ผู้ใช้:The great emperror/กระบะทราย-อภิเษกสมรส

"อภิเษกสมรส"
ซิงเกิลโดยเพลิน พรหมแดน
จากอัลบั้มพระพุทธประวัติ
วางจำหน่ายค.ศ. 2013 (2013)
ความยาว3:58
ผู้ประพันธ์เพลงสมส่วน พรหมสว่าง
ลำดับซิงเกิลของเพลิน พรหมแดน
"วันแรกนาขวัญ"
(2013)
"อภิเษกสมรส"
(160)
"เทวทูตทั้ง 4"
(2013)

อภิเษกสมรส เป็นเพลงลำดับที่แปดของเพลงพระพุทธประวัติ ประพันธ์เนื้อเพลง/ เรียบเรียงโดย สมส่วน พรหมสว่าง ขับร้องโดย เพลิน พรหมแดน เพลงนี้มีเนื้อหากล่าวถึงการอภิเษกสมรส ระหว่างเจ้าชายสิทธัตะ กับ พระนางยโสธรา เพลงนี้มีความยาว 3 นาที 58 วินาที เป็นเพลงที่ความยาวเพลงสั้นที่สุดของเพลงชุด เพลงพระพุทธประวัติ - เพลิน พรหมแดน ชุดที่ 1 (ประสูติ)

เนื้อเพลง แก้

  • 16 ชันษา ที่ประสูติมาเจริญวัย

พระราชบิดาครวญใคร่ ให้พระสิทธัตถะนี้

ได้อภิเษก ซึ่งพระเทวี

อัครมเหสี ภูบดีจึงมีบัญชา

ให้สร้างเวียงวัง ปราสาท 3 หลังเร็วไว

3 ฤดูขึ้นใหม่ ประไพ โอฬารหนักหนา

เสร็จแล้วส่งข่าวสารไปว่า

ให้เหล่ากษัตริย์วงศา ถวายธิดาสกุลละองค์


แต่กษัตริย์ศากยะ ประยูรญาติ

ว่ามิอาจถวายธิดาได้ดังประสงค์

เพราะพระกุมารไร้วิทยาการ ศาสตร์ศิลป์สูงส่ง

ย่อมยอมรับไม่ลง ยังคงขัดข้องพระทัย

ด้วยเหตุนั้น พระกุมารจึงทรงแสดง

ศิลปศาสตร์อันชัดแจ้ง สำแดงแกร่งกล้าเกินใคร

เหล่ากษัตริย์ศากยะน้อยใหญ่

อัศจรรย์ยิ่งนักจึงได้ ยกพระธิดาถวายมิรอรี

บทบรรยาย แก้

บทบรรยาย : สมส่วน พรหมสว่าง

ผู้บรรยาย : เพลิน พรหมแดน (ผู้บรรยาย)

ครั้งนั้น เจ้าชายสิทธัตถะ ได้นำศิลปศาสตร์หลายประการมาแสดง ตลอดจนรับสั่งให้นายขมังธนูทั้งหลาย นำสหัสถามธนูมาถวาย แล้วได้ทรงแสดงศิลปศาสตร์เกี่ยวกับการใช้ธนูถึง 12 ประการ อันเป็นศิลปะที่ผู้อื่นหรือแม้แต่นายขมังธนูทั่วหล้า ก็ไม่สามารถแสดงการใช้ธนูเช่นนั้นได้ จนกษัตริย์ศากยราชทั้งมวล ต่างยินยอมน้อมรับ ในความสามารถอันล้ำเลิศยิ่งใหญ่ ซึ่งจะหาผู้ใดมาเสมอเหมือนมิได้ จึงต่างยินยอมพร้อมใจยกพระธิดาของแต่ละท่านมาถวายเป็นจำนวนมาก พระเจ้าสุทโธทนะ ทรงขอพระนางยโสธรา (หรือ พิมพา) มาอภิเษกเป็นพระชายาของเจ้าชายสิทธัตถะ และเสวยสุขอยู่บนปราสาททั้ง 3 ฤดูนั้น โดยมีดนตรีประโคมขับกล่อม แวดล้อมด้วยเหล่าดรุณีล้วนๆ ไม่มีบุรุษเจือปน บำเรอเปรอปรนทั้งราตรีทิวากาล จนกระทั่งพระชนมายุได้ 29 พรรษา[1]

ความหมาย และเนื้อหาของเพลง แก้

หลังจากนั้น พระราชบิดาได้ทรงแจ้งไปยังเหล่าพระญาติวงศ์ทั้งสองฝ่าย คือฝ่ายพระมารดา (โกลิยวงศ์) และฝ่ายพระบิดา (ศากยวงศ์) ให้จัดส่งพระราชธิดามาเพื่อคัดเลือกสตรีผู้สมควรจะอภิเษกสมรสกับเจ้าชาย

ทั้งนี้ เนื่องจากพระราชบิดาทรงต้องการจะผูกมัดพระราชโอรสให้เสด็จอยู่ครองราชสมบัติสืบต่อจากพระองค์มากกว่าที่จะให้เสด็จออกทรงผนวชดังที่มีพราหมณ์ได้ทำนายไว้เป็นสองคติ

อย่างไรก็ตาม บรรดาพระญาติทั้งหลายก็เห็นว่าเจ้าชายสิทธัตถะยังไม่เหมาะสม และคู่ควรที่จะอภิเษกพระธิดาของพระองค์แต่อย่างใด ดังนั้นจึงควรจะต้องแสดงความสามารถในศิลปศาสตร์ที่ทรงเล่าเรียนมา ให้เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาของเหล่าพระญาติเสียก่อน

เจ้าชายสิทธัตถะได้แสดงศิลปศาสตร์ด้านธนูอย่างยอดเยี่ยมจนทำให้พระญาติวงศ์ทั้งสองฝ่ายตกตะลึงงันในความสามารถของเจ้าชาย

เมื่อการแสดงของเจ้าชายสิ้นสุดลง พระญาติวงศ์ทั้งหลายจึงยอมถวายพระราชธิดา ซึ่งหนึ่งในนั้นมีพระนางยโสธราพิมพารวมอยู่ด้วยเพื่อคัดเลือกเป็นพระชายา

และเจ้าชายก็ทรงเลือกพระนางยโสธราพระองค์นี้เองเป็นพระชายาคู่พระทัย[2] และเสวยสุขอยู่บนปราสาททั้ง 3 ฤดูนั้น โดยมีดนตรีประโคมขับกล่อม แวดล้อมด้วยเหล่าดรุณีแรกรุ่นล้วนๆ ไม่มีผู้ชายเจือปน บำเรอเปรอปรนทั้งคืนวัน จนกระทั่งพระชนมายุของเจ้าชายสิทธัตถะนั้นได้ 29 พรรษา

เกร็ดความรู้ แก้

การแสดงสหัสถามธนู แก้

พระเจ้าสุทโธทนะได้อัญเชิญพระญาติวงศ์ทั้งฝั่งศากยวงศ์ และโกลิยวงศ์มาประชุมกันที่หน้าพระมณฑลพิธีที่ปลูกสร้างขึ้นใหม่ ณ ใจกลางเมือง เพื่อให้ทุกคนได้ชมการยิงธนูของเจ้าชายสิทธัตถะ

เริ่มการแสดงสหัสถามธนู เจ้าชายทรงยกธนูนั้นขึ้นได้แสนง่ายดาย สร้างความอัศจรรย์ใจให้กับหมู่พระประยูรญาติเป็นอย่างยิ่ง เพราะทุกคนรู้ดีว่าธนูนั้นไม่มีใครที่จะสามารถยกมันขึ้นได้แม้แต่คนเดียว

และก่อนหน้านี้ก็มีหลายคนที่พยายามจะยกมหาธนูนี้ขึ้น ทว่าก็ไม่เป็นผลสักครั้งเดียว และถึงแม้ว่าจะใช้คนเป็นร้อย หลายร้อยคนช่วยกันออกแรง แต่ก็ไม่สำเร็จ จนทุกคนเห็นแล้วต้องยอมแพ้ และถอดใจ ล้มเลิกความคิดไป

แต่สำหรับเจ้าชายสิทธัตถะได้ทำให้เหล่าพระญาติที่ประชุมกัน ณ ที่นั้นถึงกับพากันลุกขึ้นด้วยความตะลึงงันในพระกำลังของเจ้าชาย ที่พระชนมายุแค่ 16 พรรษา แต่สามารถยกคันมหาธนูขึ้นได้ง่ายดาย

ทันทีที่เจ้าชายทรงลองดีดสายธนูก่อนยิง เสียงของสายธนูนั้นก็ดังกระหึ่มไปทั้งกรุงกบิลพัสดุ์ จนชาวเมืองที่ไม่รู้และไม่ได้มาชมเจ้าชายทรงยิงธนู ต่างชวนกันออกมาดูกันเป็นการใหญ่ แต่ส่วนใหญ่แล้วจะมองไม่เห็นเพราะคนแน่นบริเวณ ถึงจะเบียดเสียดเข้าไปก็ไม่มีทางเข้า

ขนหางทรายจามรีที่วางไว้ในระยะ 1 โยชน์ ซึ่งเท่ากับ 18 กิโลเมตร คือเป้ายิงของเจ้าชายแห่งกรุงกบิลพัสดุ์ แต่อุปสรรคคือ เป้านี้อยู่ห่างไกล และมีขนาดเล็ก แต่ด้วยความสารมารถของเจ้าชายสิทธัตถะ เจ้าชายทรงยิงธนู ขาดตรงกลางพอดี

ทั้งนี้ เพราะเจ้าชายทรงมีพระเนตรอันผ่องใส พร้อมด้วยประสาททั้ง 5 อันบริสุทธิ์อันปราศจากมลทินนั่นเอง เรียกว่าสายพระเนตรดีเป็นเลิศกว่าคนธรรมดาทั่วไปก็ว่าได้

เมื่อการแสดงของเจ้าชายสิ้นสุดลง พระญาติวงศ์ทั้งหลายจึงยอมถวายพระราชธิดา ซึ่งหนึ่งในนั้นมีพระนางยโสธราพิมพารวมอยู่ด้วยเพื่อคัดเลือกเป็นพระชายา

และเจ้าชายก็ทรงเลือกพระนางยโสธราพระองค์นี้นั่นเองเป็นพระชายา[3][4][5]

พระสัพพัญญุตญาณ คืออะไร แก้

สพฺพ ( ทั้งปวง ) + ญูต ( รู้แล้ว ) + ญาณ ( ความรู้ ) = ความรู้ที่รู้แล้วในสิ่งทั้งปวง

โดยรวมหมายถึง พระปัญญาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งรู้ทุกสิ่งทุกอย่าง ที่พระองค์ทรงปรารถนาที่จะรู้ พระสัพพัญญุตญาณนี้ เกิดจากการสะสมอบรมมานานถึง 4 อสงไขยแสนมหากัป ซึ่งเมื่อตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็มาพร้อมกับอรหัตตมัคคญาณ ซึ่งพระสัพพัญญุตญาณ เป็นจิตที่เป็น กิริยาจิต ที่ประกอบด้วยปัญญา ซึ่งเกิดขึ้นได้ด้วยการเจริญอภิญญา[6]

คำศัพท์ควรรู้ แก้

  • ทัศนัง หมายถึง มอง (ความหมายเดียวกันกับ ทัศนา)
  • วิปฏิสาร (อ่านว่า วิ-ปะ-ติ-สาน) หมายถึง ความเดือดร้อน ความร้อนใจ(ภายหลังที่ได้กระทําผิด หรือเนื่องด้วยการกระทําผิด)[7]

อ้างอิง แก้