ผู้ใช้:Peemai Maliwan/กระบะทราย

ปลาตีนจุดฟ้า
ไฟล์:ปลาตีน 2556.jpg
ปลาตีนจุดฟ้า
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Perciformes
วงศ์: Gobiidae
สกุล: Boleophthalmus
สปีชีส์: B.  boddarti
ชื่อทวินาม
Boleophthalmus boddarti
(Pallas, 1770)

บทนำ แก้

ชีววิทยาของปลาตีนจุดฟ้า แก้

ลักษณะและพฤติกรรม ปลาตีนจุดฟ้า มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Boleophthalmus boddarti (Pallas, 1770) เป็นสมาชิกในวงศ์ปลาบู่ Gobiidae ซึ่งปลาตีนถือเป็นปลาชนิดเดียวที่สามารถอยู่บนบกได้[1] ปลาชนิดนี้จะชอบอาศัยอยู่ในบริเวณผิวโคลนเลนใกล้ป่าชายเลน และชอบหากินในเวลาน้ำลงมากกว่า ในช่วงน้ำขึ้นจะลงไปซ่อนตัวอยู่ภายในรูที่ขุดไว้ [2] โดยปลาตีนจุดฟ้าจะมีหัวขนาดใหญ่ ตาอยู่ส่วนบนสุดของหัวโปนออกมาเห็นได้ชัด สามารถกรอกไปมาได้ ทำให้มองเห็นได้เมื่อพ้นน้ำ สามารถเคลื่อนที่บนบกได้โดยใช้ครีบอกไถลตัวไปตามพื้นเลน [3] ปลาตีนจุดฟ้ามีความยาวลำตัวถึง 20 cm ซึ่งจะมีลวดลายตามลำตัวเป็นจุดสีฟ้าเรียงกันในแนวทแยงมุมและกระจายอยู่บนแก้ม มีแถบสีดำปรากฏเป็นแนวบนลำตัว โดยปลาตันเพศผู้จะมีขนาดใหญ่กว่าเพศเมีย ซึ่งเมื่อเวลาที่ปลาตีนตัวผู้ต่อสู้กันจะมีการกางครีบหลังขึ้นมาขู่ และนอกจากนี้เพศผู้ยังใช้การกางครีบหลังและกระโดดขึ้นไปในอากาศเพื่อดึงดูดเพศเมียให้มาผสมพันธุ์ด้วย [4] การกินอาหาร อาหารที่ปลาตีนจุดฟ้ากินจะเป็นสิ่งมีชีวิตเล็กๆ เช่น ลูกกุ้ง ลูกปู ตัวอ่อนสัตว์น้ำขนาดเล็กรวมทั้งสาหร่าย แบคทีเรียและซากอินทรียวัตถุบนผิวเลน [5] แหล่งที่อยู่ ปลาตีนจุดฟ้ามีการแพร่กระจายทั่วไปตามชายฝั่งทะเลและป่าชายเลนในเขตร้อน ตั้งแต่เขตมหาสมุทรแอตแลนติก ชายฝั่งแอฟริกาจนถึงเอเชียแปซิฟิก [6]

ความสำคัญของปลาตีนจุดฟ้า แก้

“extant model organisms” มีการใช้ปลาตีนเป็นแบบในการศึกษาการวิวัฒนาการของ vertebrate ที่มีการเคลื่อนที่จากในน้ำขึ้นมาอยู่บนบก เนื่องจากลักษณะพิเศษของปลาตีนที่สามารถหายใจได้ทั้งในน้ำและอากาศ โดยพบว่าปลาตีน 50-60% มีการหายใจด้วยอากาศ และ 40% จะหายใจในน้ำ นอกจากนี้ลักษณะของปลาตีนที่มีการพัฒนาครีบอก ให้เป็นกล้ามเนื้อที่แข็งแรง ทำให้ปลาตีนสามารถเคลื่อนที่ไปมาได้ในพื้นโคลนและสามารถที่จะกระโดดและปีนต้นไม้ได้ ซึ่งจากรูปแบบการปรับตัวของปลาตีนทั้งทางด้าน anatomy และ physiology นี้เองที่ทำให้มีการใช้ปลาตีนเป็น “model organisms” ในการศึกษาการเคลื่อนย้ายที่อยู่จากในน้ำมาบนบกของ vertebrate [7]

ความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการของปลาตีนจุดฟ้าและญาติ แก้

ปลาตีนในสกุล Boleophthalmus ทั่วโลกพบ 5 ชนิด คือ B. birdsongi , B. boddarti , B.caeruleomaculatus , B. pectinirostris และ B. poti [8] โดยปลาตีนในสกุลนี้ถูกจัดอยู่ใน clade เดียวกันกับปลาตีนสกุล Periophthalmus และ Periophthalmodon เนื่องจากมีลักษณะที่เหมือนกัน คือ กล้ามเนื้อ superficialis ของ ครีบอก แบ่งเป็น 2 ส่วน ซึ่งทั้ง 3 สกุลจัดเป็น sister group กับสกุล Scartelaos ปลาตีนในสกุล Boleophthalmus มีลักษณะร่วมที่มีความสัมพันธ์กับหลายสกุลที่มีการลดรูปของ premaxillary และไม่มีการเชื่อมต่อกันของ palate-premaxillary ligament ซึ่งมีขากรรไกรยาวและมีหัวที่สั้น อาจจะเป็นเงื่อนไขในการปรับตัวทางด้านพฤติกรรมและการหาอาหาร [9]

การปรับตัวเชิงวิวัฒนาการของปลาตีนจุดฟ้า แก้

การพัฒนาครีบอก แก้

ปลาตีนมีการพัฒนาครีบอกเป็นกล้ามเนื้อที่มีความแข็งแรงมาก เพื่อใช้ในการคืบคลานไปบนเลนได้อย่างรวดเร็วคล้ายกับว่ามีขา โดยอาศัยการสะบัดครีบหางเป็นตัวช่วย ครีบอกยังใช้สำหรับขุดรูและสามารถใช้ปีนขึ้นไปตามรากและลำต้นโกงกาง แสมได้ด้วย [10] นอกจากนี้การที่ปลาตีนมีครีบอกหนาและมีกล้ามเนื้อแข็งแรง ลักษณะคล้ายกับขานี้ยังใช้ในการพยุงตัว เดินบนเลนได้โดยวิธียื่นครีบอกออกไปข้างหน้าแล้วลากตัวตามไป และพบว่าปลาตีนสามารถที่จะกระโดดไดเ โดยในฤดูผสมพันธุ์ปลาตีนตัวผู้ชอบกระโดดสูงเพื่ออวดตัวเมีย อาจกระโดดได้สูงถึง 20 cm โดยการยืดตัวม้วนไปข้างๆแล้วยืดตัวออกโดยเร็ว ตัวจึงถูกดีดขึ้นได้สูง [11]

การพัฒนาระบบหายใจ แก้

แม้ว่าปลาตีนจะมีระบบหายใจด้วยเหงือกเหมือนกับปลาทั่วไป แต่ปลาตีนมีความพิเศษในการอาศัยอยู่บนเลนได้นานหลายชั่วโมง โดยการปรับเปลี่ยนอวัยวะที่ช่วยในการหายใจ โดยใช้ผิวหนังช่วยในการดูดซับออกซิเจนจากอากาศ ความชื้น หรือน้ำ แล้วเก็บสะสมไว้ตรงกระพุ้งแก้มหรือช่องเหงือก [12] นอกจากนี้ปลาตีนจะทำให้ช่องเหงือกพองขยายเพื่ออมน้ำและอากาศไว้ วิธีนี้ทำให้ช่องเหงือกเปียกชื้นอยู่ตลอดเวลา [13] วิวัฒนาการของระบบหายใจทำให้ปลาตีนหายใจได้ทั้งในน้ำและบนบก

การพัฒนาระบบการมองเห็น แก้

ปลาตีนมีโครงสร้างตาที่พิเศษ คือ การมีตาที่โปนนูนออกมา ซึ่งได้รับการออกแบบมาเป็นอย่างดีเพื่อการมองเห็นบนบก แต่การมองเห็นในน้ำจะลดลง ใต้ดวงตาแต่ละข้างจะมีเบ้าที่มีน้ำขังอยู่ ซึ่งเกิดจากการพับตัวของผิวหนัง ขณะที่ที่ดวงตาของปลาตีนแห้งเพราะสัมผัสกับแสงแดด พวกมันสามารถบีบเบ้าให้น้ำมาเลี้ยงดวงตาได้ และการที่มีตาโปนนูนทำให้สามารถกรอกดวงตาไปมาได้ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการหาอาหารและหลบภัยจากผู้ล่า [14]

References แก้

  1. www.assumpboard.com/acboard/index.php?topic=3722.0;wap2
  2. www.school.net.th/library/webcontest2003/100team/dlnes141/t5/t5_5.htm
  3. www.ampakaen.blogspot.com
  4. www.ecologyasia.com/verts/fishes/blue-spotted-mudskipper.htm
  5. bangkrod.blogspot.com/2012/02/2.html
  6. www.krabiall.com/webboard/boardtopic.php?RoomID=10&TopicID=680
  7. Kutschera U and Elliott J.M.2013. Do mudskippers and lungfishes elucidate the early evolution of four – limbed vertebrates? Evolution: Education and Outreach, 6:8.http://www.evolution-outreach.com/content/6/1/8.
  8. Kutschera U and Elliott J.M.2013. Do mudskippers and lungfishes elucidate the early evolution of four – limbed vertebrates? Evolution: Education and Outreach, 6:8.http://www.evolution-outreach.com/content/6/1/8.
  9. Jaafar, Z., Konstantinidis, P., Polgar, G. 2013. A new species of Mudskipper, Boleophthalmus poti (Teleostei: Gobiidae: Oxudercinae) from the Gulf of Papua, Papua New Guinea, and a key to the genus. The Raffles Bulletin of Zoology (1):311-321.http://rmbr.nus.edu.sg/rbz/biblio/61/61rbz 311-321.pdf
  10. www.thaifancyfish.com/articles/434333/igetweb-ปลาตีน ปลามหัศจรรย์.html
  11. www.ampakaen.blogspot.com
  12. Kutschera U and Elliott J.M.2013. Do mudskippers and lungfishes elucidate the early evolution of four – limbed vertebrates? Evolution: Education and Outreach, 6:8.http://www.evolution-outreach.com/content/6/1/8.
  13. www.ampakaen.blogspot.com
  14. www.assumpboard.com/acboard/index.php?topic=3722.0;wap2