สมเด็จพระพุฒาจารย์ (วน ฐิติญาโณ)

สมเด็จพระพุฒาจารย์ นามเดิม วน ฉายา ฐิติญาโณ เป็นสมเด็จพระราชาคณะฝ่ายมหานิกาย ได้ดำรงตำแหน่งสำคัญ เช่น เจ้าอาวาสวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร เจ้าคณะใหญ่หนใต้ กรรมการมหาเถรสมาคม และอดีตผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช

สมเด็จพระพุฒาจารย์

(วน ฐิติญาโณ)
คำนำหน้าชื่อท่านเจ้าประคุณ
ส่วนบุคคล
เกิด25 เมษายน พ.ศ. 2437 (83 ปี 177 วัน ปี)
มรณภาพ19 ตุลาคม พ.ศ. 2520
โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพมหานคร
นิกายมหานิกาย
การศึกษานักธรรมชั้นเอก
เปรียญธรรม 6 ประโยค
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร
อุปสมบทพ.ศ. 2457
ตำแหน่งอดีตผู้รักษาการเจ้าคณะมณฑลปราจีนบุรี
อดีตเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม
อดีตผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช

ประวัติ

แก้

ชาติกำเนิด

แก้

สมเด็จพระพุฒาจารย์ มีนามเดิมว่าวน เกิดเมื่อวันพุธที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2437 เป็นบุตรพระวิชิตชาญณรงค์ (เทศ วิชิตะกุล) เจ้าเมืองปราณบุรี กับนางวิชิตชาญณรงค์ (ทองอยู่ วิชิตะกุล) ภูมิลำเนาอยู่ตำบลบ้านนารายณ์ อำเภอเมืองเพชรบุรี มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 8 คน[1]

การศึกษา

แก้

เมื่ออายุได้ 7 ปี ติดตามบิดาไปอยู่อำเภอปราณบุรี ได้เรียนภาษาไทยกับ พระครูสุทธาจารคุณ (อ่ำ) วัดนาห้วย ในปีพ.ศ. 2446 บิดาได้ฝากเป็นศิษย์ของพระอาจารย์แก้ว ที่วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร ได้เรียนภาษาบาลีกับพระมหาถนอม อคฺคปญฺโญ ต่อมาได้ฝากตัวเป็นศิษย์ของพระครูฌาณภิรัต (โป๊ะ) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร เรียนภาษาไทยและภาษาบาลีที่โรงเรียนกล่อมพิทยากร พออายุได้ 15 ปี จึงได้บรรพชาโดยมีพระอาจารย์หมก วัดพระเชตุพนฯ เป็นพระอุปัชฌาย์ พ.ศ. 2456 สอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค ถึงปีพ.ศ. 2457 ได้กลับไปอุปสมบท ณ วัดนาห้วย เมืองปราณบุรี โดยมีพระอาจารย์เดิม เป็นพระอุปัชฌาย์ สมเด็จพระวันรัต (เผื่อน ติสฺสทตฺโต) ขณะยังดำรงสมณศักดิ์ที่พระศากยบุตติยวงศ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ เมื่อบวชแล้วกลับมาอยู่วัดพระเชตุพนฯ ตามเดิม ได้เป็นครูสอนพระปริยัติธรรมของสำนัก ต่อมาสอบได้เป็นเปรียญธรรม 6 ประโยค และสอบนักธรรมชั้นเอกได้เป็นรุ่นแรก[2]

 
สมเด็จพระพุฒาจารย์(วน) วัดอรุณราชวราราม ได้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่วันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๘ ถึงวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๘

สมณศักดิ์

แก้
  • พ.ศ. 2464 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระวิเชียรธรรมคุณาธาร
  • พ.ศ. 2482 เป็นพระราชาคณะชั้นราชในราชทินนามเดิม
  • 8 มิถุนายน พ.ศ. 2490 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพมุนี ศรีวิสุทธศีลาจารย์ ญาณนายก ตรีปิฎกธรา มหาคณฤศร บวรสังฆาราม คามวาสี[3]
  • 4 ธันวาคม พ.ศ. 2492 เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมไตรโลกาจารย์ ปรีชาญาณดิลก ตรีปิฎก คุณาลงกรณ์ ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[4]
  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2504 เป็นรองสมเด็จพระราชาคณะที่ พระธรรมปัญญาบดี ศรีวิสุทธิคุณ สุนทรนายก ตรีปิฎกคุณาลังการวิภูสิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[5]
  • 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2506 เป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์ สมถวิปัสสนายานปรีชา อรัญญิกมหาปริณายก ตรีปิฎกโกศล วิมลคัมภีรญาณสุนทร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัณยวาสี[6]

ตำแหน่ง

แก้
 
เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์(วน) มรณภาพเมื่อวันที่ ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๐ สิริชนมายุ ๘๓ ปี ๖ เดือน ๒๔ วัน

มรณภาพ

แก้

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (วน ฐิติญาโณ) ได้มรณภาพด้วยโรคอัมพาต เส้นโลหิตในสมองอุดตัน เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2520 สิริอายุได้ 83 ปี 177 วัน ได้รับพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2521

อ้างอิง

แก้
เชิงอรรถ
  1. เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๒, หน้า 141
  2. เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๒, หน้า 142
  3. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 64, ตอนที่ 27 ง, 17 มิถุนายน 2490, หน้า 1,527
  4. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 66, ตอนที่ 66 ง, 6 ธันวาคม 2492, หน้า 5,403
  5. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาสมณศักดิ์, เล่ม 78, ตอนที่ 104 ก ฉบับพิเศษ, 15 ธันวาคม 2504, หน้า 7-10
  6. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาสมเด็จพระสังฆราช และ สมเด็จพระราชาคณะ, เล่ม 80, ตอนที่ 45 ก ฉบับพิเศษ, 13 พฤษภาคม 2506, หน้า 6-8
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง สมเด็จพระราชาคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช, เล่ม 82, ตอนที่ 40 ง ฉบับพิเศษ, 15 พฤษภาคม 2508, หน้า 3
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง สมเด็จพระราชาคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช, เล่ม 82, ตอนที่ 44 ง, 1 มิถุนายน 2508, หน้า 1532
บรรณานุกรม
  • กรมศิลปากร. เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๒. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. 450 หน้า. หน้า 141-142. ISBN 974-417-530-3
ก่อนหน้า สมเด็จพระพุฒาจารย์ (วน ฐิติญาโณ) ถัดไป
เริ่มตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่หนใต้ฝ่ายมหานิกาย    
เจ้าคณะใหญ่หนใต้
  สมเด็จพระมหาธีราจารย์