ผู้ใช้:Teamswu085/ทดลองเขียน

ปรากฏการณ์ทะเลเรืองแสง ปรากฏการณ์ทะเลเรืองแสง เกิดจากแพลงตอนชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า Bioluminescent plankton การสร้างแสงในตัวของแพลงต้อนชนิดนี้เกิดจาก ปฏิกิริยาทางเคมี Chemiluminescence ซึ่งทำให้ผนังเซลล์เกิดการเรืองแสงเป็นสีเขียวหรือสีน้ำเงินได้ และยิ่งเมื่อแพลงก์ตอนพวกนี้มาอยู่รวมกันมากๆ เราจึงเห็นทะเล เรืองแสงเป็นสีน้ำเงิน หรือสีเขียวอมฟ้าออกมาได้ชัดเจน และถ้าน้ำมีการสั่นสะเทือนหรือเราลงไปในน้ำ มันก็จะเกิดแสงรอบๆ ในภาวะปกติแพลงก์ตอนเหล่านี้จะพบไม่หนาแน่นและไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ แต่หากในน้ำมีปริมาณธาตุอาหารมากเกินไปจะทำให้เกิดการแบ่งตัวขยายปริมาณของแพลงก์ตอนอย่างรวดเร็วมวลแพลงก์ตอนเหล่านี้อาจบดบังแสงหรือปิดกั้นผิวน้ำทำให้ออกซิเจนในน้ำลดลง และการบดบังแสงกันเองของแพลงก์ตอนจะทำให้พวกมันค่อยๆตายลงจนในที่สุดจะทำให้น้ำเริ่มเน่าเสียมีลักษณะเป็นฟองเมือก บางครั้งเรียกลักษณะนี้ว่า ขี้ปลาวาฬหรือred tide ซึ่งสามารถส่งผลให้สัตว์น้ำที่อยู่ในบริเวณดังกล่าวตายลงเนื่องจากขาดออกซิเจน หรือแพลงก์ตอนเหล่านี้เข้าไปอุดตันตามเหงือกของสัตว์น้ำ

ทะเลเรืองแสง.ศูนย์ศึกษาเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนสิรินาถราชินี. 24 พฤศจิกายน 2562[1]

ใจจันทร์, กนกวรรณ. "ทะเลเรืองแสง". 24 พฤศจิกายน 2019.[2]

  1. https://www.facebook.com/SirinartCenter/posts/1464585606956598/
  2. https://sites.google.com/site/beautifulsea00/