ผู้ใช้:Sorozkung/ทดลองเขียน

Panzerkampfwagen IV
รถถังแพนเซอร์ 4 ในลวดลายพรางทะเลทราย ประจำการอยู่ใน กองพลยานเกราะที่ 15 ของกองกำลัง แอฟริกา คอป.
ชนิดรถถังขนาดกลาง
แหล่งกำเนิด ไรช์เยอรมัน
บทบาท
ประจำการ1939–1967
ผู้ใช้งานNazi Germany
Romania
Turkey
Hungary
Bulgaria
Finland
Spain
Croatia
Syria
สงครามWorld War II, 1948 Arab-Israeli War, Six-Day War
ประวัติการผลิต
ผู้ออกแบบKrupp
ช่วงการออกแบบ1936
บริษัทผู้ผลิตKrupp, Steyr-Daimler-Puch
มูลค่า~ 103,462 Reichsmarks[1]
ช่วงการผลิต1936–45
จำนวนที่ผลิต8,800 (estimate)
ข้อมูลจำเพาะ (Pz IV Ausf H, 1943[2])
มวล25 ตัน
ความยาว5.92 เมตร (19.4 ฟุต)
รวมความยาวปืน 7.02 เมตร (23.0 ฟุต)
ความกว้าง2.88 m (9 ft 5 in)
ความสูง2.68 m (8 ft 10 in)
ลูกเรือ5 (ผบ. รถถัง, พลปืน, พลบรรจุกระสุน, พลขับ, พลวิทยุ)

เกราะ10–80 mm (0.39–3.15 in)
อาวุธหลัก
7.5 cm (2.95 in) KwK 40 L/48 ปืนหลัก (87 นัด.)
อาวุธรอง
2–3 × 7.92-mm Maschinengewehr 34
เครื่องยนต์12-cylinder Maybach HL 120 TRM V12
300 PS (296 hp, 220 kW)
กำลัง/น้ำหนัก12 PS/t
กันสะเทือนLeaf spring
ความจุเชื้อเพลิง470 ลิตร
พิสัยปฏิบัติการ
200 km (120 mi)
ความเร็ว42 km/h (26 mph) บนถนน, 16 km/h (9.9 mph) บนภูมิประเทศ

แพนเซอร์คัมพ์วาเกน 4 เยอรมัน : Panzerkampfwagen (อักษรย่อ Pz.Kpfw. IV) หรือที่เรียกในอีกชื่อหนึ่งคือ แพนเซอร์ 4 เป็นรถถังขนาดกลางซึ่งถูกสร้างขึ้นโดยเยอรมันในยุคปี ค.ศ. 1930 และได้ถูกใช้อย่างแพร่หลายใhนช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง แพนเซอร์ 4 นั้น ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในการสนันสนุนทหารราบ ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อเข้าต่อตีกับรถถังโดยตรง ซึ่ง ณ ขณะนั้น รถถังที่ใช้ในการต่อสู้รถถังด้วยกันของเยอรมันนั้นเป็นรุ่น แพนเซอร์ 3 แต่เมื่อเยอรมัน ต้องเจอกับสมรรถนะรถถัง ที-34 ของโซเวียตที่ดีกว่า ทำให้ต้องพัฒนา แพนเซอร์ 4 เป็นรถถังที่ใช้ในการต่อสู้รถถังในที่สุด รถถัง แพนเซอร์ 4 ถูกผลิตขึ้นเป็นจำนวนมาก ตัวถังของ แพนเซอร์ 4 นั้น ได้ถูกนำไปพัฒนาต่อเป็นรถถังในอีกหลายๆรุ่น เช่น รถถังจู่โจม Sturmgeschütz 4, รถถังพิฆาตยานเกราะ Jagdpanzer 4, รถถังต่อสู้อากาศยาน Wirbelwind, ปืนใหญ่อัตราจร Brummbär เป็นต้น

จากความทนทานและความน่าเชื่อถือของ แพนเซอร์ 4 เยอรมันได้ใช้รถถังนี้ในทุกๆสมรภูมิที่เยอรมันทำการร่วมรบ และเป็นรถถังที่เยอรมันทำการผลิตตลอดช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ตั้งแต่ปี ค.ศ.1936 ถึง ปี ค.ศ. 1943 เป็นจำนวนถึง 8000 คันด้วยกัน การปรับปรุงรถถังแพนเซอร์ 4 นั้น จะมีการดำเนินการเมื่อเจอกับรถถังของสัมพันธมิตรที่มีสมรรถนะดีกว่า โดยส่วนใหญ่จะเป็นการเพิ่มความหนาของเกราะ หรือติดตั้งอาวุธปืนต่อสู้รถถังแบบใหม่

ในช่วงท้ายๆของสงครามนั้น เยอรมันต้องการชดเชยรถถังที่สูญเสียไปในการรบให้ได้ไวที่สุด เยอรมันใช้วิธีในการลดสเปคในการผลิต เพื่อลดความซับซ้อนและเพิ่มความเร็วในการผลิต

รถถังแพนเซอร์ 4 เป็นรถถังที่ถูกส่งออกจากเยอรมนี โดยมีผู้ใช้งานอย่างแพร่หลาย เยอรมันขาย แพนเซอร์ 4 เป็นจำนวน 300 คัน ให้แก่ฟินด์แลนด์ โรมาเนีย สเปน และบัลแกเรีย หลังจบสงครามโลกครั้งที่ 2 สเปนและฝรั่งเศสขายรถถังแพนเซอร์ 4 จำนวนหนึ่งให้แก่ซีเรีย ซึ่งถูกนำไปใช้ใน สงครามหกวัน ในปี ค.ศ. 1967

ประวัติการพัฒนารถถัง แก้

ต้นกำเนิด แก้

แพนเซอร์ 4 นั้นเป็นรถถังที่ถูกคิดค้นขึ้นโดย จอมพล ไฮนซ์ กูเดอร์เรียน[3] โดยการจัดกำลังนั้น ในหนึ่งกองพันทหารม้ายานเกราะ จะประกอบด้วย กองร้อยแพนเซอร์ 3 จำนวน 3 กองร้อย และ แพนเซอร์ 4 จำนวน 1 กองร้อย[4]

ในปี ค.ศ. 1934 เยอรมันได้เขียนสเปค "รถถังขนาดกลาง" ไว้ และจะจัดกำลังเข้าสู่กองพันรถถังที่มี แพนเซอร์ 3อยู่แล้ว โดยรถถังที่จะมาสนันสนุน แพนเซอร์ 3 นี้ จะต้องมีลำกล้องปืนขนาด 7.5เซนติเมตร เป็นปืนต่อสู้รถถังหลัก และต้องมีน้ำหนักไม่เกิน 24 ตัน รหัสที่ใช้ในการสร้างรถถังนี้คือ รถประกอบเอง (เยอรมัน : Begleitwagen)[5] เพื่อเป็นการหลบเลี่ยง สนธิสัญญาแวร์ซาย ที่ผูกพันกับเยอรมันอยู่[6] มีผู้ผลิตเพียง 3 รายที่ถูกคัดเลือกมาให้ผลิตรถถังต้นแบบคือ MAN, Krupp, and Rheinmetall-Borsig[7] โดยในที่สุด เยอรมันได้ตัดสินใจให้บริษัท Krupp เป็นผู้ผลิต

ในช่วงแรก แพนเซอร์ 4 ได้ถูกออกแบบให้ใช้ช่วงล่างแบบ ล้อลำเลียงสายพานซ้อน (อังกฤษ : six-wheeled interleaved suspension) แต่ทางกองทัพเยอรมันต้องการระบบช่วงล่างแบบ ทอร์ชัน บาร์(อังกฤษ : Torsion bar) ซึ่งสามารถไต่ที่สูงชันได้ดีกว่า และยังให้ความนุ่มนวลแก่พลประจำรถถังด้วย[7][8] แต่อย่างไรก็ดี เนื่องจากกองทัพเยอรมันต้องการใช้งานอย่างเร่งด่วน บริษัท Krupp จึงทำการเลือกช่วงล่างแบบ leaf spring double-bogie ซึ่งผลิตได้ง่ายกว่ามาแทน

ต้นแบบรถถังที่ได้มานั้น ใช้พลประจำรถ 5 นาย โดยมีห้องเครื่องอยู่ทางท้ายรถถัง ด้านหน้าซ้ายเป็นที่นั่งของ พลขับ ส่วนด้านหน้าขวานั้น เป็นที่นั่งของพลวิทยุ ซึ่งจะต้องควบคุมปืนกลไปด้วย ผู้บัญชาการรถถังจะนั่งอยู่ในป้อมปืน บริเวณด้านล่างของทางเข้าออก ส่วนพลปืน และพลบรรจุกระสุนนั้น จะนั่งอยู่ทางซ้าย และทางขวาของปืนตามลำดับ ทางด้านขวาของตัวถังนั้นจะเป็นที่เก็บกระสุน รถถัง แพนเซอร์ 4 เริ่มผลิตในปี ค.ศ. 1936 ณ เมือง Magdeburg[9]

รุ่น A - F1 แก้

 
รถถังแพนเซอร์ 4 รุ่น C

รุ่น A แก้

การผลิตครั้งแรกนั้นเริ่มต้นเมื่อปี ค.ศ. 1936 โดยเป็นการผลิตในรุ่น A ใช้เครื่องยนต์ Maybach's HL 108TR ให้กำลัง 250 แรงม้า (183.73 kW) ใช้ระบบส่งกำลังแบบ SGR 75 ซึ่งมีเกียร์เดินหน้า 5 เกียร์ และเกียร์ถอยหลัง 1 เกียร์[10] โดยสามารถทำความเร็วได้สูงสุด 31 กิโลเมตรต่อชั่วโมง[11] โดยปืนต่อสู้รถถังหลักนั้นเป็น ปืนใหญ่ต่อสู้รถถังแบบ 37 L/24 (KwK 37 L/24) ซึ่งใช้ยิงกระสุนความเร็วต่ำ(HE) เพื่อประโยชน์ในการต่อสู้กับทหารราบ[12] การต่อสู้กับรถถังนั้น จะใช้กระสุนแบบเจาะเกราะ ความเร็วกระสุน 430 เมตรต่อวินาที โดยจะสามารถเจาะเกราะได้ลึก 43 มิลลิเมตร ที่มุมตกกระทบไม่เกิน 30 องศา ในระยะ 700 เมตร[13] และมีปืนกลแบบ MG34 2 กระบอก โดยกระบอกแรกจะใช้แกนร่วมกับปืนหลัก และอีกกระบอกจะติดอยู่กับตัวถังบริเวณพลวิทยุ รุ่น A นั้น มีเกราะด้านหน้าหนา 14.5 มิลลิเมตร และมีเกราะที่ป้อมปืนหนา 20 มิลลิเมตร ด้วยความบางของเกราะระดับนี้ จะป้องกันได้เพียงแค่กระสุนปืนจากปืนเล็กยาว จรวดต่อสู้รถถังขนาดเบา และสะเก็ดระเบิดจากปืนใหญ่ได้เท่านั้น[14] หลังจากรุ่น A ผลิตได้เพียง 35 คัน เยอรมันจึงเริ่มทำการผลิตรุ่น B ในปี 1937[6]

รุ่น B แก้

รุ่น B มีการปรับปรุงโดยมีการเปลี่ยนเครื่องยนต์เป็นรุ่น Maybach HL 120TR ซึ่งให้กำลัง 300 แรงม้า และระบบส่งกำลังได้รับการปรับปรุงโดยเพิ่มเกียร์เดินหน้าอีก 1 เกียร์ เป็น 6 เกียร์ ทำความเร็วได้สูงสุด 39 กิโลเมตรต่อชั่วโมง[15] เกราะรถถังด้านหน้านั้นได้ถูกเพิ่มความหนาเป็น 30 มิลลิเมตร[14] และช่องปืนกลที่ติดอยู่บนตัวถังนั้นได้ถูกเปลี่ยนเป็นช่องว่าง ที่สามารถนำปืนสั้นยิงลอดออกไปได้ แพนเซอร์ 4 รุ่น B ได้ถูกผลิตออกไปเป็นจำนวน 42 คัน

รุ่น C แก้

มีการเพิ่มความหนาของเกราะป้อมปืนเป็น 30 มิลลิเมตร ซึ่งทำให้รถถังมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเป็น 18.14 ตัน หลังจากผลิตรุ่น C ได้เพียง 40 คัน ก็ได้มีการปรับปรุงเครื่องยนต์ใหม่ โดยเปลี่ยนเป็นเครื่องยนต์รุ่น Maybach HL 120TRM. และทำการผลิตออกมาอีก 100 คัน ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นรุ่น D ในเดือนสิงหาคมปี 1939

 
เครื่องยนต์ มายบัค 120TRM ที่รถถังแพนเซอร์ 4 ส่วนใหญ่ใช้.

รุ่น D แก้

 
รถถังแพนเซอร์ 4 รุ่น D

แพนเซอร์ 4 ที่ถูกผลิตออกมาในรุ่น D นั้นมีจำนวน 248 คัน โดยในรุ่น D นี้ได้มีการนำปืนกลที่ติดอยู่กับตัวถังกลับมาใช้งานเหมือนรุ่น B และมีการย้ายปืนกลแกนร่วมกับปืนหลักออกไปอยู่บนป้อมปืนแทน มีการเพิ่มความหนาของเพราะด้านข้างเป็น 20 มิลลิเมตร [12] หลังจากเยอรมันได้รับชัยชนะจากการบุกโปแลนด์ในปี 1939 เยอรมันจึงคิดจะขยายการผลิตรถถังรุ่นนี้ โดยนำเข้าประจำการในชื่อ Sonderkraftfahrzeug 161 (Sd.Kfz. 161).[6]

เนื่องจากปืนต่อสู้รถถังแบบ KwK 37 L/24 นั้น เป็นแบบลำกล้องสั้น และใช้ยิงกระสุนความเร็วต่ำ จึงมักจะไม่สามารถเจาะเกราะรถถังของอังกฤษในสมรภูมิการบุกยึดฝรั่งเศสได้ เยอรมันจึงได้ทำการทดลองติดตั้งปืนแบบ Pak 38 L/60 ขนาด 5 เซนติเมตร ซึ่งสามารถเจาะเกราะหนา 50 มิลลิเมตรได้ แต่การสั่งรถถังรุ่นนี้ต้องถูกยกเลิกไป เนื่องจากชัยชนะอันรวดเร็วของเยอรมนีที่มีต่อฝรั่งเศส[16]

รุ่น E แก้

เริ่มทำการสร้างเมื่อเดือนเดือนกันยายน ปี 1940 โดยทำการเพิ่มความหนาของเกราะด้านหน้าเป็น 50 มิลลิเมตร โดยใส่แผ่นเหล็กเป็นเกราะเพิ่มด้านหน้าอีก 30 มิลลิเมตร และทำการย้ายช่องสังเกตการณ์ของผู้บังคับบัญชารถถังมาอยู่ด้านหน้าของป้อมปืน ในส่วนของรถถังรุ่นก่อนหน้านี้ จะถูกอัพเกรดให้เป็นแบบเดียวกับรุ่น E เมื่อรถถังได้นำกลับเข้ามาบำรุงรักษา

แพนเซอร์ 4 รุ่น E นี้ถูกผลิตออกมา 280 คัน ตลอดช่วงปี 1939 ถึงปี 1941

รุ่น F/F1 แก้

 
รถถังแพนเซอร์ 4 รุ่น F1 ซึ่งติดปืนลำกล้องสั้น ใช้ต่อสู้กับทหารราบ

ในปี 1941 แพนเซอร์ 4 รุ่น F ได้เริ่มสายการผลิต โดยความหนาของเกราะและป้อมปืนมีขนาด 50 มิลลิเมตร และเพิ่มขนาดของเกราะด้านข้างเป็น 30 มิลลิเมตร[17] จากการเพิ่มความหนาของเกราะทำให้น้ำหนักของรถถังเพิ่มขึ้นเป็น 22.3 ตัน ซึ่งจำเป็นต้องออกแบบระบบสายพานใหม่ให้มีความกว้างเพิ่มขึ้นเป็น 400 มิลลิเมตร จาก 380 มิลลิเมตร เพื่อกระจายแรงกดที่กระทำต่อพื้นดิน โดยหน้าสัมผัสของสายพานที่เพิ่มขึ้นนั้น จะช่วยรถถังในการวิ่งบนพื้นผิวที่เป็นน้ำแข็งด้วย รถถังยังได้รับการปรับปรุงในเรื่องของล้อลำเลียงสายพานด้วย

โดยเมื่อแพนเซอร์ 4 รุ่น F2 ได้เริ่มทำการผลิตไปแล้วนั้น รุ่น F ได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น F1 โดยมีรถถังรุ่น F1 จำนวน 464 คันถูกผลิตออกมา โดยอีก 25 คันถูกเปลี่ยนให้เป็นรุ่น F2 ในสายการผลิต

รุ่น F2 - J แก้

รุ่น F2 แก้

วันที่ 26 พฤษภาคม 1941 เพียงสัปดาเดียวก่อนยุทธการ Barbarossa จะเริ่มขึ้น อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ต้องการจะปรับปรุงปืนต่อสู้รถถังของ แพนเซอร์ 4 โดยได้ทำการติดต่อบริษัท Krupp อีกครั้ง เพื่อจะให้ติดตั้งปืน Pak 38 L/60 ขนาด 5 เซนติเมตรเข้าไปอีกครั้งหนึ่ง และได้รถถังหลังจากการปรับปรุงในวันที่ 15 พฤศจิกายน 1941[18] จากการเข้าต่อสู้กับรถถัง T-34 และรถถัง KV-1 ของโซเวียต ซึ่งใหม่กว่า และทรงพลังกว่านั้น ปรากฏว่ารถถังของเยอรมันไม่สามารถต่อกรกับรถถังของโซเวียตได้เลย เนื่องจากเกราะของ T-34 และ KV-1 มีความหนามาก ทำให้ปืนแบบ Pak 38 L/60 ไม่สามารถเจาะเกราะเข้าไปทำความเสียหายได้[19] เยอรมันจึงยกเลิกการผลิตรถถังที่ได้ติดตั้งปืนรุ่น Pak38 L/60 ทั้งหมด และได้ว่าจ้างบริษัท Rheinmetall ให้ทำการออกแบบปืนต่อสู้รถถังแบบใหม่ด้วยขนาด 7.5 เซนติเมตรแทน ซึ่งภายหลังจากการออกแบบเสร็จสิ้น ปืนนี้ได้ชื่อว่า 7.5 cm Pak 40 L/46 เนื่องจากปืนขนาดลำกล้องที่ยาวขึ้น ทำให้เกิดแรงสะท้อนถอยหลังที่มากขึ้น ซึ่งทำให้ระยะถอยของปืนนั้นเกินความยาวของป้อมปืนที่มีอยู่ จึงต้องทำการออกแบบระบบรับแรงสะท้อนถอยหลังใหม่ เพื่อให้ระยะถอยของปืนนั้นสั้นลง โดยปืนที่ติดตั้งบนรถถัง แพนเซอร์ 4 นั้น มีชื่อว่า KwK 40 L/43[20] โดยกระสุนเจาะเกราะ จะทำความเร็วได้ 990 เมตร ต่อวินาที ซึ่งต่างจากปืนกระบอกเดิมที่ทำได้เพียง 430 เมตรต่อวินาที โดยปืนกระบอกใหม่ที่ถูกติดตั้งนี้ เมื่อยิงกระสุนแบบ Panzergranate 39 จะเจาะเกราะได้ 77 มิลลิเมตร ที่ระยะทาง 1830 เมตร[21] โดยรถถังที่ติดตั้งปืนรุ่น KwK40 L/43 จะมีชื่อรุ่นคือ F2 โดยมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเป็น 23.6 ตัน รถถังในรุ่นนี้ถูกผลิตออกมา 175 คันตั้งแต่เดือนมีนาคม ถึงเดือนกรกฎาคมปี 1942 สามเดือนให้หลัง รถถังรุ่นนี้ก็ถูกเปลี่ยนชื่ออีกครั้งหนึ่งเป็นรุ่น G

 
แพนเซอร์ 4 รุ่น F2 ติดตั้งปืน KwK 40 L/43 เพื่อใช้ต่อสู้กับรถถัง T-34 และ KV1 ของโซเวียตโดยเฉพาะ

รุ่น G แก้

สำหรับการผลิตแพนเซอร์ 4 ในช่วงเดือนพฤษภาคม 1942 ถึงเดือนมิถุนายน 1943 นั้น แพนเซอร์ 4 รุ่น G ได้ถูกปรับแต่งหลายอย่าง เป็นต้นว่าการปรับปรุงในเรื่องเกราะ ซึ่งการปรับปรุงในเรื่องเกราะนั้นเป็นการเพิ่มน้ำหนักจนถึงขีดสุดที่รถถังจะรับไหว เพื่อไม่ให้น้ำหนักเกินไปมากกว่านี้ ได้มีการนำเกราะเสริมด้านข้างที่มีความหนา 20 มิลลิเมตรออกไป และไปเพิ่มความหนาของตัวถังด้านข้างเป็น 30 มิลลิเมตรแทน และน้ำหนักในส่วนที่หายไปนั้น ได้ถูกนำมาใช้ในการเสริมเกราะด้านหน้าให้มีความหนาเป็น 80 มิลลิเมตร[22] ซึ่งกำลังพลที่ใช้รถถังนี้ก็ต่างต้องการเกราะที่หนาขึ้นนี้ถึงแม้ต้องแลกมาด้วยปัญหาต่อระบบขับเคลื่อนของรถถังก็ตาม โดยรถถังที่ผลิตในเดือนพฤษภาคม 1942 ถึงเดือนมกราคม 1943 นั้น จะใช้เกราะแบบใหม่นี้ผลิตรถถังเป็นครึ่งหนึ่ง ของเกราะแบบเดิมที่ผลิตออกมา และหลังจากเดือนมกราคม 1943 ก็จะเปลี่ยนไปผลิตเกราะแบบหนา 80 มิลลิเมตรทั้งหมด[23]

ช่องมองทั้งสองข้างของป้อมปืนนั้นถูกนำออกเพื่อให้การผลิตสามารถทำได้ง่ายขึ้น มีการนำล้อลำเลียงสายพานสำรองมาติดตั้งบนด้านซ้ายของตัวถัง และเพิ่มสายพานสำรองโดยนำมาวางไว้บนเกราะด้านหน้า มีการเปิดช่องว่างด้านบนของห้องเครื่องเพื่อเพิ่มสมรรถนะในการระบายอากาศ ในสมรภูมิที่ร้อนอบอ้าว ส่วนในสมรภูมิที่มีความหนาวเย็นนั้น ได้มีการนำอุปกรณ์เพิ่มความร้อนไปติดตั้งเพื่อให้น้ำหล่อเย็นนั้นไม่เย็นจนเกินไป มีการเปลี่ยนไฟส่องสว่างใหม่ และนำเอาไฟสัญญาณบนป้อมปืนออก[24] ช่องสังเกตการณ์ของผู้บังคับบัญชารถถังนั้นได้ถูกเพิ่มความหนาของเกราะ และลดลงเหลือเพียงหนึ่งช่องซึ่งแต่เดิมมีสองช่อง

ในเดือนมีนาคม 1943 รถถังแพนเซอร์ 4 ที่ถูกติดตั้งเกราะด้านข้างสายพาน และด้านข้างป้อมปืนได้ถูกนำมาใช้งาน[25]

ในเดือนเมษายน 1943 ปืนแบบ KwK 40 L/48 ได้ถูกนำมาติดตั้งแทนปืน KwK 40 L/43 ซึ่งปืนแบบใหม่นี้มีความยาวของลำกล้องมากกว่า และได้รับการปรับปรุงซึ่งจะลดแรงสะท้อนถอยหลังให้ลดลงกว่าเดิม[26] และได้มีการเพิ่มเกราะแบบ Zimmerit ซึ่งนำไปติดตั้งด้านล่างของตัวถัง เนื่องจากเยอรมันกลัวว่าทุ่นระเบิดรถถังแบบเหนี่ยวนำแม่เหล็กของสัมพันธมิตรนั้นจะถูกนำมาใช้จัดการกับรถถังของเยอรมัน[27]

รถถังในรุ่นนี้ได้ถูกเพิ่มเกราะด้านข้างสายพานขนาดหนา 5 มิลลิเมตร และขนาดหนา 8 มิลลิเมตรที่ป้อมปืน[28] นอกจากนี้ยังมีการนำระบบส่งกำลังของรถถัง แพนเซอร์ 3 มาใช้ในรุ่นนี้ด้วย[28]

 
แพนเซอร์ 4 รุ่น H ภาพถ่ายจากพิภิทภันฑ์ Musée des Blindés จากประเทศ ฝรั่งเศส, แถบขรุขระตามรถถังคือเกราะแบบ ซิมเมอร์ริท กระโปรงเกราะด้านข่างถูกเปลี่ยนเป็นตะแกรงเหล็กแทนแล้ว.

รุ่น J แก้

จากการสูญเสียอย่างหนักของรถถังเยอรมัน รถถังแพนเซอร์ 4 ในรุ่น J นั้นได้ถูกลดสเปคลงเพื่อให้สามารถผลิตรถถังทดแทนได้รวดเร็วยิ่งขึ้น[29] โดยระบบหมุนป้อมปืนด้วยไฟฟ้านั้นได้ถูกยกเลิกไป ทำให้พลปืนต้องทำการหมุมป้อมปืนเองด้วยมือ ที่ว่างของระบบไฟฟ้าที่หายไปนั้นถูกแทนที่ด้วยถังน้ำมันขนาด 200 ลิตร ซึ่งเพิ่มระยะปฏิบัติการณ์ของ แพนเซอร์ 4 เป็น 320 กิโลเมตร รถถังแพนเซอร์ถูกนำเกราะแบบ Zimmerit ออกไป ส่วนเกราะด้านข้างของสายพานนั้นถูกแทนที่ด้วยตะแกรงเหล็กแทน

ในช่วงท้ายๆของสายการผลิตนั้นได้มีการทดลองนำปืนของ รถถังเสือดำ มาใส่ ซึ่งมีความยาวกว่า แต่ก็ทำไม่สำเร็จ เนื่องจากรถถังไม่สามารถแบกรับน้ำหนักได้มากกว่านี้แล้ว[29]

 
รถถังแพนเซอร์ 4 รุ่น J ซึ่งเป็นรุ่นสุดท้ายในการผลิต ได้ถูกลดสเปคลงไปเพื่อเพิ่มความเร็วในการผลิต รุ่นนี้ถูกส่งออกไปยัง ฟินแลนด์

การผลิต แก้

รถถังแพนเซอร์ 4 ที่ถูกผลิตออกมาในแต่ละปี[30]
ระยะเวลา จำนวน รุ่น(Ausführung or Ausf.)
1937–1939 262 A – D
1940 278-386[31] E[32][โปรดขยายความ]
1941 467-769[33] E, F1, F2, G[34]
1942 est. 880 G
1943 3,013 G, H
1944 3,125 J
1945 est. 435 J
Total 9,870[35] A - J

ประวัติการรบ แก้

 
รถถังแพนเซอร์ 4 ถูกยิงเข้าหลายจุด สังเกตบริเวณป้อมปืน และลำกล้องปืน

รถถังแพนเซอร์ 4 เป็นรถถังที่เยอรมันทำการผลิตตั้งแต่ก่อนเริ่มสงครามไปจนถึงสิ้นสุดสงคราม[36][37] ซึ่งจำนวนทั้งหมดนั้นเป็นถึง 30% ของรถถังที่เยอรมันผลิตออกมาในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง

แนวรบฝั่งตะวันตก และสมรภูมิแอฟริกาเหนือ (1939–1942) แก้

เมื่อกองทัพเยอรมันเริ่มบุกโปแลนด์นั้น เยอรมันมีรถถังแบบ แพนเซอร์ I จำนวน 1445 คัน แบบ แพนเซอร์ 2 จำนวน 1223 คัน แบบ แพนเซอร์ 3 จำนวน 98 คัน และแบบ แพนเซอร์ 4 จำนวน 211 คัน ซึ่งรถถังแบบแพนเซอร์ 4 นั้นมีจำนวนน้อยกว่า 10% ของกำลังรถถังทั้งหมดที่เยอรมันมีอยู่[38] จำนวนกำลังรถถังที่จัดเข้าในกองพลทหารยานเกราะที่ 1 เป็นดังนี้ แพนเซอร์ 1 จำนวน 17 คัน แพนเซอร์ 2 จำนวน 18 คัน แพนเซอร์ 3 จำนวน 28 คัน และแพนเซอร์ 4 จำนวน 14 คัน

ส่วนกองพลของทหารยานเกราะอื่นๆนั้นจะเน้นใช้รถถังรุ่นเก่าที่มีอยู่ ซึ่งมีการจัดกำลังดังนี้ แพนเซอร์ 1 จำนวน 34 คัน แพนเซอร์ 2 จำนวน 33 คัน แพนเซอร์ 3 จำนวน 5 คัน และแพนเซอร์ 4 จำนวน 6 คัน[39]

ถึงแม้ว่าโปแลนด์จะมีรถถังที่มีความสามารถในการเจาะเกราะรถถังเยอรมันได้กว่า 200 คัน และมีปืนต่อสู้รถถังที่มีประสิทธิภาพ แต่เยอรมันก็เชื่อมั่นว่ารถถัง แพนเซอร์ 4 จะสามารถทำหน้าที่ในการเป็นหัวหอกในการต่อสู้กับยานเกราะเหล่านั้นได้

ถึงแม้เยอรมันจะทำการเพิ่มกำลังการผลิตรถถังแบบ แพนเซอร์ 3 และแพนเซอร์ 4 เป็นจำนวนมากในช่วงที่เยอรมันทำการบุกฝรั่งเศส แต่รถถังเยอรมันที่เข้าประจำการส่วนหญ่ยังคงเป็นรถถังเบาอยู่ โดยรถถังที่ทำการบุกฝรั่งเศสนั้นมี แพนเซอร์ I 523 คัน แพนเซอร์ 2 955 คัน แพนเซอร์ 3 349 คัน แพนเซอร์ 4 106 คัน แพนเซอร์ 35(t) 106 คัน และ Panzer 38(t) 228 คัน[40] เยอรมันได้ใช้กลยุทธ์ที่ดีกว่าในการเข้าปะทะ[41] ทำให้กองทัพรถถังเยอรมันชนะในการศึกถึงแม้ว่าจะมีรถถังเบาเป็นจำนวนมากก็ตาม[42]

ปัญหาที่เกิดขึ้นกับรถถังแบบแพนเซอร์ 4 นั้นคืออัตราการเจาะเกราะที่ต่ำ เนื่องจากมันได้ทำการติดตั้งปืน KwK 37 L/24 ซึ่งยิงกระสุนออกไปได้ด้วยความเร็วต่ำ จึงไม่สามารถเจาะเกราะรถถังของฝรั่งเศสและอังกฤษได้[43] รถถัง Somua S35 ของฝรั่งเศสนั้นมีเกราะหนา 55 มิลลิเมตร ซึ่งปืน ของรถถัง แพนเซอร์ 4 สามารถเจาะเกราะได้แค่ 43 มิลลิเมตร ที่ระยะ 700 เมตรเท่านั้น ส่วนการต่อสู้กับรถถัง Matilda Mk 2 ของอังกฤษนั้น เนื่องจากเกราะด้านหน้าของ Matilda Mk 2 มีความหนาถึง 70 มิลลิเมตรจึงไม่มีทางเลยที่รถถังแพนเซอร์ 4 จะเจาะเกราะเข้าไปได้ ซึ่งถึงแม้จะทำการยิงเข้าจากด้านข้าง ก็ยังต้องเจอเกราะหนาขนาด 60 มิลลิเมตร ซึ่งปืน KwK 37 L/24 ไม่สามารถเจาะเข้าไปทำความเสียหายได้

 
รถถัง Crusader tank ของสหราชอาณาจักร แล่นผ่านรถถัง แพนเซอร์ 4 ที่เสียหาย รูปจากยุทธการ Operation Crusader, ปลายปี 1941.

แพนเซอร์ 4 ที่กองกำลังเยอรมันได้รับในสมรภูมิแอฟริกานั้น ยังไม่สามารถนำมาใช้แทน แพนเซอร์ 3 ได้ เนื่องจาก แพนเซอร์ 3 นั้นมีอัตราการเจาะเกราะที่สูงกว่า [44] แต่อย่างไรก็ดี ทั้งแพนเซอร์ 3 และแพนเซอร์ 4 ก็ต่างไม่สามารถเจาะเกราะที่หนาของรถถัง Matilda Mk 2 ได้ ส่วนปืนของ Matilda Mk 2 นั้น สามารถเจาะทะลุเกราะทั้ง แพนเซอร์ 2 และแพนเซอร์ 4 ได้ทั้งหมด ซึ่งรถถังแพนเซอร์ 3 และแพนเซอร์ 4 มีข้อได้เปรียบอย่างเดียวคือสามารถทำความเร็วได้ดีกว่า[45]

เดือนสิงหาคม ปี 1942 เอียร์วิน รอมเมล ได้รับรถถังแพนเซอร์ 4 รุ่น F2 เป็นจำนวน 27 คัน ซึ่งรถถังในรุ่นนี้ติดปืน KwK 40 L/43 ซึ่งมีขนาดความยาวลำกล้องมากกว่า ซึ่งรอมเมลตั้งใจจะใช้รถถังรุ่นใหม่นี้เป็นหัวหอกในการบุก[45] เพราะปืนขนาดความยาวลำกล้องที่มากกว่านั้น จะให้ความเร็วกระสุนที่สูงกว่า จึงทำให้มีอัตราการเจาะเกราะที่ดีขึ้นกว่าเดิมมาก ซึ่งรถถังรุ่นใหม่นี้สามารถทำลายรถถังอังกฤษได้ที่ระยะถึง 1500 เมตร[46]

ถึงแม้ว่าเยอรมันจะได้รับรถถังรุ่นใหม่เป็นจำนวนมาก แต่ก็เทียบไม่ได้กับยุทธภัณฑ์ที่ถูกส่งไปยังอังกฤษ ซึ่งจะถูกนำมาสร้างเป็นรถถังและส่งมารบกับเยอรมันในภายหลัง[47] นอกจากนี้รถถัง แพนเซอร์ 4 นั้นยังได้นำไปใช้ในการบุกยูโกสลาเวียและกรีซในปี 1941 อีกด้วย[48]


สมรภูมิด้านตะวันออก (1941–1945) แก้

เมื่อเยอรมันได้เริ่มยุทธการ บราบารอสซา เยอรมันต้องต่อกรกับรถถังที่มีเกราะหนาอย่าง KV-1 และ T-34 ซึ่งเป็นสาเหตุให้เยอรมันต้องทำการปรับปรุงรถถังของตนให้มีอาวุธที่มีอานุภาพในการเจาะเกราะที่ดียิ่งขึ้น

เมื่อรถถัง แพนเซอร์ 4 ที่ติดอาวุธปืน KwK 40 L/43 ใหม่นี้ได้เข้าสู่สมรภูมิ มันสามารถทำลายรถถัง T-34 ของโซเวียตได้ที่ระยะ 1200 เมตร[49] โดยปืน KwK 40 L/43 ที่ติดตั้งใหม่นี้สามารถเจาะเกราะรถถัง T-34 ได้ทุกด้าน โดยมีระยะยิงตั้งแต่ 1000 เมตร ถึง 1600 เมตร[50]

โดยรถถังรุ่นใหม่ที่ถูกส่งมานี้เป็นรุ่น F2 ซึ่งมีจำนวนประมาณ 135 คัน ซึ่ง ณ ขนะนั้น มีเพียงรถถัง แพนเซอร์ 4 รุ่นใหม่นี้เท่านั้นที่จะสามารถทำลายรถถัง T-34 และ KV-1 ได้[51] รถถัง แพนเซอร์ 4 จึงกลายเป็นกำลังสำคัญมากในช่วงนี้[52] เนื่องจากรถถังแบบ ไทเกอร์ ที่ยังมีปัญหา และรถถังแบบ เสือดำ ที่ยังไม่ได้นำส่งให้แก่กองทัพเยอรมัน ในช่วงปี 1942 รถถังแพนเซอร์ 4 จำนวน 502 คันถูกทำลายในสมรภูมิรบตะวันออก[53]

แพนเซอร์ 4 ยังคงเป็นกำลังหลักต่อไปในสมรภูมิจนถึงปี 1943 และได้เข้าร่วม สมรภูมิที่ เคริซ์ ส่วนรถถังเสือดำ ที่เป็นรุ่นใหม่กว่านั้นก็ยังประสบปัญหาบางประการ จึงไม่สามารถทำการรบได้อย่างเต็มที่[54] มีรถถังแพนเซอร์ 4 จำนวน 841 คันเข้าร่วมการรบในสมรภูมิเคริซ์[55]

ตลอดปี 1943 เยอรมันสูญเสียรถถัง แพนเซอร์ 4 จำนวน 2,352 คันในสมรภูมิตะวันออก[56] จากการสูญเสียรถถังเป็นจำนวนมาก กองพลยานเกราะ 1 กองพล ถูกปรับลดให้มีรถถังเพียง 12 - 18 คันเท่านั้น[52]

1944 เยอรมันสูญเสีย แพนเซอร์ 4 เป็นจำนวนมากถึง 2643 คัน ซึ่งเยอรมันไม่สามารถผลิตรถถังเข้ามาแทนที่รถถังที่เสียไปเหล่านี้ได้ทัน[57]

ในปีสุดท้ายของการรบ รถถังเยอรมัน ไม่สามารถต่อกรกับ T-34 ที่ถูกปรับปรุงมาใหม่ได้อีกแล้ว แต่เนื่องจาก รถถังเสือดำ ยังไม่สามารถจัดหามาประจำการแทน แพนเซอร์ 4 ได้ทัน รถถังแพนเซอร์ 4 จึงยังต้องทำหน้าที่เป็นกำลังหลักไปก่อน

ในปี 1945 เยอรมันสูญเสียรถถัง แพนเซอร์ 4 จำนวน 287 คัน ซึ่งจากจำนวนที่ทหารของฝ่ายโซเวียดได้ทำการบันทึกไว้นั้น มีแพนเซอร์ 4 จำนวน 6,153 คัน หรือ 75% ของรถถังแพนเซอร์ 4 ถูกทำลายในสมรภูมิตะวันออก[58]

 
แพนเซอร์ 4 รุ่น H จาก 12th Panzer Division กำลังปฏิบัติการณ์ในสมรภูมิตะวันออก ณ สหภาพโซเวียต, ปี ค.ศ. 1944.

สมรภูมิด้านตะวันตก (1944 - 1945) แก้

เมื่อกองกำลังสัมพันธมิตรเริ่มยุทธการ Overlord รถถังแพนเซอร์ 4 นั้นมีจำนวนเป็นประมาณครึ่งหนึ่งของกำลังรถถังทั้งหมดที่อยู่ในแนวรบตะวันตก[59] กองพลยานเกราะทั้ง 11 กองพลที่ปฏิบัติการณ์ในนอร์มังดีนั้น ส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วยรถถังแบบ แพนเซอร์ 4 และรถถังเสือดำ โดยมีจำนวนรวมแล้วราวๆ 160 คัน

การปรับปรุงแพนเซอร์ 4 นั้น สร้างชื่อเสียงให้รถถังจนเป็นที่น่าเกรงขามแก่สัมพันธมิตร[59] ทั้งๆที่กองกำลังทางอากาศของสหรัฐสามารถครอบครองทางอากาศได้หมดแล้ว แต่การซุ่มโจมตีของรถถัง และปืนต่อสู้รถถังของเยอรมันนั้นสามารถทำลายรถถังของสัมพันธมิตรได้เป็นจำนวนมาก

 
กองกำลังของสหราชอาณาจักร ทำลายรถถัง แพนเซอร์ 4 ในขณะการรบที่นอร์มังดี

ในช่วงยุทธการโอเวอร์ลอร์ดนั้น ทั้งรถถังแบบ แพนเซอร์ 4 และรถถัง เสือดำ มักจะถูกทำลายได้ง่ายจากการถูกซุ่มโจมตีข้างทาง เมื่อเจอกับทหารราบที่ติดอาวุธต่อสู้รถถังมาด้วย หรือไม่ก็เป็นรถถังพิฆาตรถถัง เช่นเดียวกับเครื่องบินโจมตีภาคพื้นดินที่บินเข้ามาสนันสนุนระยะใกล้[60]

ภูมิประเทศในแถบนั้นมีพุ่มไม้เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งไม่เหมาะสมอย่างยิ่งกับการใช้รถถัง ดังจะเห็นได้จากจำนวนรถถังที่ได้รับความเสียหายที่กระโปรงเกราะด้านข้าง เนื่องจากถูกซุ่มโจมตี ซึ่งยานเกราะของเยอรมันล้วนหวาดหวั่นจากการถูกซุ่มโจมตีเมื่อต้องผ่านบริเวณพุ่มไม้[59]

ทางฝั่งสัมพันธมิตรนั้นได้ทำการค้นคว้าและวิจัยรถถังเป็นของตนเอง ซึ่งหนึ่งในนั้นคือรถถังแบบ เอ็ม 4 เชอร์แมน (อังกฤษ : M4 Sherman) ซึ่งระบบเครื่องยนต์นั้นนับว่ามีความเสถียร เชื่อถือได้ แต่หากมีข้อเสียซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้เสียเปรียบมากคือเกราะที่บาง และปืนต่อสู้รถถังที่ไม่สามารถเจาะเกราะรถถังเยอรมันได้[61]

เมื่อ เอ็ม 4 เชอร์แมน ต้องทำการต่อสู้กับ แพนเซอร์ 4 ในรุ่นแรกๆ เอ็ม 4 เชอร์แมน ยังพอทำลายรถถัง แพนเซอร์ 4 ได้บ้าง แต่เมื่อเจอกับ แพนเซอร์ 4 ในรุ่นหลังๆแล้วนั้น รถถัง เอ็ม 4 เชอร์แมน ไม่สามารถทำอะไรได้เลย (นอกจากนี้ รถถังเอ็ม 4 เชอร์แมน ยังไม่สามารถเจาะเกราะรถถัง เสือดำ และรถถัง เสือโคร่ง ของเยอรมันได้ ไม่ว่าจะเข้าไปยิงในระยะใกล้เพียงใดก็ตาม)[62] รถถัง แพนเซอร์ 4 ในรุ่นหลังๆ ที่ทำการปรับปรุงเกราะด้านหน้าแล้วนั้น สามารถยังยั้งปืนของ เอ็ม 4 เชอร์แมนได้เป็นอย่างดี[63]

ด้วยเหตุนี้ กองกำลังสหราชอาณาจักร จึงได้ทำการติดตั้งปืนแบบ คิวเอฟ 17 ปอนด์ (อังกฤษ : QF 17 pounder) บนรถถัง เอ็ม 4 เชอร์แมน เดิม ซึ่งรถถังที่ติดตั้งปืนใหม่เข้าไปนี้ได้ชื่อว่า เชอร์แมน ไฟเออร์ฟลาย (อังกฤษ : Sherman Firefly)[64] ซึ่งรถถัง เชอร์แมน ไฟเออร์ฟลาย นี้ เป็นรถถังเพียงแบบเดียวที่สามารถสู้รบกับรถถังเยอรมันทุกชนิดได้อย่างสูสี มีรถถังเชอร์แมน ไฟเออร์ฟลายจำนวน 300 คันที่เข้าร่วมรบในยุทธการโอเวอร์ลอร์ด ที่นอร์มังดี[61]

อเมริกาเริ่มทำการติดตั้งปืนแบบ เอ็ม 1 (อังกฤษ : M1) ให้กับ รถถังเอ็ม 4 เชอร์แมนของตน ปืนเอ็ม 1 นี้มีขนาดลำกล้องที่ใหญ่ขึ้น ซึ่งนั่นก็เพียงพอต่อการเข้าสู้รบกับรถถัง แพนเซอร์ 4 แล้ว[65][66]

ถึงแม้ว่าเยอรมันจะเป็นเจ้าแห่งสมรภูมิรถถัง ในวันที่ 29 สิงหาคม ค.ศ. 1944 กองทัพที่ 5 และ 7 ของเยอรมันก็ต้องทำการถอยร่นเข้าสู่ประเทศเยอรมนี มีรถถังเยอรมันประมาณ 2,300 คันเข้าร่วมรบในนอร์มังดี (ในจำนวนนี้มีรถถังแบบแพนเซอร์ 4 จำนวน 750 คัน) เยอรมันเสียรถถังไปทั้งหมด 2,200 คัน เนื่องจากการสูญเสียอย่างหนักนี้ ทำให้ในแต่ละกองพลๆ หนึ่งของเยอรมัน เหลือรถถังเข้าประจำการเพียง 5 ถึง 6 คันเท่านั้น

ในช่วงฤดูหนาวของปี ค.ศ. 1944 รถถังแพนเซอร์ 4 ก็ได้ถูกใช้เป็นกำลังหลักอีกครั้งใน การยุทธที่ป่าอาร์เดนน์ ซึ่งรถถังแพนเซอร์ 4 ก็ถูกทำลายไปเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้เยอรมันยังไม่สามารถใช้รถถังได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่ควรด้วยเนื่องจากการขาดแคลนน้ำมัน[67] รถถังแพนเซอร์ 4 ที่เข้าร่วมรบใน การยุทธที่ป่าอาร์เดนน์นี้เป็นรถถังที่เหลือรอดมาจากการรบกับฝรั่งเศส ซึ่งมีจำนวนประมาณ 260 คัน[68]

Notes แก้

  1. Zetterling, Niklas (2000). Kursk 1943: A Statistical Analysis. London: Frank Cass. p. 61. ISBN 978-0-7146-5052-4.
  2. Conners, Chris (4 December 2002). "Panzerkampfwagen IV Ausfuehrung H1-6,10,15-16". The AFV Database. สืบค้นเมื่อ 15 December 2010.
  3. Spielberger (1972), p. 69
  4. Perrett (1999), p. 4
  5. Jentz (1997), p. 1
  6. 6.0 6.1 6.2 Spielberger (1972), p. 70
  7. 7.0 7.1 Perrett (1999), p. 5
  8. Simpkin (1979), p. 106
  9. de Mazarrasa (1994), p. 46
  10. Perrett (1999), p. 5; Caballero & Molina (2006), p. 6
  11. Caballero & Molina (2006), p. 6
  12. 12.0 12.1 Caballero & Molina (2006), p. 7
  13. Doyle & Jentz (2001), p. 4
  14. 14.0 14.1 Perrett (1999), p. 6; Caballero & Molina (2006), p. 7
  15. Perrett (1999), p. 6; Caballero & Molina (2006), p. 6
  16. Doyle & Jentz (2001), p. 5
  17. Caballero & Molina (2006), p. 31
  18. Spielberger (1993) [ต้องการเลขหน้า]
  19. Perrett (1999), p.7
  20. Doyle & Jentz (2001), pp. 6–7
  21. Spielberger (1972), p. 73
  22. Caballero & Molina (2006), p. 38
  23. Spielberger (1993), p. 59
  24. Doyle & Jentz (2001), pp. 11–12
  25. Walter J. Spielberger (1993), P63
  26. Doyle & Jentz (2001), p. 12
  27. Caballero & Molina (2006), p. 44
  28. 28.0 28.1 Perrett (1999), p. 8
  29. 29.0 29.1 Perrett (1999), p. 9
  30. Caballero & Molina (2006), p. 36; Doyle & Jentz (2001), p. 16; Spielberger (1972), p. 72
  31. Cabellero & Moline (2006), p. 4, suggest only 278 manufactured in 1940
  32. Entered service December 1939; Perrett (1999), p. 6
  33. 769 per Spielberger (1972), p. 72; Cabellero & Moline (2006), p. 4, suggest 467 Panzer IVs were manufactured in 1941
  34. Ausf. F entered production during the spring of 1941 and Ausf. G entered service sometime later the same year; Perrett (1999), p. 8
  35. McCarthy & Syron (2002) suggest that 8,600 were manufactured total (p. 36)
  36. McCarthy & Syron (2002), p. 36
  37. Caballero & Molina (2006), p. 4
  38. Perrett (1999), p. 24
  39. Perrett (1998), p. 37
  40. Guderian (1996), p. 472
  41. McCarthy & Syron (2002), p. 72
  42. McCarthy & Syron (2002), p. 73
  43. Doyle & Jentz (2001), pp. 4–5
  44. Perrett (1999), p. 34
  45. 45.0 45.1 Ormeño (2007), p. 48
  46. Doyle & Jentz (2001), p. 21
  47. Doyle & Jentz (2001), p. 23
  48. Perrett (1999), pp. 34–35
  49. Jentz (1996), p. 243
  50. Bird & Livingston (2001), p. 25
  51. Doyle & Jentz (2001), p. 33
  52. 52.0 52.1 Spielberger (1972), p. 87
  53. Caballero & Molina (2006), p. 39
  54. Perrett (1999), p. 39
  55. Caballero & Molina (2006), p. 47
  56. Caballero & Molina (2006), p. 48
  57. Caballero & Molina (2006), p. 51
  58. Caballero & Molina (2006), pp. 59–62
  59. 59.0 59.1 59.2 Hastings (1999), p. 133
  60. Perrett (1999), p. 43
  61. 61.0 61.1 Hastings (1999), p. 225
  62. Hastings (1999), pp. 225–227
  63. Jentz & Doyle (2001), p. 176
  64. Fletcher (2008), pp. 5–8
  65. Fletcher (2008), p. 43
  66. Hastings (1999), p. 221
  67. Perrett (1999), p. 44
  68. Forty (2000), p. 92

References แก้

  • Bird, Lorrin R. (2001). World War II Ballistics: Armor and Gunnery. Albany, NY: Overmatch Press. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  • Caballero, Carlos; Molina, Lucas (2006). Panzer IV: El puño de la Wehrmacht (ภาษาสันสกฤต). Valladolid, Spain: AFEditores. ISBN 84-96016-81-1. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)
  • Crawford, Steve (11 November 2000). Tanks of World War II. Zenith Press. ISBN 0-7603-0936-1.
  • de Mazarrasa, Javier (1994). Blindados en España 2ª Parte: La Dificil Postguerra 1939-1960 (ภาษาสันสกฤต). Valladolid, Spain: Quiron Ediciones. ISBN 84-87314-10-4.
  • Doyle, Hilary (2001). Panzerkampfwagen IV Ausf. G, H and J 1942-45. Oxford, United Kingdom: Osprey. ISBN 1-84176-183-4. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  • Fletcher, David (2008). Sherman Firefly. Oxford, United Kingdom: Osprey. ISBN 978-1-84603-277-6.
  • Forty, George (2000). The Reich's Last Gamble: The Ardennes Offensive, December 1944. London, United Kingdom: Cassell & Co. ISBN 0-304-35802-9.
  • Hastings, Max (1999). Overlord: D-Day and the Battle for Normandy 1944. London, United Kingdom: Pan Books. ISBN 0-330-39012-0.
  • Jentz, Thomas (1996). Panzertruppen: The Complete Guide to the Creation & Combat Employment of Germany's Tank Force 1933-1942. Atglen, PA: Schiffer Military History. ISBN 0-88740-915-6.
  • Jentz, Thomas (1997). Panzer Tracts 4: Panzerkampfwagen IV - Grosstraktor to Panzerbefehlswagen IV. Darlington, MD: Darlington Productions. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  • Jentz, Thomas (2001). Germany's Panzers in World War II: From Pz.Kpfw.I to Tiger II. Atglen, PA: Schiffer Military History. ISBN 0-7643-1425-4. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  • McCarthy, Peter (2002). Panzerkieg: The Rise and Fall of Hitler's Tank Divisions. New York City, NY: Carroll & Graf. ISBN 0-7867-1009-8. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  • Ormeño, Javier (1 January 2007). "Panzerkampfwagen III: El pequeño veterano de la Werhmacht". SERGA. Madrid, Spain: Almena (45).
  • Perrett, Bryan (1998). German Light Panzers 1932-42. Oxford, United Kingdom: Osprey. ISBN 1-85532-844-5.
  • Perrett, Bryan (1999). Panzerkampfwagen IV medium tank : 1936 - 1945. Oxford, United Kingdom: Osprey. ISBN 978-1-85532-843-3.
  • Reynolds, Michael (2002). The Sons of the Reich: II SS Panzer Corps. Havertown, PA: Casemate. ISBN 0-9711709-3-2.
  • Scheibert, Horst (1991). The Panzer IV Family. West Chester, PA: Schiffer Military History. ISBN 0-88740-359-X.
  • Simpkin, Richard E. (1979). Tank Warfare: An analysis of Soviet and NATO tank philosophy. London, United Kingdom: Brassey's. ISBN 0-904609-25-1.
  • Spielberger, Walter (1972). PanzerKampfwagen IV. Berkshire, United Kingdom: Profile Publications Ltd. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)
  • Spielberger, Walter (1993). Panzer IV and its variants. Atglen, PA, USA: Schiffer Military History. ISBN 0-88740-515-0.
  • Wilmot, Chester (1997). The Struggle for Europe. Ware, Herts.: Wordsworth Editions Ltd. ISBN 1-85326-677-9.
  • Scafes, Cornel I; Scafes, Ioan I; Serbanescu, Horia Vl (2005). Trupele Blindate din Armata Romana 1919-1947. Bucuresti: Editura Oscar Print.