ดีแก๊สเซอร์
ดีแก๊สเซอร์ (อังกฤษ: Degasser) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการขุดเจาะ เพื่อกำจัดแก๊สออกจากของไหลสำหรับการเจาะ (drilling fluid) ซึ่งอาจจะกลายเป็นฟองได้
ดีแก๊สเซอร์
แก้ดีแก๊สเซอร์เป็นส่วนสำคัญในการกำจัดฟองแก๊สเล็ก ๆ ซึ่งฟิลม์ของเหลวห่อหุ้มกักเก็บอยู่ โดยการทำให้ฟองแตกและปลดปล่อยเช่น แก๊สมีเทน, ไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) และ CO2 จากของไหลสำหรับการเจาะ (น้ำโคลน) ไปสู่พื้นผิว โดยของไหลสำหรับการเจาะจะต้องผ่านกระบวนการแยกแก๊ส (degassing technique) จากดีแก๊สเซอร์ ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในระบบไหลเวียนน้ำโคลน (Mud circulation system)
ชนิดของดีแก๊สเซอร์
แก้ถังสุญญากาศ
แก้ดีแก๊สเซอร์ชนิดถังสุญญากาศ (อังกฤษ: Vacuum Tank Degasser) เป็นชนิดที่ใช้อย่างแพร่หลาย สามารถติดตั้งได้ทั้งแบบแนวตั้ง, แนวนอน หรือท่อทรงกลม ซึ่งจะสร้างสภาวะที่เป็นสุญญากาศขึ้นเพื่อดึงแก๊สออกมาจากของไหลสำหรับการเจาะ ซึ่งเมื่อของเหลวเข้ามาในถังจะไหลและแบ่งเป็นชั้นบาง ๆ ภายในแผ่นด้านในดีแก๊สเซอร์ ซึ่งออกแบบให้ไหลแบบสม่ำเสมอ และสุญญากาศจะทำให้แก๊สแยกออกมาจากของเหลวได้ ซึ่งเมื่อสูบแก๊สออกมาแล้วจะนำไปเผาทิ้ง หรือส่งต่อให้ส่วนระบบควบคุมสิ่งแวดล้อม
ชนิดบรรยากาศ
แก้ดีแก๊สเซอร์ชนิดบรรยากาศ (อังกฤษ: Atmospheric Degasser) จะนำของไหลสำหรับการเจาะ เข้าสู่กระบวนการเพิ่มความเร่งโดยผ่านเครื่องสูบซึ่งใบพัดจมอยู่ในของไหล และทำให้ของไหลกระทบกับแผ่นกั้นที่อยู่นิ่งเพื่อทำให้มีพื้นที่มากที่สุด จึงทำให้เกิดการระบายแก๊สออกสู่บรรยากาศได้[1]
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ ASME Shale Shaker Committee (19 November 2004). "9". Dilling Fluids Processing Handbook (1st ed.). Gulf Professional Publishing. pp. 202–207. ISBN 9780750677752.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- การคำนวณสำหรับการประมาณขนาดดีแก๊สเซอร์ในแนวตั้ง เก็บถาวร 2020-07-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน – ขึ้นอยู่กับระยะเวลาขั้นต่ำที่ต้องการในการคงอยู่สำหรับเฟสของเหลว เพื่อให้ฟองก๊าซที่ลอยตัวสามารถหนีออกมาได้