ผู้ใช้:Amornthep.tk/กระบะทราย

ฐานการผลิตปิโตรเลียม (อังกฤษ : Production Facility) หมายถึง ท่อ หรือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต, สกัด, ทำให้เสถียร, แยก หรือจัดการกับปิโตรเลียมหรือแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ หรือเกี่ยวกับการจัดเก็บและการวัด (ซึ่งในที่นี้ รวมถึงท่อ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการสกัดปิโตรเลียม หรือคาร์บอนไดออกไซด์ทั้งจากใต้พื้นดิน และจากตัวอุปกรณ์เองด้วย)[1]

ไฟล์:Production Facility
Production Facility

เวลเฮด แมนนิโฟล แก้

ชุมทางท่อ (Wellhead manifold) เป็นท่อที่ต่อกับหลุมการผลิตหลายๆหลุมเพื่อจะต่อรวมไปที่ สายการผลิต เพื่อเข้าสู่ เซปพาเรเตอร์ (Seperators) หรือ อุปกรณ์ต่างๆ ต่อไป[2]

ไฟล์:Wellhead Manifold
Wellhead Manifold

โปรดักชัน เซปพาเรเตอร์ แก้

โปรดักชัน เซปพาเรเตอร์ (Preduction separator) ท่อลักษณะทรงกระบอก หรือทรงกลม ซึ่งใช้ในการแยก น้ำมัน แก๊ส และน้ำ จากของไหลทั้งหมดที่ผลิตขึ้นมาได้จากหลุม เซปพาเรเตอร์มีทั้งแบบแนวนอน และแนวตั้ง และสามารถแยกออกอีกได้เป็น two-phase separator ซึ่งใช้งานกับน้ำมันและแก๊ส และ three-phase separator ซึ่งใช้งานกับน้ำมัน, แก๊ส และน้ำ นอกจากนี้เซปพาเรเตอร์ยังสามารถแบ่งตามสภาวะการทำงานได้อีกด้วย เช่น ความดันต่ำ สามารถทำงานได้ที่ 10 ถึง 700 psi (69-1241 kPa), ความดันปานกลาง สามารถทำงานได้ที่ 230 ถึง 700 psi (1586-4826 kPa), ความดันสูง สามารถทำงานได้ที่ 975 ถึง 1500 psi (6722-10342 kPa) แรงที่สำคัญในการแยกคือ แรงโน้มถ่วง โดยของไหลที่หนักสุด จะตกตะกอนอยู่ด้านล่าง และขณะเดียวกัน ของไหลที่เบาที่สุด จะอยู่ด้านบน

การทำงาน เริ่มจากการไหลของของไหลเข้ามาในเซปพาเรเตอร์ และชนกับแผ่นโลหะทรงสี่เหลี่ยม ซึ่งส่งผลให้ของเหลว ตกลงสู่ข้างล่างของตัวเซปพาเรเตอร์ และแก๊สแยกตัวขึ้นข้างบน จากผลของแรงโน้มถ่วง ทำให้น้ำและน้ำมันแยกตัวออกจากกันและออกจากเซปพาเรเตอร์ คนละทางกัน[3]
ไฟล์:Production separator
Production separator

ดีแก๊สเซอร์ แก้

ดีแก๊สเซอร์ (Degasser) เป็นความจำเป็นอย่างมากที่จะเอาแก๊สทั้งหมดออกจากน้ำมันดิบก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการผลิตต่อไป ถึงแม้ว่าเซปพาเรเตอร์จะแยกแก๊สบางส่วนออกไปแล้ว แต่ว่า น้ำมันดิบยังมีส่วนผสมของทั้งน้ำมันและแก๊สธรรมชาติอยู่ดี แท๊งค์ทรงสูงนี้จะกำจัดแก๊สเกือบทั้งหมดที่เหลือจากเซปพาเรเตอร์ออกโดยใช้ตัวกลาง เช่น ไกลคอล หรือ แรงโน้มถ่วง น้ำมันซึ่งหนักกว่าแก๊ส จะตกลงไปที่ก้นของแท๊งค์ โดยแก๊สจะลอยขึ้นไป โดยแก๊สส่วนหนึ่งจะใช้ในการทำความร้อน และส่วนที่เหลือเกิน หรือไม่ต้องการแล้ว จะเผาทิ้งไป

ไฟล์:Degasser
Degasser

ฮีท เอกเชนเจอร์ แก้

ฮีท เอกเชนเจอร์ (Heat exchanger) เป็นส่วนหนึ่งของอุปกรณ์ที่สร้างขึ้นเพื่อให้เกิดการถ่ายเทความร้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพจากของไหลที่ร้อนกว่า สู่ของไหลที่เย็นกว่า โดยตัวท่ออาจเป็นแผ่นเรียบ เป็นครีบ หรือสามารถเป็นลูกคลื่น โดยตัวฮีท เอกเชนเจอร์นั้นมีหลายประเภท ประเภทที่นิยมกันมากคือ shell and tube, air cooled exchangers (fin-fan type), hairpin type, plate และ frame type

ไฟล์:Heat exchanger
Heat exchanger

ฮีตเตอร์ แก้

ฮีตเตอร์ (Heater) ขึ้นอยู่กับพื้นที่ ซึ่งจำเป็นจะต้องทำการแยกเกลือออกจากน้ำมันดิบ ฮีตเตอร์สามารถให้ความร้อนกับน้ำมันดิบ และทำให้เกิดกระบวนการ Desalinization (ความร้อนประมาณ 60-65 องศาเซลเซียส)

ไฟล์:Heater
Heater

อิเลคโตสเตติก ดีซาลเตอร์ แก้

อิเลคโตสเตติก ดีซาลเตอร์ (Electrostatic desalter) เนื่องจาก โดยปกติ น้ำมันดิบจะมีส่วนประกอบของน้ำเค็มอยู่มาก ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ต้องเอาเกลือและน้ำออกจากน้ำมันดิบให้ได้มากที่สุด เพื่อเป็นการลด การกัดกร่อน การอุดตัน การเปรอะเปื้อนของอุปกรณ์ และพิษจากตัวเร่งปฏิกิริยาในกระบวนการ โดยดีซาลเตอร์จะลดน้ำ และส่วนประกอบของเกลือที่อยู่ในน้ำมันดิบ เริ่มกระบวนการโดย เพิ่มน้ำสะอาดในน้ำมันดิบ ตะแกรง อิเลคโตสเตติกจะช่วยในการยึดเกาะกันของน้ำเกลือให้จับตัวกันเป็นหยด และตกลง ซึ่งต่อจากกระบวนการนี้ จะสามารถเข้าสู่กระบวนการผลิตต่อไปได้ นอกจากนี้ในบางกรณีอาจใช้ดีซาลเตอร์ตัวที่สองเข้ามาช่วย แต่ก็ขึ้นอยู่กับตัวแปรหลายๆอย่าง

ไฟล์:Electrostatic desalter
Electrostatic desalter

ลันเชอร์ รีซีฟเวอร์ แก้

ลันเชอร์ รีซีฟเวอร์ (Launcher Receiver) ขึ้นนี้เป็นขั้นตอนการเดินทางที่ยาวไกล จากท่อการผลิต (Pipeline) สู่ Down-stream, ขนส่งทางเรือ หรือ การกลั่น โดย Pipeline จะขนส่งน้ำมันดิบหรือแก๊สซึ่งได้รับการทำความสะอาดแล้วเพื่อลดการกัดกร่อน นอกจากนี้ ชิ้นส่วนรูปทรงกลม หรือ ทรงกระบอกซึ่งถูกเรียกว่า พิค (Pig) จะถูกส่งจาก Pipeline ฝั่งหนึ่งถึงฝั่งหนึ่ง เพื่อเป็นการกำจัดเศษฝุ่น หรือ สิ่งปนเปื้อนและใช้ในกระบวนการแบ่งแยกของไหลที่มีการจัดการที่ต่างกันด้วย

ไฟล์:Luncher receiver
Luncher receiver

อ้างอิง แก้

  1. http://setonresourcecenter.com/49CFR/Docs/wcd0000e/wcd00e06.asp
  2. http://www.glossary.oilfield.slb.com/en/Terms.aspx?LookIn=term%20name&filter=manifold
  3. http://www.glossary.oilfield.slb.com/en/Terms/s/separator.aspx