ผู้ใช้:Arunothai Arthit/ทดลองเขียน

พระธรรมคุณาภรณ์ (เจียร ปภสฺสโร ป.ธ.๗) แก้

อดีตเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร รูปที่ ๑๓

อดีตเจ้าสำนักเรียนวัดอรุณราชวราราม รูปที่ ๔

อดีตอาจารย์ใหญ่สำนักเรียนวัดอรุณราชวราราม รูปที่ ๒

ประวัติ แก้

นามเดิม เจียร นามสกุล จำปาศรี เกิดเมื่อวันที่ ๖ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๕๖ ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีฉลู ณ บ้าน ตำบลลาดหลุมแก้ว อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี เป็นบุตรของนายอิน และนางทิพย์ จำปาศรี มีอายุ ๑๑ ปี เรียนจบประถมศึกษาแล้ว ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดบัวขวัญ อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๗ พระครูนิโรธมุนี (กลับ)[1] วัดตำหนักเหนือ อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี เป็นพระอุปัชฌาย์ พำนักอยู่วัดบัวขวัญไม่นานนัก นายอิน โยมบิดาได้นำมาฝากกับพระมหาพูน สจฺจาสโภ (ทรัพย์สถิตย์กุล)[1] อดีตเจ้าคณะ ๔ ครั้นมีอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ จึงอุปสมบท เมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ โดยมีพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (นาค สุมนนาโค)[2] เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูปลัดสุวัฒนศีลคุณ (นันท์ อินฺทโชติ) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระศากยบุตติยวงศ์ (อยู่ ปุญฺญวฑฺฒโน)[3] เป็นพระอนุสาวนาจารย์

ในสมัยเป็นสามเณร ท่านได้ปรารภเหตุลาสิกขา จึงได้ศึกษาแนวนางการเรียนมหาวิทยาลัย คือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับสามเณรผู้เป็นสหธรรมิก โดยมีควานสนใจในด้านกฎหมาย ปรัชญา และยังมีความรู้ความสามารถในภาษาอังกฤษ[4]  แต่โยมมารดา รวมถึงพระอุปัชฌาย์ ไม่อนุญาต โดยสามเณรผู้เป็นสหธรรมิกนั้นได้ลาสิกขาไป จนเรียนจบกฎหมายที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เจริญในหน้าที่การงานจนกระทั้งเป็นผู้พิพากษาศาลฎีกา ในนามว่า “เฉลิม สถิตย์ทอง” [5] [2]


[1] ภายหลังพระมหาพูน ลาสิกขาไปมีครอบครัว ต่อมาได้กลับมาอุปสมบทใหม่อีกครั้ง โดยมีพระธรรมคุณาภรณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูกาญจนยติกิจ วัดกระต่ายเต้น เป็นพระอาจารย์

[2] ภายหลังดำรงสมณศักดิ์พระราชาคณะเจ้าคณะรองหิรัญยบัฏ ที่ พระพิมลธรรม (นาค สุมนนาโค)

[3] ภายหลังดำรงสมณศักดิ์พระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชวิสุทธิญาณ[3]

[4] จากบันทึกส่วนตัว “วิชชาเบ็ดเตล็ด” เก็บรักษาไว้ที่คณะ ๘

[5] เสียชีวิตแล้ว

การศึกษา แก้

แผนกธรรม

พ.ศ. ๒๔๘๐ สอบไล่ได้นักธรรมชั้นเอก วัดอรุณราชวราราม สำนักเรียนวัดอรุณราชวราราม

แผนกบาลี

พ.ศ. ๒๔๗๔ สอบไล่ได้เปรียญธรรม ๓ ประโยค วัดอรุณราชวราราม สำนักเรียนวัดมหาธาตุ

พ.ศ. ๒๔๗๕ สอบไล่ได้เปรียญธรรม ๔ ประโยค วัดอรุณราชวราราม สำนักเรียนวัดมหาธาตุ

พ.ศ. ๒๔๗๖ สอบไล่ได้เปรียญธรรม ๕ ประโยค วัดอรุณราชวราราม สำนักเรียนวัดมหาธาตุ

พ.ศ. ๒๔๘๑ สอบไล่ได้เปรียญธรรม ๖ ประโยค วัดอรุณราชวราราม สำนักเรียนวัดอรุณราชวราราม

พ.ศ. ๒๔๘๗ สอบไล่ได้เปรียญธรรม ๗ ประโยค วัดอรุณราชวราราม สำนักเรียนวัดอรุณราชวราราม

งานด้านการปกครอง แก้

พ.ศ. ๒๔๘๗ เป็นกรรมการสงฆ์อำเภอบางกอกใหญ่ ในหน้าที่ศึกษาอำเภอ

พ.ศ. ๒๔๙๒ เป็นเจ้าคณะอำเภอบางกอกใหญ่ จังหวัดธนบุรี

พ.ศ. ๒๔๙๙ เป็นเจ้าคณะตำบลวัดอรุณ จังหวัดธนบุรี อีกตำแหน่ง

พ.ศ. ๒๔๙๙ เป็นพระอุปัชฌาย์

พ.ศ. ๒๕๐๓ เป็นกรรมการ ในคณะกรรมการพิจารณาคำร้องในคณะสงฆ์

พ.ศ. ๒๕๐๕ เป็นกรรมการพัฒนาวัด ส่วนภูมิภาค

พ.ศ. ๒๕๐๗ - พ.ศ. ๒๕๐๘ เป็นรองเจ้าคณะภาค ๑๖

พ.ศ. ๒๕๐๘ - พ.ศ. ๒๕๑๖ เป็นเจ้าคณะภาค ๑๖ (๒ สมัย)

พ.ศ. ๒๕๑๑ ได้รับพระบัญชาแต่งตั้งเป็นรองเจ้าอาวาสพระอารามหลวง วัดอรุณราชวราราม[1]

พ.ศ. ๒๕๑๓ วันที่ ๒ ธันวาคม เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส (ครั้งที่ ๑)

พ.ศ. ๒๕๒๑ วันที่ ๒๐ ตุลาคม เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส (ครั้งที่ ๒)

พ.ศ. ๒๕๒๑ ได้รับพระบัญชาแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสพระอารามหลวง วัดอรุณราชวราราม


[1] วันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๑


งานด้านการศึกษา แก้

พ.ศ. ๒๔๗๙ เป็นกรรมการจัดตั้งสำนักเรียนวัดอรุณราชวราราม

พ.ศ. ๒๔๗๙ เป็นครูสอนพระปริยัติธรรม สำนักเรียนวัดอรุณราชวราราม

พ.ศ. ๒๔๘๐ เป็นกรรมการตรวจประโยคธรรมสนามหลวง และบาลีสนามหลวง

พ.ศ. ๒๔๙๖ เป็นกรรมการนำประโยคบาลีไปเปิดสอบ

งานด้านการเผยแผ่ แก้

ได้อบรมพระภิกษุสามเณรตามโอกาส และแสดงพระธรรมเทศนาทางวิทยุกระจายเสียงเป็นประจำ

งานด้านการสาธารณูปการ แก้

ได้เป็นกำลังช่วยเหลืองานซ่อมแซมพระอารามของเจ้าอาวาสโดยลำดับ

พ.ศ. ๒๔๙๖ ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการโรงพยาบาลสงฆ์

พ.ศ. ๒๕๑๐ เป็นกรรมการบูรณะพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม ซึ่งรัฐบาลแต่งตั้ง

พ.ศ. ๒๕๑๓-๒๕๒๑ ได้บูรณปฏิสังขรณ์พระอารามคือ

๑. ซ่อมแซมประตู เชิงชาย ใบระกา หางหงส์ของพระอุโบสถ สิ้นเงิน ๘๐,๐๐๐ บาทเศษ

๒. ซ่อมสะพาน สิ้นเงิน ๒๕,๐๐๐ บาทเศษ

๓. ซ่อมพระวิหาร สิ้นเงิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท

๔. ซ่อมกุฏิสงฆ์ สิ้นเงิน ๕๐,๐๐๐ บาทเศษ

๕. ซ่อมศาลาบำเพ็ญกุศล ๑ หลัง สิ้นเงิน ๒๕๐,๐๐๐ บาท

๖. ซ่อมแซมกุฏิสงฆ์คณะ ๗ สิ้นเงิน ๔๐,๐๐๐ บาท

๗. อวยการสร้างหอสมุดสมเด็จฯ สิ้นเงิน ๒๐,๐๐๐ บาท

๘. ซ่อมแซมช่อฟ้าพระอุโบสถ ตัวที่ ๒ สิ้นเงิน ๒๒,๐๐๐ บาท

๙. ซ่อมแซมพระระเบียงพระอุโบสถ สิ้นเงิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท

๑๐. อำนวยการสร้างศาลาบำเพ็ญกุศลอีก ๑ หลัง พร้อมอุปกรณ์ สิ้นเงิน ๑๒๑,๓๔๗ บาท

๑๑. ได้ดำเนินการออกโฉนดที่ดินของวัดจนสมบูรณ์

พ.ศ. ๒๕๒๑-๒๕๒๔ ขณะดำรงดำแหน่งเจ้าอาวาส

๑. ซ่อมกุฏิคณะ ๓ หนึ่งหลัง

๒. ซ่อมผนัง ชุกชี และฐานพระในโบสถ์น้อย

๓. ซ่อมกุฏิคณะ ๑ หนึ่งหลัง

๔. ซ่อมกุฏิคณะ ๘ สองหลังแรก

๕. สร้างศาลาที่พักตำรวจหน้าวัด

๖. จัดทำสนาม ปลูกหญ้า-ต้นไม้ บริเวณหน้าวัด

๗. ซ่อมเขื่อน เทพื่นรอบลานต้นพระศรีมหาโพธิ์

๘. ซ่อมช่อฟ้า ใบระกาพระอุโบสถ และพระระเบียง

๙. ซ่อมกุฏิคณะ ๘ อีก ๒ แถว

งานพระวินัยธร-พระธรรมธร แก้

พ.ศ. ๒๔๙๔-๒๔๙๙ เป็นพระวินัยธร ชั้นต้น ภาค ๑ เขต ๑ (๖ จังหวัด)

พ.ศ. ๒๕๐๖ เป็นกรรมการและเลขานุการ พิจารณาอธิกรณ์ที่ค้างปฏิบัติก่อนพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕[4] ตามความใน (๗) ก. ข้อ ๓ แห่งกฎมหาเถรสมาคมฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๐๖)

งานพิเศษ แก้

เป็นคณะอนุกรรมการพิจารณาเรื่องต่าง ๆ เช่น เรื่องตลาดวัดจันทาราม

เป็นเจ้าหน้าที่ชำระเรื่องราวคณะสงฆ์อนัมนิกาย ที่มีเรื่องขัดแย้งกันภายในคณะ แทนสมเด็จฯ ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช[1]

พ.ศ. ๒๕๐๙ วันที่ ๑๑ มิถุนายน ไปเยี่ยมดูแลการคณะสงฆ์ในสหพันธรัฐมาเลเซีย และสิงคโปร์ อย่างเป็นทางการ ซึ่งมีเจ้าพระคุณสมเด็จพระวันรัต (ปุณฺณสิริมหาเถร) เป็นหัวหน้าคณะ


[1] สมเด็จพระพุฒาจารย์ (วน ฐิติญาโณ)

ลำดับสมณศักดิ์ แก้

พ.ศ. ๒๔๙๒ ได้รับพระราชทานตั้งสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ ที่ พระญาณสมโพธิ[5]

พ.ศ. ๒๕๐๑ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชโมลี ศรีปาวจนาภรณ์ ธรรมพาที ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี [6]

พ.ศ. ๒๕๐๖ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ที่ พระเทพมุนี ศรีวิสุทธิศีลาจารย์ ญาณนายก ตรีปิฎกธาดา มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี [7]

พ.ศ. ๒๕๑๗ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่ พระธรรมคุณาภรณ์ สุนทรศีลาจาร ศาสนกิจวิธานธารี ตรีปิฎกวิภูสิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี [8]


[1] ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 66, ตอนที่ 66 ง, 6 ธันวาคม 2492, หน้า 5,403

[2] ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ เล่ม 75, ตอนที่ 109, 23 ธันวาคม 2501, หน้า 3142

[3] ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 80, ตอนที่ 122 ง ฉบับพิเศษ, 27 ธันวาคม 2506, หน้า 1

[4] ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 91, ตอนที่ 229, 31 ธันวาคม 2517, หน้า 7

มรณภาพ แก้

พระธรรมคุณาภรณ์ ถึงแก่มรณภาพ เมื่อวันที่ ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๔ ด้วยโรคหัวใจล้มเหลว สิริอายุได้ ๖๘ ปี ๔๗ พรรษา

  1. https://sites.google.com/site/wattumnoknoein/ladab-cea-xawas
  2. https://www.ocsc.go.th/sites/default/files/document/y22b01.pdf
  3. https://www.somdechsuk.org/node/44
  4. http://web.krisdika.go.th/data/law/law2/%A401/%A401-20-9998-update.pdf
  5. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2492/D/066/5403.PDF
  6. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2501/D/109/3130.PDF
  7. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2506/D/122/1.PDF
  8. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2517/D/229/1.PDF