ไฟล์:Images58.jpg

การจัดองค์การกรุงเทพมหานคร แก้

การจัดองค์การหรือโครงการสร้างบริหารกรุงเทพมหานคร แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ฝ่ายนิติบัญญัติ (สภากรุงเทพมหานคร) และฝ่ายบริหาร

1. ฝ่ายนติบัญญัติ เรียกว่า สภากรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย

1.1 สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภากรุงเทพมหานครซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนในเขตต่างๆของ กทม. โดยมีเกณฑ์จำนวนราษฎร 100,000 คน ต่อสมาชิก กทม. 1 คน และถือเขตแต่ละเขตเป็นเขตเลือกตั้ง ถ้าเขตใดมีราษฎรไม่ถึง 100,000 คน ให้มีสมาชิกในเขตนั้นได้ 1 คน ถ้าเขตใดมีราษฎรเกิน 100,000 คน ให้มีสมาชิกในเขตนั้นเพิ่มขึ้น 1 คน ต่อราษฎรทุก 100,000 คน (เศษของ 100,000 คน ถ้าถึง 50,000 หรือมากกว่านั้นให้นับเป็น 100,000) โดยสมาชิกสภา กทม. มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี นับตั้งแต่วันเลือกตั้ง

1.2 ประธานสภากรุงเทพมหานคร ประธานสภากรุงเทพมหานคร มีได้ 1 คน ซึ่งสภา กทม. เลือกจากสมาชิกสภา โดยมีวาระในตำแหน่งคราวละ 2 ปี

1.3 รองประธานสภากรุงเทพมหานคร รองประธานสภากรุงเทพมหานคร มีได้ไม่เกิน 2 คน ซึ่งสภา กทม. เลือกจากสมาชิกสภา โดยมีวาระในการดำรงตำแหน่งคราวละ 2 ปี

2. ฝ่ายบริหาร ประกอบด้วย

2.1 ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีได้ 1 คน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคนเป็นหัวหน้าบริหารที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี นับตั้งแต่วันเลือกตั้ง

  • ถ้าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ้นจากตำแหน่งตามวาระ ต้องจัดการเลือกตั้งขึ้นใหม่ภายใน 60 วัน นับแต่วันสิ้นสุดวาระ แต่ถ้าตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

ว่างลงโดยเหตุอื่น เช่น ตาย ลาออก ขาดคุณสมบัติ ยุบสภากรุงเทพมหานคร ต้องทำการเลือตั้งใหม่ภายใน 90 วัน และให้ผู้ได้รับการเลือกตั้งอยู่ในตำแหน่งโดยเริ่มนับวาระใหม่*

2.2 รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีได้ไม่เกิน 4 คน ซึ่งมาจากการแต่งตั้งของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

2.3 ปลัดกรุงเทพมหานคร ปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ โดยเป็นหัวหน้าฝ่ายข้าราชการประจำ

2.4 รองปลัดกรุงเทพมหานคร รองปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญคนหนึ่งหรือหลายคน เป็นผู้ช่วยสั่งการหรือปฏิบัติราชการแทนปลัดกรุงเทพมหานคร







อินเตอร์เน็ตความเร็วสูงADSL แก้

การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตจากคอมพิวเตอร์นั้นทำได้หลายวิธี โดยวิธีที่มีราคาถูกที่สุดคือการต่อไปยังผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตผ่านทางสายโทรศัพท์ แต่เดิมนั้นจะใช้เครื่องมือที่เรียกว่าโมเด็มในการรับส่งข้อมูล เนื่องจากสายโทรศัพท์ถูกออกแบบมาให้ส่งสัญญาณอนาล็อก จึงต้องใช้โมเด็มเป็นตัวเปลี่ยนสัญญาณดิจิตอลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณอนาล็อกแล้วส่งไปตามสาย ส่วนฝ่ายที่รับข้อมูลจะนำสัญญาณอนาล็อกที่มาจากสายโทรศัพท์เปลี่ยนให้เป็นสัญญาณดิติตอลของคอมพิวเตอร์อีกครั้งหนึ่ง การทำงานในลักษณะนี้ทำให้การรับส่งข้อมูลของโมเด็มนั้นทำได้ความเร็วสูงสุดไม่เกิน 56 กิโลบิตต่อวินาที(kbps)แต่ในการทำงานจริงแล้วจะได้ความเร็วต่ำกว่านี้ เนื่องจากคุณภาพของคู่สายโทรศัพท์อาจจะไม่ดีพอ หากผู้ใช้อินเตอร์เน็ตต้องการใช้อินเตอร์เน็ตที่มีความเร็วสูงขึ้นก็อาจใช้ ระบบสายเช่า(Leased Line) หรือระบบ ISDN แทน แต่ก็จะมีราคาสูงกว่าระบบโมเด็มหลายเท่า

--Bell B21 (พูดคุย) 11:06, 7 สิงหาคม 2557 (ICT)