ผู้ใช้:Pasanee.ttt/ทดลองเขียน

ตำบลด่านช้าง เดิมอยู่ในเขตปกครองของอำเภอเดิมบางนางบวช สภาพภูมิประเทศทางด้านตะวันตกเป็นเทือกเขาสูงชัน และพื้นที่ลอนลาดสลับกับลอนชัน ลาดต่ำลงมาทางทิศตะวันออก เป็นแนวเขาที่ติดกับเทือกเขาตะนาวศรี มียอดเขาสูงที่สุด ได้แก่ยอดเขาเทวดา สูง ๑,๑๒๓ เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง โดยพื้นที่ส่วนใหญ่สมบูรณ์ไปด้วยป่าไม้เบญจพรรณ มีป่าสนสองใบ แหล่งแร่ดีบุก วูลแฟม หินแกรนิต และหินปูน ตลอดจนสัตว์ป่าเป็นจำนวนมาก ในอดีตบริเวณลำห้วยกระเสียวได้มีโขลงช้างขนาดใหญ่ ลงมากินน้ำและเล่นน้ำเป็นประจำ จึงได้มีการขนานนามบริเวณดังกล่าวว่าเป็น ด่านช้าง อันเป็นที่มาของชื่อเรียกอำเภอมาจนถึงปัจจุบัน

ลักษณะที่ตั้ง แก้

•องค์การบริหารส่วนตำบลด่านช้าง เป็นองค์การบริหารส่วนตำบล 1 ใน 7 จำนวนองค์การบริหารส่วนตำบลของอำเภอด่านช้าง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของอำเภอด่านช้าง ห่างจากที่ตั้งที่ว่าการอำเภอด่านช้าง ประมาณ 25 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากตัวจังหวัดสุพรรณบุรี ประมาณ 96 กิโลเมตร การเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว หรือรถยนต์โดยสารสายด่านช้าง – กาญจนบุรี ใช้เส้นทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 3086

•ทิศเหนือ ติดต่อกับ พื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลนิคมกระเสียว และตำบลหนองมะค่าโมง

•ทิศใต้ ติดต่อกับ อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี และอำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี

•ทิศตะวันออก ติดต่อกับ พื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองมะค่าโมง อำเภอด่านช้าง เขตอำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี และเขต อำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี

•ทิศตะวันตก ติดต่อกับ พื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลองค์พระ อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี

ลักษณะภูมิอากาศ แก้

•สภาพภูมิอากาศเป็นแบบมรสุมมี 3 ฤดู อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 35.71 องศาเซลเซียส

ลักษณะของดิน แก้

•สภาพดินโดยทั่วไปจะเป็นดินปนทรายไม่สามารถเก็บน้ำได้

ลักษณะของแหล่งน้ำ แก้

•ลำน้ำ ลำห้วย จำนวน 5 แห่ง/สาย

•บึง หนอง และอื่น ๆ จำนวน 30 แห่ง

ลักษณะของไม้และป่าไม้ แก้

•ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ของกรมป่าไม้ ประมาณร้อยละ 75 %

สภาพทางสังคม แก้

สถานศึกษา แก้

โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 7 แห่ง ประกอบด้วย

•โรงเรียนวัดดอนประดู่

•โรงเรียนสวนป่าองค์พระ

•โรงเรียนวัดหนองเปาะ

•โรงเรียนบ้านโป่งคอม

•โรงเรียนบ้านหนองผือ

•โรงเรียนบ้านวังน้ำเขียว

•โรงเรียนบ้านนาตาปิ่น

โรงเรียนมัธยมศึกษาขยายโอกาส จำนวน 1 แห่ง ประกอบด้วย

•โรงเรียนบ้านพุน้ำร้อน

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียน 5 แห่ง ประกอบด้วย

•ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านพุน้ำร้อน

•ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนวัดดอนประดู่

•ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านชลประทานเทพนิมิต

•ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านปรักประดู่

•ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนวัดหนองเปา

สาธารณสุข แก้

•สถานีอนามัยประจำตำบล จำนวน 3 แห่ง

•ร้านขายยาแผนปัจจุบัน จำนวน 2 แห่ง

•อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ 100

ระบบบริการพื้นฐาน แก้

การคมนาคมขนส่ง แก้

•การคมนาคมทางบกโดยรถยนต์ ทั้งภายในตำบลและระหว่างตำบล มีความสะดวกรวดเร็ว เนื่องจากได้มีโครงการปรับปรุงถนนในเขตตำบลอย่างต่อเนื่อง โดยมีเส้นทางที่สำคัญภายในตำบล ดังนี้

•ถนนดินลงลูกรังและถนนลาดยางมะตอย ถนน คสล.เชื่อมตำบลหมู่บ้าน จำนวน 22 สาย

•ถนนทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 3086 ผ่านตำบลด่านช้าง – บ่อพลอย – จังหวัดกาญจนบุรี

•นอกจากนี้ยังมีรถโดยสารประจำทางภายในตำบลคือรถสองแถวสายวังยาว–ม่วงเฒ่าและรถประจำทาง สายด่านช้าง – กาญจนบุรีวิ่งให้บริการ

การไฟฟ้า แก้

•ไฟฟ้าเข้าถึงครบทั้ง 20 หมู่บ้าน

•จำนวนประชากรที่ใช้ไฟฟ้าคิดเป็นร้อยละ 99 ของประชากรทั้งหมดในตำบล

การประปา แก้

•มีไฟฟ้าเข้าถึงครบทั้ง 20 หมู่บ้าน

•จำนวนประชากรที่ใช้ไฟฟ้าคิดเป็นร้อยละ 99 ของประชากรทั้งหมดในตำบล

โทรศัพท์ แก้

•ส่วนใหญ่ใช้โทรศัพท์มือถือส่วนตัว ร้อยละ 95

ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่งและวัสดุ ครุภัณฑ์ แก้

•ที่ทำการไปรษณีย์ที่ใกล้ที่สุด ได้แก่ ไปรษณีย์อำเภอด่านช้าง ตั้งอยู่ ตำบลด่านช้าง อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี ห่างจากที่ทำการ อบต.ด่านช้าง ตำบลด่านช้าง อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี ไปทางทิศตะวันออกประมาณ 20 กิโลเมตร จำนวน 1 แห่ง (สาขาอำเภอด่านช้าง)

ระบบเศรษฐกิจ แก้

การเกษตร แก้

•ราษฎรส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 80 ประกอบอาชีพทำการเกษตรกรรม ได้แก่การทำไร่อ้อย มันสำปะหลัง และข้าวโพด โดยการประกอบอาชีพสามารถประมาณได้ดังนี้

•ปลูกอ้อย ร้อยละ 50 เปอร์เซ็นต์

•ปลูกมันสำปะหลัง ร้อยละ 30 เปอร์เซ็นต์

•ปลูกข้าวโพด ร้อยละ 20 เปอร์เซ็นต์

การประมง แก้

•ตำบลด่านช้าง มีการประมงในการทำแพปลา ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 17 ตำบลด่านช้าง อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี ร้อยละ 1.41

การปศุสัตว์ แก้

•ตำบลด่านช้าง มีการปศุสัตว์ คือ การเลี้ยงโค เลี้ยงแพะ และการเลี้ยงสุกร ในทุกหมู่บ้านของ ตำบลด่านช้าง อำเภอ ด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี ร้อยละ 0.04

การบริการ แก้

•ร้านเสริมสวย จำนวน 5 แห่ง

การท่องเที่ยว แก้

•พิพิธภัณฑ์ชุมชนบ้านพุน้ำร้อน หมู่ที่ 4

•เขื่อนหุบเขาวง หมู่ที่ 15 บ้านหินลาด

อุสาหกรรม แก้

•ตำบลด่านช้าง อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี ไม่มีอุตสาหกรรมในพื้นที่

ศาสนา ประเพณี ศิลปวัฒนธรรม แก้

การนับถือศาสนา แก้

•ราษฎรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ประมาณร้อยละ 90 และนับถือศาสนาคริสต์ ประมาณร้อยละ 10 ของประชากรทั้งหมด

ประเพณีและงานประจำปี แก้

•ประเพณียกธง จำนวน 3 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 4 บ้านพุน้ำร้อน หมู่ที่ 5 บ้านดอนประดู่ และหมู่ที่ 18 บ้านใหม่หนองมะสังข์

•ประเพณีสืบสานวัฒนธรรมประเพณีตำขนมจีนคู่งานบุญพุทธศาสนาไทย (วัดพุน้ำร้อน)หมู่ที่4

ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น แก้

•ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่โดดเด่น คือ กลุ่มผ้าทอมือบ้านพุน้ำร้อน หมู่ที่ 4

•ภาษาถิ่น คือ ภาษาลาวครั่ง ภาษาไทยกลาง มีลักษณะโดดเด่นของสำเนียงพูดที่เรียกว่า “พูดเหน่อ”

สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก แก้

•ผ้าทอมือ หมู่ที่ 4

•ขนมทองม้วนแก้วเจ้าจอม หมู่ที่ 19

ทรัพยากรธรรมชาติ แก้

น้ำ แก้

•ลำน้ำ, ลำห้วยจำนวน 5 แห่ง/สาย

•บึง, หนอง และอื่น ๆ จำนวน 30 แห่ง

ป่าไม้ แก้

•ในพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตพื้นที่ป่าไม้ (ป่าสงวนแห่งชาติ)

ภูเขา แก้

•ในพื้นที่เป็นที่ราบระหว่างภูเขาโดยมีภูเขาและเทือกเขาสลับกันไป

คุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติ แก้

•พื้นที่ที่มีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ ส่วนใหญ่มีความอุดมสมบูรณ์ เป็นป่าไม้ตามธรรมชาติ

อ้างอิง แก้

[1] [2] [3]

  1. https://www.danchangspb.go.th/home/
  2. https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%A0%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87
  3. https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B5