีสุดารามวรวิหาร ๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ จดหมายเหตุรัชกาลที่ ๓ เล่ม ๑.กรุงเทพฯ:หอสมุดแห่งชาติ,๒๕๓๐ ดำรงราชานุภาพ,มสเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. ชีวิตและงานของสุนทรภู่.กรุงเทพฯ:บรรณาคาร,๒๕๑๙. ประวัติวัติทั่วราชอาณาจักร เล่ม ๒. กรุงเทพฯ:กรมการศาสนากระทรวงศึกษาธิการ,๒๕๒๕. วัดศรีสุดารามวรวิหาร. พิมพ์เนื่องในวโรกาสเข้ารับพระราชทาน ปริญญาบัตร - พัดเปรียญธรรม ๙ ประโยค วัดศรีสุดารามวรวิหาร,กรุงเทพฯ : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,๒๕๔๐ สารบาญชี้ส่วนที่ ๑ คือ ตำแหน่งราชการ จ.ศ.๑๒๔๕ เล่มที่ ๑.(ฑ.ศ.๒๕๒๖).พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ:ต้นฉบับ,๒๕๔๑. สุจิตต์ วงศ์เทศ. สุนทรภู่เกิดวังหลัง ผู้ดี "บางกอก" มหากวีกระฎุมพี มีวิชารู้เท่าทันโลก. กรุงเทพฯ: ศิลปวัฒนธรรม,๒๕๔๗. สุจิตต์ วงศ์เทศ, (บรรณาธิการ). สุนทรภู่ : มหากวีกระฎุมพี. กรุงเทพฯ: เจ้าพระยา,๒๕๒๘