ผู้ใช้:Thanita Butsri/กระบะทราย

ระบบการปกครองท้องถิ่นของประเทศบรูไน

แก้

ข้อมูลทั่วไปของประเทศบรูไน

แก้

บรูไน (มลายู: Brunei) [1]หรือ เนการาบรูไนดารุสซาลาม (มลายู: Negara Brunei Darussalam) ประเทศบรูไนตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียวทางตะวันตกเฉียงเหนือในทะเลจีนใต้ ซึ่งอยู่ทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของ ประเทศไทย โดยบรูไนมีพื้นที่ 5,765 ตารางกิโลเมตร และมีอาณาเขตทางทิศเหนือและตะวันตกเฉียงเหนือติดทะเลจีนใต้ มีความยาวชายฝั่ง 161 กิโลเมตร อีกทั้งยังมีพรมแดนพื้นดินโดยรอบทางทิศตะวันออก ทิศใต้ และทิศตะวันตกติดกับรัฐซาราวะก์ สหพันธรัฐมาเลเซีย มีความยาว 381 กิโลเมตร[2]

 
ภูมิประเทศบรูไน

สภาพภูมิประเทศ

ลักษณะสภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบชายฝั่งทะเลและที่ราบหุบเขา ดินแดนทางตะวันออกมีลักษณะขรุขระและสูงกว่าตะวันตก มีพื้นที่ราบอยู่ทางเหนือของประเทศ และมีภูเขาที่สูงที่สุด คือ ภูเขาปากอน(Pagon) สูง 1,821 เมตรจากระดับน้ำทะเล มีแม่น้ำที่สำคัญ 4 สาย คือ แม่น้ำเต็มบูรง แม่น้ำเบอไลท์ แม่น้ำบรูไน และแม่น้ำตูตง


สภาพภูมิอากาศ

ประเทศบรูไนยังมีสภาพภูมิอากาศที่เป็นเขตร้อน มีอุณหภูมิและความชื้นสูงและฝนตกเกือบตลอดทั้งปี อุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ 23-32 องศาเซลเซียส ระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคมเป็นช่วงที่ฝนตกชุกที่สุด[3]

สภาพการเมืองการปกครอง

แก้

ระบอบการปกครอง

แก้
ประเทศบรูไนปกครองด้วย 2 ระบบ
 
สมเด็จพระราชาธิบดีฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาเลาะห์

สุลต่าน(Sultan) เป็นผู้ปกครองสูงสุด มีฐานะเป็นสมเด็จพระราชาธิบดี จึงทรงเป็นประมุขของรัฐ(Head of state) และทรงดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สภาที่ปรึกษามี 5 สภา ดังนี้

ก. สภาองมนตรี (Privy Council) มีหน้าที่ถวายคำแนะนำเกี่ยวกับการใช้พระราชอำนาจในการพระราชอภัยโทษภาตใต้บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ การให้เครื่องราชอิสริยาภรณ์และแต่งตั้งตำแหน่งอันทรงเกียรติของประเทศ การแต่งตั้งองคมนตรี นอกจากนั้นยังทำหน้าที่ในการประกาศแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการ และสามารถแก้ไขหรือเพิกถอนบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
ข. สภาแห่งการสืบสันตติวงศ์ (Council of Succession) มีหน้าที่ถวายคำแนะนำเกี่ยวกับการสืบทอดพระราชบัลลังก์
ค. สภาศาสนา (Religious Council) หรือสภาศาสนาอิสลามแห่งบรูไน (the Brunei Islamic Religious Council - BIRC) มีหน้าที่ถวายคำแนะนำเกี่ยวกับศาสนาอิสลาม และยังมีหน้าที่โดยตรงในการกำกับดูแลองค์กรต่างๆที่เกี่ยวข้องและดำเนินกิจกรรมทางศาสนาอิสลาม
ง. สภานิติบัญญัติ (Legislative Council) มีหน้าที่ถวายคำแนะนำเกี่ยวกฎหมาย
ฉ. สภาคณะรัฐมนตรี (Council of Ministers) มีหน้าที่ถวายคำแนะนำเกี่ยวกับการบริหารประเทศ[4]

รูปแบบรัฐ

แก้

การปกครองของประเทศบรูไนเป็นการปกครองในรูปแบบรัฐเดี่ยว เช่นเดียวกับประเทศไทยและหลายประเทศในประชาคมอาเซียน แตกต่างกันคือเป็นรัฐเดี่ยวแบบรวมศูนย์อำนาจ (Centralization) ในด้านการบริหารราชการแผ่นดิน[5] โดยจะมีการสั่งการตามสายบังคับบัญชา หรือเป็นลำดับชั้น

โครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดิน[6]

บรูไนมีการบริหารราชการแผ่นดินที่มีหน่วยการปกครอง 4 ระดับ คือ กระทรวง เขตการปกครอง (Daerah/District) ตำบล (Mukim) และหมู่บ้าน (Kampung)
  • กระทรวง

การบริหารราชการแผ่นดินส่วนกลาง ปัจจุบันมีกระทรวง 12 กระทรวง แต่ละกระทรวงมีหน่วยงาน (Department) ดำเนินงานของกระทรวง หน่วยงานราชการมีรวมกันทั้งสิน 98 หน่วยงาน กระทรวงทั้ง 12 กระทรวง ได้แก่

  • สำนักนายกรัฐมนตรี
  • กระทรวงกลาโหม
  • กระทรวงการคลัง
  • กระทรวงการต่างประเทศและการค้า
  • กระทรวงการพัฒนา
  • กระทรวงคมนาคม
  • กระทรวงมหาดไทย
  • กระทรวงวัฒนธรรม เยาวชน และกีฬา
  • กระทรวงศาสนา
  • กระทรวงศึกษาธิการ
  • กระทรวงสาธารณสุข
  • กระทรวงอุตสาหกรรมและทรัพยากรพื้นฐาน

การบริหารงานกระทรวงต่างๆ แต่ละกระทรวงมีปลัดกระทรวง (Permanent Secretary) และรองปลัดกระทรวง (Deputy Permanent Secretary) เป็นหัวหน้าฝ่ายข้าราชการพลเรือน หน่วยงานในแต่ละกระทรวงก็มีผู้อำนวยการ (Director General) เป็นหัวหน้า

  • เขตการปกครอง (Daerah/District)[7]

ในภาษามาเลย์ เป็นหน่วยงานการปกครองระด่างจากกระทรวง แบ่งเป็น 4 เขตการปกครอง

 
เขตการปกครองของบรูไน
  1. เขตเบอไลต์ (Belait District)
  2. เขตบรูไน-มัวรา (Brunei-Muara District)
  3. เขตเติมบูรง (Temburong District)
  4. เขตตูตง (Tutong District)
  • ตำบล (Mukim/Ward)

หน่วยการปกครองระดับรองจากล่างสุด ในภาษามาเลย์เรียกว่า Mukim เทียบได้กับตำบลของประเทศไทย ผู้นำตำบล (Mukim) ในภาษามาเลย์เรียกว่า Penghulu Mukim เทียบได้กับกำนัน เป็นหน่วยการปกครองที่เชื่อมโยงเขตการปกครองกับหมู่บ้าน (Kampung)

  • หมู่บ้าน (Kampung/Villange)

หมู่บ้านเป็นหน่วยการปกครองระดับล่างสุด ในภาษามาเลย์เรียกว่า Kampung หรือ Village ในภาษาอังกฤษ ผู้นำหมู่บ้านที่ของไทยเรียกว่า ผู้ใหญ่บ้าน ในภาษามาเลย์เรียก Ketua Kampung

ปรัชญาในการปกครองประเทศ

แก้

ปรัชญาในการปกครองประเทศ[8]ที่เรียกว่า MIB: Melayu Islam Beraja หรือ มลายู อิสลาม พระมหากษัตริย์ เป็นแนวความคิดพื้นฐานของบรูไนนับตั้งแต่การเกิดขึ้นของระบบสุลต่านในนครรัฐประมาณศตวรรษที่ 14 และได้นำมาเกี่ยวพันกับหลักกฎหมายของประเทศภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญครั้งแรกที่ได้มีการร่างขึ้นในปี 1959 โดยการเชื่อมโยงไปถึงภาษามาเลย์ที่ประกาศให้เป็นภาษาประจำชาติ ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ และการปกครองในระบบสุลต่านนับเป็นแนวทางการปกครองที่สำคัญที่สุดใช้ในการบริหารการจัดการของรัฐ ความสำคัญของ MIB ซึ่งสื่อถึงความหมายดังนี้

  • M: Malayu หรือ มลายู ซึ่งคำว่า "มลายู" ยังสามารถตีความถึงความเป็นชาวมลายูของชาวบรูไน มีสุลต่านชาวมลายูเป็นผู้ปกครองประเทศ มีวิถีชีวิตตามวัฒนธรรมมลายูที่สืบถอดกันมา จนกลายเป็นอุดมคติของคนบรูไนจนถึงปัจจุบัน ซึ่งวิถีแห่งคุณค่าวัฒนธรรมที่สำคัญพอสรุปได้ดังนี้
-วัฒนธรรมมลายูถือเป็นวัฒนธรรมแห่งชาติและเป็นวิถีชีวิตที่ทรงคุณค่า
-ภาษามลายูเป็นความมั่นคงที่แสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ของความเป็นภาษาแห่งชาติ
-ศาสนาอิสลามเป็นวิถีที่ปฏิบัติตามขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรมของมลายูต้องยึดมั่นตั้ง
-ราชประเพณีเป็นระบบที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมมลายู
  • I: Islam หรือ อิสลาม คำว่า "อิสลาม" ในที่นี้หมายถึง ศาสนาที่อัลลอฮ์ได้ประทานให้ชาวมลายูบรูไนได้ยึดถือเป็นแบบแผนในการดำรงชีวิต ซึ่งคำว่า "อิสลาม" ในบริบทของบรูไนพอสรุปได้ดังนี้
-อิสลามเป็นศาสนาที่อัลลอฮ์ประทานให้
-การกระทำแต่ความดีเป็นวิถีการดำเนินชีวิตที่มั่นคง อันเป็นรากฐานของอิสลาม
-อิสลามเป็นระบบปกครองที่รวมพระราชาและประชาชนให้เป็นหนึ่งเดียว
  • B: Beraja คือ พระราชา หรือพระมหากษัตริย์ ในที่นี้หมายถึงระบบการปกครองที่มีองค์พระราชาธิบดีทรงเป็นประมุข

มลายู อิสลาม พระมหากษัตริยื หรือ MIB เมื่อถูกวางรากฐานทางความคิดแล้ว รวมทั้งเกิดผลในทางปฏิบัติ ซึ่งทำให้เกิดประโยชน์ในการปกครองดังนี้

-การปกครองที่มีความมั่นคง เสถียรภาพ
-ทำให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคนในชาติที่เป็นชาตินิยมมลายู-บรูไน เกิดความร่วมมือในการทำงานร่วมกัน
-สามารถป้องกันประเทศจากอริราชศัตรูภายนอกได้ ซึ่งทำให้สามารถรักษาเอกราชของชาติเอาไว้
-การนำกฎหมายอิสลามมาใช้ ทำให้เกิดความเป็นธรรมทัศน์ของชาวมุสลิม
-การเปิดให้ใช้หลักการอิสลามอย่างเปิดกว้างในส่วนที่ไม่ก่อให้เกิดปัญหาความมั่นคงของชาติ


ระบบการปกครองท้องถิ่นปัจจุบัน

แก้

รูปแบบการปกครองท้องถิ่น

แก้

รูปแบบการปกครองท้องถิ่นมี 2 รูปแบบ คือ การปกครองท้องถิ่นในเขตเมืองหรือชุมชนเมือง และการปกครองท้องถิ่นทั่วไป

การปกครองท้องถิ่นในเขตเมืองหรือชุมชนเมือง[9] เขตเมืองหรือเขตชุมชนเมืองปกครองโดยเทศบาล มีคณะกรรมการเทศบาลเป็นผู้ดำเนินงาน สายบังคับบัญชาขึ้นตรงกับกระทรวงมหาดไทย คณะกรรมการนี้มาจากการแต่งตั้งโดยสุลต่านและสมเด็จพระราชาธิบดี และพระองค์มีพระราชวินิจฉัยคัดเลือกข้าราชการหรือประชาชนทั่วไปด้วยพระองค์เอง และนายกเทศมนตรีและคณะกรรมการเทศบาลมีฐานะเป็นข้าราชการ คณะกรรมการเทศบาลมีหน้าที่ดูแลและจัดการบริหารกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้เมืองหรือชุมชนเมืองมีสภาพเป็นระเบียบเรียบร้อย สวยงาม และมีสุขลักษณะที่ดี

โครงสร้างของเทศบาล แบ่งเป็นฝ่ายต่างๆ เพื่อดำเนินงานตามภาระกิจที่ได้รับมอบหมาย ได้แก่

  • ฝ่ายบริหาร
  • ฝ่ายการเงิน
  • ฝ่ายใบอนุญาต
  • ฝ่ายที่จอดรถ
  • ฝ่ายบำรุงรักษาและบริการ
  • ฝ่ายประเมินสภาพบ้านและอาคาร
  • ฝ่ายวางแผนและควบคุมการพัฒนาอาคาร
  • และฝ่ายซ่อมบำรุงและยานพาหนะ

การปกครองท้องถิ่นทั่วไป[10] ส่วนการปกครองท้องถิ่นทั่วไปเป็นการปกครองท้องถิ่นที่มีพัฒนาการมาจากรัฐจารีต มีหมู่บ้านหลายหมู่บ้านรวมเป็นตำบล และขึ้นกับหน่วยการปกครองที่สูงขึ้นคือ เขตการปกครอง ผู้ใหญ่บ้านเป็นหัวหน้าหมู่บ้าน มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชนในหมู่บ้าน แล้วสุลต่านและสมเด็จพระราชาธิบดีจะทรงพระราชวินิจฉัยแต่งตั้งเช่นกัน

ภารกิจและอำนาจหน้าที่ของหน่วยการปกครอง

แก้

การจัดแบ่งภารกิจและอำนาจหน้าที่ในการปกครองของประเทศบรูไนนั้น กิจกรรมส่วนใหญ่รัฐบาลเป็นผู้ดำเนินการโดยผ่านกระทรวงต่างๆ และหน่วยงานของรัฐ เช่น การศึกษาดำเนินการโดยผ่านกระทรวงการศึกษาธิการ การสาธารณสุขดำเนินโดยกระทรวงสาธารณสุข สาธารณูปโภคดำเนินการโดยกระทรวงพัฒนาและกระทรวงคมนาคม เป็นต้น มีการกระจายหรือมอบหมายภารกิจที่เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตประจำวันของประชาชนให้แก่ท้องถิ่นหรือตำบล (Mukim) และหมู่บ้าน (Kampung) ส่วนที่เป็นเขตชุมชนเมืองก็มอบหมายภารกิจที่เกี่ยวกับสุขอนามัยและการจัดการความเป็นระเบียบเรียบร้อยของชุมชนเมืองให้แก่เทศบาล

การบริหารงานบุคคล

แก้

ทั้งนายกเทศมนตรี คณะกรรมการเทศบาล กำนัน (Penghulu Mukim) คณะกรรมการที่ปรึกษาตำบล (Mukim Consultative Council) ผู้ใหญ่บ้าน (Ketua Kampung) และคณะกรรมการที่ปรึกษาหมู่บ้าน (Kampung Consultative Council) มีฐานะเป็นข้าราชการของรัฐ หรือข้าราชการในสุลต่านและสมเด็จพระราชาธิบดี จึงอยู่ภายใต้กฎระเบียบข้าราชการ และได้รับเงินเดือนตามที่กฏหมายกำหนด เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในเทศบาล ฝ่ายบริหารของเทศบาลมีหน้าที่ดูแล ทั้งการจ่ายเงินเดือนและค่าตอบแทนรายวัน การบรรจุบุคคลเข้ารับตำแหน่ง การทำประวัติการทำงานของเจ้าหน้าที่ และการจัดการสวัสดิการของเจ้าหน้าที่ รวมทั้งการพัฒนาคุณภาพของเจ้าหน้าที่

ความสัมพันธ์ระหว่างราชการส่วนกลางและท้องถิ่น

แก้

ระบบการบริหารราชการแผ่นดินของบรูไนเป็นแบบสายบังคับบัญชาตามลำดับขั้นจากบนลงล่าง การดำเนินงานส่วนหนึ่งเป็นการสั่งการตามลำดับชั้นลงมา อีกส่วนหนึ่งเป็นการริเริ่มของท้องถิ่น แต่ต้องได้รับความเห็นชอบจากลำดับชั้นที่สูงขึ้นไป ความสัมพันธ์ระหว่างราชการส่วนกลางและท้องถิ่น คือ การกำกับดูแลและควบคุม

  • การตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่
  1. คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (Public Service Commission)
  2. สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (Audit Department)
  3. สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริต (Anti-Corruption Bureau)[11]

สรุป

แก้

บรูไนไม่มีแนวโน้มที่จะกระจายอำนาจการปกครองไปยังท้องถิ่น ในทางกลับกันรัฐก็ให้อิสระในการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่และพัฒนาเศรษฐกิจของท้องถิ่นมากขึ้น โดยอยู่ในกรอบของกฎหมายและหลักปรัชญา MIB (วิถีชีวิตแบบมาเลย์ ศาสนาอิสลาม และยึดมั่นในระบบกษัตริย์)[12]

บรรณานุกรม

แก้
  1. [1]
  2. https://www.academia.edu/
  3. [หน้า13-16.สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน สำนักงาน ก.พ.,ระบบบริหารราชการของเนการา บรูไน ดารุสซาลาม,สำนักพิมพ์กรกนกการพิมพ์,47/111 ถนนติวานนท์ อำเภอเมือง นนทบุรี 11000],.
  4. [หน้า19-20.นิชานท์ สิงหพุทธางกูร,ระบบการปกครองท้องถิ่นประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียน: เนอการาบรูไนดารุสซาลาม,สถาบันพระปกเกล้า,120 หมู่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กทม. 10210],.
  5. http://www.aseanthai.net/
  6. [หน้า23-28.นิชานท์ สิงหพุทธางกูร,ระบบการปกครองท้องถิ่นประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียน: เนอการาบรูไนดารุสซาลาม,สถาบันพระปกเกล้า,120 หมู่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กทม. 10210],.
  7. [2], 2555,ธันวาคม 17.
  8. [[3]
  9. [หน้า33-35.นิชานท์ สิงหพุทธางกูร,ระบบการปกครองท้องถิ่นของประเทศเนอการาบรูไนดารุสซาลาม,สถาบันพระปกเกล้า,พิมพ์ครั้งที่ 1,2556],.
  10. [หน้า.นิชานท์ สิงหพุทธางกูร,ระบบการปกครองท้องถิ่นของประเทศเนอการาบรูไนดารุสซาลาม,สถาบันพระปกเกล้า,พิมพ์ครั้งที่ 1,2556],.
  11. [หน้า83-84.สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน สำนักงาน ก.พ.,ระบบบริหารราชการของเนการา บรูไน ดารุสซาลาม,สำนักพิมพ์กรกนกการพิมพ์,47/111 ถนนติวานนท์ อำเภอเมือง นนทบุรี 11000],.
  12. [หน้า79.นิชานท์ สิงหพุทธางกูร,ระบบการปกครองท้องถิ่นประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียน: เนอการาบรูไนดารุสซาลาม,สถาบันพระปกเกล้า,120 หมู่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กทม. 10210],.