ผู้ใช้:Meyscg/กระบะทราย
วิกฤตการณ์สปุตนิก เป็นช่วงเวลาแห่งความหวาดกลัวและความวิตกกังวลในชาติตะวันตกเกี่ยวกับความคัดแย้งทางเทคโนโลยีใหม่ของสหภาพโซเวียตจากการส่ง สปุตนิก 1 เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2500 ซึ่งเป็นดาวเทียมดวงแรกของโลก[1]จากวิกฤติการณ์ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์ได้อนุมัติให้จัดตั้งองค์การนาซา ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นในการแข่งขันกันการสำรวจอวกาศ ระหว่าง สหรัฐกับสหภาพโซเวียต
ภูมิหลัง
แก้สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีอำนาจเหนือกว่าในช่วงต้นทศวรรษ 1950 เครื่องบินสอดแนม ยู-2ได้ให้ข้อมูลว่าสหรัฐฯมีข้อได้เปรียบในด้านการผลิตอาวุธนนิวเคลียร์มากกว่าสหภาพโซเวียต[2][3]อย่างไรก็ตามจากการตรวจสอบระบุเมื่อระหว่างปี พ.ศ.2505 - 2504 รายงานว่าสหภาพโซเวียตได้รับการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่และนักวิทยาศาสตร์ในด้านนี้จำนวนมากกว่าบุคลากรของสหรัฐ[4]การส่งดาวเทียมสปุตนิก 1 เป็นการบอกว่าสหภาพโซเวียตได้ก้าวกระโดดไปทางเทคโนโลยีอย่างมาก ซึ่งเป็นภัยคุกคามอย่างร้ายแรงต่อความมั่นคงของสหรัฐฯ การกระตุ้นนี้ทำให้สหรัฐฯได้ลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาการศึกษาเพื่อความมั่นคงของชาติ[2] ในปีพ.ศ.2499 ได้มีการพัฒนาจรวดจูโน 1โดยจะถูกนำไปใช้ส่งดาวเทียมเอกซ์พลอเรอร์ 1ในอนาคตซึ่งในเวลานั้นจรวดไม่ได้เป็นที่สนใจต่อสาธารณชนมากนัก[5]ซึ่งจรวดจูโน 1 นั้นได้พัฒนามาจาก ขีปนาวุธนำวิถีพิสัยกลาง พีจีเอ็ม-19 จูปิเตอร์ ของกองทัพบกสหรัฐ ตามคำสั่งของรัฐมนตรีกลาโหม ชาร์ลส์ เออร์วินวิลสัน ท่ามกลางการแข่งขันการพัฒนากับ พีจีเอ็ม-17 ธอร์ ของกองทัพอากาศสหรัฐ[5]
การปล่อยดาวเทียม
แก้สหภาพโซเวียตใช้เทคโนโลยีขีปนาวุธข้ามทวีปในการส่ง สปุตนิก 1 ขึ้นสู่อวกาศ เรื่องนี้ทำให้โซเวียตได้รับชัยชนะในการโฆษณาชวนเชื่อทันทีถึงสองเรื่อง (เรื่องแรกสามารถส่งดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศได้สำเร็จและเรื่องที่สองเป็นพิสูจน์ประสิทธิภาพของขีปนาวุธข้ามทวีปของตน)[6] สิ่งนี้พิสูจน์ได้ว่าโซเวียตมีจรวดที่สามารถส่งอาวุธนิวเคลียร์จากรัสเซียไปยังยุโรปตะวันตกและแม้แต่ทวีปอเมริกาเหนือ ซึ่งทำให้ดินแดนสหรัฐอเมริกาที่ความมั่นคงทางจุดยุทธศาสตร์ปลอดภัยจากจากสงครามยุโรปดูจะหมดไปอย่างสิ้นเชิ้ง
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดวิกฤตการณ์สปุตนิก คือโซเวียตไม่ยอมปล่อยภาพดาวเทียมมา 5 วันหลังจากการการปล่อยดาวเทียม[6] รวมถึงตำแหน่งที่อยู่ของมันยังคงเป็นปริศนาสำหรับชาวอเมริกัน ปัจจัยอีกประการหนึ่งคือน้ำหนักของสปุตนิก 1 อยู่ที่ 184 ปอนด์ (83 กก.) เมื่อเทียบกับดาวเทียมต้นแบบตัวแรกของสหรัฐฯ 21.5 ปอนด์ (9.8 กิโลกรัม)[6]ชาวอเมริกันหลายคนสงสัยต่อการกระทำของสหภาพโซเวียตในครั้งนี้ จรวดของสหรัฐในขณะนั้นมีกำลังถึง 150,000 ปอนด์ (670,000 นิวตัน) ทางสหรัฐได้คำนวณวา่จรวดโซเวียตในการส่งสปุตนิกสู่อวกาศน่าจะสร้างกำลังได้ถึง200,000 ปอนด์ (890,000 นิวตัน) ในความเป็นจริงจรวดอาร์-7 ที่เปิดตัวในการส่งสปุตนิกสู่อวกาศนั้นสามารถสร้างกำลังได้เกือบ 1,000,000 ปอนด์ (4,400,000 นิวตัน)[6]ปัจจัยเหล่านี้มีส่วนทำให้การรับรู้ของชาวอเมริกันว่าพวกเขาตามหลังโซเวียตในการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศเป็นอย่างมาก
หลังจาก1ชั่วโมงในการส่งดาวเทียม ผู้เชี่ยวชาญทางด้านดาราศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ เออร์แบนา-แชมเปญจน์ได้ใช้เครื่องอินเตอร์เฟอโรเมทรีในติดตามสัญญาณจากดาวเทียม[1] โดนัลด์ บี กิลลีส์ และ จิม ซไนเดอร์ ได้ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ไอแอลแอลไอเอซี 1 ในการคำนวณหาวงโคจรดาวเทียม การเขียนโปรแกรมและการคำนวณเสร็จสิ้นภายในไม่ถึงสองวัน ข้อมูลวงโคจรได้แพรอย่างรวดเร็วในวารสาร เนเจอร์ ภายในหนึ่งเดือนหลังจากการปล่อยดาวเทียม[7]นอกจากช่วยขจัดความตื่นตระหนกเรื่องดาวเทียมสปุตนิก และความคิดการเข้ายึดครองอวกาศของโซเวียตด้วยสปุตนิก[8]
การประสบความสำเร็จในการปล่อยดาวเทียมสปุตนิก 1 และความล้มเหลวทั้ง 2 ครั้งของโครงการแวนการ์ด สหรัฐได้รับรู้ว่าถึงภัยคุกคามจากสหภาพโซเวียต จรวดอาร์-7ใน การปล่อยดาวเทียมสปุตนิก 1 สามารถที่จะส่งหัวนิวเคลียร์ที่ใดก็ได้ในโลกในเวลาไม่กี่นาทีซึ่งทำให้ทวีปอเมริกาเหนือไม่ปลอดภัยแม้ได้รับการป้องกันจากมหาสมุทรที่ห่างจากยุโรปก็ตาม
ปฏิกิริยาของไอเซนฮาวร์
แก้ห้าวันหลังจากการปล่อยดาวเทียม สปุตนิก 1 ไอเซนฮาวร์ได้แถลงการณ์แก่สาธารณชนชาวสหรัฐอเมริกา หลังจากถูกถามโดยผู้สื่อข่าวเกี่ยวกับเรื่องภัยคุมคามของดาวเทียมรัสเซีย ไอเซนฮาวร์กล่าวว่า "ตอนนี้ ดาวเทียมมันห่างไลกจากความกังวลฉันและมันไม่สามารถเพิ่มความวิตกให้ฉันแม้แต่น้อยนิดเดียว "[6]
ไอเซนฮาวร์ได้แถลงว่า สปุตนิก 1เป็นเพียงผลงานทางวิทยาศาสตร์เท่านั้นไม่ใช่เป็นภัยคุกคามทางทหารหรือการเปลี่ยนแปลงทางอำนาจของโลก ไอเซนฮาวร์เชื่อว่าสปุตนิก "มันไม่มีความสำคัญทางทหารที่ยิ่งใหญ่และนั่นก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่จะมองมันในมุมให้เหมาะสม"[6]
ในปีพ.ศ.2501 ไอเซนฮาวร์ประกาศว่า "ข้อเท็จจริงที่สำคัญ" สามข้อที่สหรัฐฯจำเป็นต้องเผชิญหน้ากับสหภาพโซเวียต:
- สหภาพโซเวียตได้คุกคามสหรัฐอเมริกาและ "โลกเสรี" ด้วยความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในอวกาศ
- ในกรณีที่สหภาพโซเวียตใช้วิธีในการรักษาความเหนือกว่าด้วยการบ่อนทำลายศักดิ์ศรีและความเป็นผู้นำของสหรัฐฯ
- ในกรณีที่สหภาพโซเวียตพยามเป็นชาติแรกที่ใช้วิธีทางทหารในอวกาศ ในการพยายามปั่นทอนอำนาจ ซึ่งนั่นมันเป็นภัยคุกคามทางทหารโดยตรงต่อสหรัฐฯ[9]
ไอเซนฮาวร์พูดนี้โดยบอกว่าสหรัฐฯจำเป็นเผชิญหน้าหากพยายามคุมคาม "ความมั่งคั่งและความอำนาจ"[9] ความพยามยามในการสร้างความมั่นใจเกี่ยวกับสถานการณ์ของไอเซนฮาวร์ได้ ไม่เพียงพอเนื่องจากขาดความเชื่อมั่นจากการสืบราชการลับ[9] เช่นนี้ เขาจึงล้มเหลวที่จะระงับตื่นตระหนกเรื่องอำนาจระหว่างชาวอเมริกันและโซเวียต[9]การรับรู้ว่าโซเวียตทันสมัยกว่าทำให้ชาวอเมริกันมองว่า ไอเซนฮาวร์นั้่นเป็นพวกล่าหลัง [10] การปล่อยดาวเทียม สปุตนิก 1 ยังส่งผลกระทบต่อคะแนนความนิยมของไอเซนฮาวร์ลดลง[6]
สื่อและอิทธิพลทางการเมือง
แก้สื่อกระตุ้นความตื่นตระหนกด้วยการเขียนเกี่ยวกับเหตุการณ์ในวันสองแรกหลังจากเหตุการณ์ นิวยอร์กไทมส์ได้เสนอว่า สปุตนิก 1 เป็นการโฆษณาชวนเชื่อที่สำคัญและชัยชนะของคอมมิวนิสต์รัสเซีย [11] ไม่นานผู้คนในสหรัฐฯก็ได้รับรายงานข่าวมากมายจนคนทั้งประเทศตกตะลึง[11]สื่อไม่เพียง แต่สร้างความกังวลแก่สาธารณชนเท่านั้น แต่ยังก่อให้เกิดอาการฮิสทีเรียอีกด้วย[11]สื่อได้สร้างข่าวจนเกินไปเพื่อประโยชน์ของสื่อเองในการขาย[11] เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ.2500 นักวิทยาศาสตร์ Arthur C. Clarke กล่าวว่าในวันที่สปุตนิกโคจรรอบโลก สหรัฐอเมริกากลายเป็นมหาอำนาจอันดับที่สอง[11]
นักการเมืองใช้เหตุการณ์เพื่อเพิ่มคะแนนในการเลือกตั้ง [6]การวิจัยและพัฒนาใช้เป็นเครื่องมือในการโฆษณาชวนเชื่อทาวงการเมืองและสภาคองเกรสใช้งบประมาณสูงในการแก้ปัญหาเทคโนโลยีของอเมริกา [10] หลังจากการการส่ง สปุตนิก 1 ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติประเมินความแข็งแกร่งของจรวดในปัจจุบันของสหรัฐกับศักยภาพของสหภาพโซเวียตซึ่งเกินความคาดหมายซึ่งส่งผลให้รัฐสภาและผู้บริหารระดับสูงเป็นกังวล [11] เมื่อถูกประเมิน ไอเซนฮาวร์ถูกบังคับให้เร่งรัดในการแข่งขันพัฒนาขีปนาวุธเพื่อแสดงถึงความปลอดภัยของอเมริกา[11] สปุตนิก กระตุ้นสภาคองเกรสในการดำเนินการเพื่อปรับปรุงวิทยาการของสหรัฐอเมริกา
โซเวียตก็มีส่วนได้เปรียบทางการเมืองด้วยเช่นกัน นิกิตา ครุสชอฟผู้นำสหภาพโซเวียตได้กล่าวถึงเหตุการณ์ครั้งนี้ว่า "มันเป็นการดีที่จะกล่าวสุนทรพจน์ในที่สาธารณะว่าเราสามารถบินได้ทุกหนทุกแห่งด้วยขีปนาวุธของเราแม้จะมีรัศมีการทำลายล้างสูงที่เกิดจากขีปนาวุธนิวเคลียร์ของเรา มันยังคงเป็นสิ่งที่จำเป็น และมันก็เป็นเรื่องยากที่จะประสบความสำเร็จกับสิ่งนั้้น"[6] ในเวลานั้นครุชชอฟระบุด้วยว่า "ศัตรูที่อาจเกิดขึ้นจากความหวาดกลัว" [6] นักวิเคราะห์ทางการเมืองSamuel Lubell ทำการวิจัยเกี่ยวกับความคิดเห็นของสาธารณชนเกี่ยวกับ สปุตนิก และพบว่า "ไม่มีหลักฐานใด ๆ ที่ทำให้เกิดความหวาดกลัวหรือฮิสทีเรียแก่ประชาชน" ยืนยันว่าเป็นส่วนใหญ่ไม่ความตื่นตระหนกกับเรื่องนี้[11]
การตอบสนอง
แก้การเปิดตัวดังกล่าวเป็นการกระตุ้นความคิดริเริ่มต่างๆของสหรัฐ[12] ตั้งแต่การป้องกันจนถึงการศึกษา เน้นการสนับสนุนกองทัพเรือในโครงการแวนการ์ดเพื่อส่งดาวเทียมอเมริกันขึ้นไปในวงโคจร ทางกองทัพก็มีโครงการเอกซ์พลอเรอร์ซึี่งประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากในการส่งดาวเทียมอเมริกัน เอกซ์พลอเรอร์ 1เข้าสู่วงโคจรเมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ.2501 ทำให้สหรัฐฟื้นตัวได้อีกครั้ง[13] ในเดือนกุมภาพันธ์ 1958 ไอเซนฮาวร์ได้จัดตั้งโครงการวิจัยขั้นสูงซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นสำนักงานโครงการวิจัยขั้นสูงของกระทรวงกลาโหม (DARPA) ภายในกระทรวงกลาโหม (DoD) เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ สำหรับกองทัพสหรัฐ เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2501 ไอเซนฮาวร์ได้ลงนามใน พระราชบัญญัติการบินและอวกาศแห่งชาติ และก่อตั้งองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ หรือ นาซา(NASA)[12]
ไม่ถึงหนึ่งปีหลังจากส่ง สปุตนิก สภาคองเกรสได้ผ่านพระราชบัญญัติการศึกษาเพื่อการป้องกันประเทศ (NDEA) ตลอดโครงการสี่ปีมีการสนับสนุนหลายพันล้านดอลลาร์เข้าสู่ระบบการศึกษาของสหรัฐ ในปีพ.ศ.2496 รัฐบาลได้ใช้เงินจำนวน 153 ล้านเหรียญและวิทยาลัยได้รับเงินทุนจำนวน 10 ล้านเหรียญ แต่ต่อมาในปีพ.ศ.2503 การระดมทุนสนับสนุนเพิ่มเกือบหกเท่าเนืองจากพระราชบัญญัติ[14] หลังจากที่ประชาชนตื่นตระหนก การแข่งขันสำรวจอวกาศก็เริ่มต้นขึ้นนำไปสู่การส่งมนุษย์คนแรกขึ้นสู่อวกาศ โครงการอะพอลโลและมนุษย์คนแรกเหยียบดวงจันทร์ในปี ในปีพ.ศ.2512[15]
วิกฤตการณ์สปุตนิกๆด้กระตุ้นให้สหรัฐไปสู่การสำรวจอวกาศจากโซเวียตและขับเคลื่อนไปถึงการมนุษย์ไปยังดวงจันทร์ [9]
ในที่อื่นๆ
แก้ในสหราชอาณาจักรการส่ง สปุตนิก ได้สร้างความประหลาดใจรวมกับความปีติยินดีแก่การเริ่มต้นของยุคสำรวจอวกาศ นอกจากนี้ยังกระตุ้นความเศร้าใจเพราะมันเป็นการบอกถึงประชาชนว่าเราได้สูญเสียศักดิ์ศรีและอำนาจในเวทีโลก วิกฤตการณ์นี้ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของสงครามเย็นที่กว้างขึ้น[16] ความกังวลของประชาชนยังไม่ได้หายไปไหนเพราะต่อมาสหภาพโซเวียตได้ส่ง ไลกา (หนึ่งในสุนัขที่ถูกส่งเข้ามาในอวกาศในช่วงปีทศวรรษ 1950 ถึง 1960) ขึ้นสู่อวกาศในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2500 เป็นลูกเร่ือของ สปุตนิก 2 ซึ่งเป็นภัยคุกคามน้อยลงและุเป็นการวางแผนการโฆษณาชวนเชื่อมากขึ้น[10]
- ↑ 1.0 1.1 "Some History of the Department of Astronomy". University of Illinois at Urbana-Champaign. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 May 2007.
- ↑ 2.0 2.1 Kay, Sean (April–May 2013). "America's Sputnik Moments". Survival. doi:10.1080/00396338.2013.784470.
- ↑ https://books.google.com/books?id=BHtF_PVzL2gC&pg=PA55&lpg=PA55&dq=u2+intelligence+supremacy&source=bl&ots=DyIN5u0MYg&sig=Y3ghEubrnv-ccZgrn6R22237Z10&hl=en&sa=X&ved=0ahUKEwjey9eylK7RAhXCMGMKHV4FDSYQ6AEIGjAA#v=onepage&q=u2%20intelligence%20supremacy&f=false
- ↑ Kaiser, David (2006). "The Physics of Spin: Sputnik Politics and American Physicists in the 1950s". Social Research.
- ↑ 5.0 5.1 Macdougall, Ian (August 15, 2016). "The Leak Prosecution That Lost the Space Race". The Atlantic.
- ↑ 6.00 6.01 6.02 6.03 6.04 6.05 6.06 6.07 6.08 6.09 Mieczkowski, Yanek (2013). Eisenhower's Sputnik Moment: The Race for Space and World Prestige. United States of America: Cornell University Press. p. 11. ISBN 978-0-8014-5150-8.
- ↑ King, I. R.; McVittie, G. C.; Swenson, G. W.; Wyatt, S. P. (9 November 1957). "Further observations of the first satellite". Nature (4593): 943. Bibcode:1957Natur.180..943K. doi:10.1038/180943a0.
- ↑ Isachenkov, Vladimir (1 October 2007). "Secrets of Sputnik Launch Revealed". USA Today. Associated Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 February 2014. สืบค้นเมื่อ 13 February 2014.
- ↑ 9.0 9.1 9.2 9.3 9.4 Peoples, Columba (2008). "Sputnik and 'Skill Thinking' Revisited: Technological Determinism in American Responses to the Soviet Missile Threat". Cold War History.
- ↑ 10.0 10.1 10.2 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ:3
- ↑ 11.0 11.1 11.2 11.3 11.4 11.5 11.6 11.7 McQuaid, Kim (2007). "Sputnik Reconsidered: Image and Reality in the Early Space Age". Canadian Review of American Studies.
- ↑ 12.0 12.1 History Channel (2012a).
- ↑ Schefter (1999), pp. 25–26.
- ↑ Layman & Tompkins (1994), p. 190.
- ↑ DeNooyer (2007).
- ↑ Barnett, Nicholas (2013). "Russia Wins Space Race: The British Press and the Sputnik Moment, 1957". Media History. 19 (2): 182–195. doi:10.1080/13688804.2013.791419.