ผู้ใช้:Khemjiranat/กระบะทราย

เนื้อหา

    1. ประวัติ
     2. บทบาทในแวดวงธุรกิจ
         2.1 ธุรกิจค้าอาวุธปืน
         2.2 ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ (ซอยสังขะวัฒนะ)
         2.3 โรงเรียนสังขะวัฒนะ
         2.4 ประธานกรรมการหอการค้าไทย 3. เครื่องราชอิสริยาภรณ์
    3. เครื่องราชอิสริยาภรณ์

    1. ประวัติ
           นายอาทร สังขะวัฒนะ เป็นบุตรของคุณพ่อจันทร์ คุณแม่สมบุญ สังขะวัฒนะ เกิดเมื่อวันที่ 17 เมษายน พศ. 2447 ในเขตอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ “สังขะวัฒนะ”(เป็นนามสกุลพระราชทาน พ.ศ. 2437 - 2448)
           นายอาทร เป็นบุตรชายคนที่ 3 ในจานวนพี่น้อง 5 คน ซึ่งพี่สาวได้เสียชีวิตไปหมดแล้ว เหลือเพียงน้องสาวสองคน คือ นางสาวลำเภา สังขะวัฒนะ และนางสุภา โรจนหัสดินทร์ พอคุณอาทรอายุประมาณ 10 ขวบ ก็เดินทางเข้ามาศึกษาที่ โรงเรียนทวีธาภิเศกวัดแจ้ง (วัดอรุณราชวรารม) จนจบชั้นมัธยมศึกษา
           ชีวิตครอบครัว นายอาทร สังขะวัฒนะ สมรสกับ คุณ ไสว สังขะวัฒนะ มีบุตรและธิดา จำนวน 5 คน คือ
                 1. นาง วิมลศรี สังขะวัฒนะ
                 2. นาง ฉวีวรรณ เดชะไกศยะ สมรสกับ นาย สุวิทย์ เดชะไกศยะ
                 3. นาย สโมสร สังขะวัฒนะ สมรสกับ นางเอื้อพันธุ์ สังขะวัฒนะ (เฉลยศิลป์)
                 4. นางสาว สุพรรณพิมพ์ สังขะวัฒนะ สมรสกับ นาย สัมพันธ์ จุลกสิกร
                 5. นาย รัชฎา สังขะวัฒนะ สมรสกับ นาง วิยะดา สังขะวัฒนะ (วัฒนเสนีย์)
           คุณอาทร สังขะวัฒนะ ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันเสาร์ที่ 23 สิงหาคม 2529 สิริรวมอายุได้ 82 ปี 4 เดือน 6 วัน โดยเวลา 07.10 น. นั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานน้าหลวงอาบศพ และได้พระราชทานพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรม กาหนด 3 คืน ณ หอสมุด ป.กิตติวัน วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม กรุงเทพมหานคร
    2. บทบาทในแวดวงธุรกิจ
          2.1 ธุรกิจค้าอาวุธปืน
          หลังจากที่คุณอาทร จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนทวีธาภิเศกจากนั้นจึงได้มาเป็นลูกจ้างอาศัยอยู่ที่ร้านค้าอาวุธปืนแห่งหนึ่ง ย่านวันเกาะ เจ้าของร้านชื่อตาชัน และยายแดง ด้วยความหมั่นเพียรวิริยะอุสาหะ จึงยกระดับฐานะตนเองขึ้นมาเป็นหุ้นส่วนกับผู้มีอุปการะคุณ
          ภายหลังจึงแยกตัวออกมาจากหุ้นส่วนและมาตั้งร้านขายอาวุธปืน และเครื่องกระสุนปืนของตนเองขึ้นที่ย่านถนนเจริญกรุงตอนสามยอด (ฝั่งหน้าโรงหวย) ชื่อว่า “ห้างปืนสากล” ต่อมาได้เปิดร้านร้านค้าน้ามันขึ้น ชื่อว่า “ร้านสหยนต์” โดยมีน้องสาว นางสาวสาเภา สังขะวัฒนะ เป็นผู้ดูแล ในขณะนั้นธุรกิจเริ่มดีขึ้นเรื่อยๆ จนเกินความสามารถที่จะควบคุมดูแลจึงตัดสินใจเซ็งร้านสหยนต์ ให้บุคคลอื่นไป แล้วหันมามุ่งลงทุนด้านค้าอาวุธปืนเพียงอย่างเดียว โดยย้ายร้านค้าอาวุธปืน มาทางฝั่งตรงข้าม (หน้าโรงหวย) เปลี่ยนชื่อร้านเป็น “ห้างอาทรพานิช”และเปลี่ยนเป็น “บริษัท อาทรพานิช จากัด” ซึ่งจำหน่ายอุปกรณ์และเครื่องมือเกษตรกรรม (Yanmar, Japan) อาวุธปืน (Llama, Spain) และกระสุนปืน เครื่องยนต์ เครื่องไฟฟ้า ภายหลัง มีทั้งสินค้านำเข้า และส่งออก เรียกได้ว่าเป็นบริษัทฯที่ทาการค้าวุธ และโรงสีข้าวขนาดใหญ่ในเมืองไทยบริษัทหนึ่ง
          ในปี พ.ศ. 2511 ธุรกิจเริ่มมั่นคง คุณอาทร ตัดสินใจแยกบริษัทฯออกมาตั้งที่ปากซอยพหลโยธิน 9 เยื้อง ส.น. บางซื่อ โดยใช้ชื่อว่า “บริษัท อาทรไสวแอนด์ซันส์ จากัด” โดยบริษัทเป็นหนึ่งในผู้บุเบิกในการเป็นตัวแทนขายอาวุธยุทโธปกรให้กับรัฐบาล เช่น เครื่องบิน (Merlin and Learjet, USA; Skyvan, UK) เฮลีคอปเตอร์ (Kawasaki Bell, Japan and Bell, USA) รถหุ้มเกราะ (Cadillac Gage, USA; Shorland, UK) เรือตรวจการ (Sumidagawa, Japan) อู่ต่อเรือ (Teledyne, USA) เป็นต้น
          2.2 ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ (ซอยสังขะวัฒนะ)
          เมื่อ กรุงเทพฯ เริ่มเจริญขึ้น ประชาชนเริ่มหลั่งไหลเข้าสู่เมืองหลวง ทาให้ที่อยู่อาศัยไม่เพียงพอจึงเป็นจุดเริ่มต้นของคุณอาทร ที่คิดจะจัดสรรที่ดินบริเวณชานเมือง
          จุดที่ 1 ซอยอินทามระทั้งหมด ถนนสุทธิสารสายใหม่ตรงไปจนจรดวัดห้วยขวาง เพื่อจาหน่ายให้แก่ข้าราชการตารวจ
          จุดที่ 2 ซอยสังขะวัฒนะ 1 (ซอยลาดพร้าว 1) สังขะวัฒนะ 2 (ซอยลาดพร้าว 3) ถนนลาดพร้าวฝังเหนือ จรดคลองลาดพร้าว ซอยสังขะวัฒนะ 3 (ซอยลาดพร้าว 31) จุดที่สาคัญที่สุดคือ ตัดถนนแยกจากถนนลาดพร้าว กม.4 (ซอยโชคชัย 4) ปัจจุบัน ตัดตรงผ่านโรงพยาบาลสยามขึ้นไปจรดซอยเสนานิคม 1 เป็นบริเวณกว้างที่มีถนนซอยในบริเวณนั้นกว่า 30 กม. และปัจจุบันกลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่ มีหมู่บ้านเกิดขึ้นหลายหมู่บ้าน
          จุดที่ 3 บริเวณถนนรามอินทราฝั่งเหนือ จาก กม. 1-2-3 จนจรด กม.4 จัดสรรที่ดินให้แก่ข้าราชการกรมตารวจ
          2.3 โรงเรียนสังขะวัฒนะ
         คุณอาทรได้ซื้อที่ดินและได้บริจาคที่ดินให้สร้างวัด โรงเรียน และอนามัยอยู่หลายแห่ง
                     1.โรงเรียนอาทรสังขะวัฒนะ 1 วัดลาดบัว
          โรงเรียนอาทรสังขะวัฒนะ 1 วัดลาดบัว เดิมชื่อ โรงเรียนวัดลาดบัว ก่อตั้งขึ้น เมื่อวันที่ 10 กรกฏาคม 2481 โดย ขุนอานวย มงคลราษฎร์ นายอาเภอสองพี่น้อง และ นายสนั่น เชยสุวรรณ ศึกษาธิการอาเภอสองพี่น้อง เปิดทาการสอนเมื่อ วันที่ 1 สิงหาคม 2482 ดาเนินการสอนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยอาศัยศาลาการเปรียญ วัดลาดบัวหอม เป็นที่เรียน ทั้งนี้มีผู้บริหารโรงเรียนทั้งสิ้น 6 คน ผู้บริหารคนที่ 1 คือ นายทุเรียน โพธิกุล 2. นายเจริญ ศรีลาเจียก 3. นายสง่า สุดมุข 4. นายประเสริฐ ศรีอินทร์งาม 5. นายไพบูลย์ เทพฤทธิ์ 6. นายชูชัย อุบาลี และ 7.นายสมภพ วงศ์ศรีเผือก ดารงตาแหน่งเป็นผู้บริหารโรงเรียนคนปัจจุบัน
          ปี พ.ศ. 2511 ทางราชการได้จัดสรรงบประมาณ สร้างอาคารเรียนแบบ 008 ขนาด 6 ห้องเรียน จานวน 1 หลัง และมีนายอาทร สังขะวัฒนะ ร่วมกับประชาชนในท้องถิ่นบริจาคเงินสมทบกับงบประมาณของทางราชการเปิดป้ายอาคารเรียน เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2511 โดยสมเด็จพระวันรัตน์ (ปุ่น ปุณสิริ) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เป็นองค์ประธาน และให้ชื่อโรงเรียนใหม่ว่า “โรงเรียนอาทรสังขะวัฒนะ 1 วัดลาดบัว”
                     2.โรงเรียนอาทรสังขะวัฒนะ 2 วัดวังตะกู
          โรงเรียนอาทรสังขะวัฒนะ 2 วัดวังตะกู จัดตั้งครั้งแรก เมื่อวันที่ 18 กรกฏาคม 2482 เป็นโรงเรียนประเภทนายอาเภอจัดตั้ง มีพระวรภักดิ์ พิบูลย์ นายอาเภอสองพี่น้อง เป็นประธานในการเปิดโรงเรียน โดยใช้ชื่อว่า "โรงเรียนประชาบาลศรีสาราญ 4" (ประสาทวิทยาคมวัดจอมปราสาท) โดยมีนายสน กระต่ายทอง เป็นครูใหญ่ อาคารเรียนเป็นไม้ไผ่ มุงด้วยแฝก ไม่มีฝา อยู่กับดิน กว้าง 10 เมตร ยาว 12 เมตร มีชั้นเตรียมประถมและชั้นป.1 มีนักเรียน 68 คน และได้ขยายชั้นเรียนเพิ่มขึ้นในปีต่อๆมาในปี พ.ศ.2513 นายห้างอาทร สังขะวัฒนะ ได้ให้ทุนซื้อที่ดินขยายเพิ่มให้อีก 4 ไร่ และทาสีอาคารทั้งหลังทาพื้นคอนกรีตและทารั้วคอนกรีต รวมเป็นเงิน 65,000 บาท สร้างอาคารเสร็จแล้วเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "โรงเรียนอาทรสังขะวัฒนะ 2 วัดวังตะกู" โดยสมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น สิริปัญโญ) เสด็จมาเป็นองค์ประธานเปิดป้ายโรงเรียน เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2513
                     3.โรงเรียนแหลมสิงห์วิทยาคม (อาทรสังขะวัฒนะอุปถัมภ์) อาเภอ แหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี
                     4.โรงเรียนทวีธาภิเศก บางขุนเทียน
          2.4 ประธานกรรมการหอการค้าไทย
          คุณอาทร เป็นบุคคลที่มีความคิดก้าวไกลอยู่ตลอดเวลา จากความรู้ความสามารถประกอบกับประสบการณ์อันยาวนานในแวดวงธุรกิจ เป็นนักธุรกิจที่ประสบความสาเร็จ อีกทั้งยังเป็นบุคคลที่น่าเคารพนับถือในวงการธุรกิจ อาทิ เช่น คุณสง่า วรรณดิษฐ์ - คุณเชื้อ ชนานพ - คุณเล็ก โกเมศ - คุณจุลินทร์ ล่าซ่ำ - คุณประทุม สุสังกร์กาญจน์ - คุณจรูญ สีบุญเรือง - คุณพงษ์สวัสดิ์ สุริโยทัย - คุณบรรเจิด ชลวิจารณ์ - คุณอรุณ แสงสว่างวัฒนะ -คุณอุเทน เตชะไพบูลย์ - มารุต บุนนาค - คุณเกียรติ วัธนเวคิน - คุณทินกร พันธุ์กวี - คุณชมพู อรรถจินดา - คุณบรรเจิด ชลวิจารณ์ - คุณถาวร พรประภา - คุณนายห้างกมล สุโกศล - คุณพจน์ สารสิน ฯลฯ จึงทำให้คุณอาทรได้ขนานนามว่า “นายห้างอาทร” คุณอาทรยัง ได้รับความไว้วางใจให้ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมพ่อค้าไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อปี พ.ศ. 2492 และในปี พ.ศ. 2512 รวมถึงให้ดำรงตำแหน่งประธานหอการค้าไทยคนที่ 8 ระหว่างปี พ.ศ. 2500 - 2501 นอกจากนั้นยังเคยดำรงตำแหน่งสำคัญๆอีกมากมาย อาทิ เช่น
          วุฒิสภา ประมาณปี พ.ศ. 2518 - 2519
          นายกกิตติมศักดิ์สโมสรสหมิตร
          นายกสมาคมศิษย์เก่าทวีธาภิเศก
          นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ปกครองและครูทวีธาภิเศก
          ที่ปรึกษาคณะกรรมการสมาคมไทย - ญี่ปุ่น
    3. เครื่องราชอิสริยากรณ์
          เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ที่คุณอาทร สังขะวัฒนะ ได้รับพระราชทาน
          ● จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.) 25 ธันวาคม 2496
          ● ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.) 16 มีนาคม 2499
          ● ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.) 19 กุมภาพันธ์ 2502
          ● ทวิติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.) 5 ธันวาคม 2502
          ● ทวิติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.) 5 ธันวาคม 2504
          ● ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.) 5 ธันวาคม 2509
          ● ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.) 5 ธันวาคม 2521