ผู้ใช้:วันวิสาข์ 2013/กระบะทราย

กบภูเขา
กบภูเขา
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Amphibia
อันดับ: Anura
วงศ์: Ranidae
สกุล: Limnonectes
สปีชีส์: L.  blythii
ชื่อทวินาม
Limnonectes blythii
( Boulenger, 1920 )

กบภูเขา แก้

(อังกฤษ: Blyth's River Frog, Kuhl's creek frog, Giant asian river frog, Malayan giant frog[1])
ชื่อพ้อง Rana macrodon var. blythii (Boulenger, 1920) เป็นกบที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลกรองจากกบยักษ์ในทวีปอัฟริกัน พันธุ์ Goliath frog [2] และกบภูเขาจัดว่ามีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย จัดเป็นสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังจำพวกสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก[3] หรือที่เรียกทั่วไปว่าสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ (Amphibian)[4]เป็นกลุ่มของอันดับ(Anura) [5] และอยู่ในชั้นย่อย Lissamphibia

บทนำ แก้

กบยักษ์แห่งเอเชีย แก้

กบภูเขาถูกจัดอยู่ในอันดับ Anura ซึ่งกลุ่มที่มีลักษณะพิเศษต่างจากสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกอันดับอื่น คือ กบในระยะวัยอ่อนจะมีลักษณะแตกต่างไปจากตัวเต็มวัยอย่างชัดเจน เรียกว่า "ลูกอ๊อด"[6] โดยมีรูปร่างคล้ายปลา มีส่วนหัวที่โตมาก มีหาง ไม่มีฟัน โดยในส่วนโครงสร้างของจะงอยปากเป็นสารประกอบเคอราติน หายใจด้วยเหงือกเหมือนซาลาแมนเดอร์ พฤติกรรมการกินอาหารของลูกอ๊อดจะแตกต่างกันไป โดยอาจจะกินแบบกรองกิน หรือกินพืช และกินสัตว์ เมื่อเปลี่ยนรูปร่างเป็นตัวเต็มวัยจึงเปลี่ยนลักษณะการกิน รวมทั้งเปลี่ยนสภาพโครงสร้างของอวัยวะระบบย่อยอาหารรวมทั้งระบบอวัยวะอย่างอื่น ซึ่งการเปลี่ยนรูปร่างของกบนั้นจะต่างจากซาลาแมนเดอร์เป็นอย่างมาก

กบภูเขา ขนาดโตเต็มวัยความยาวจากปลายจมูกถึงปลายก้น 28 เซนติเมตร ป็นกบขนาดใหญ่ ลำตัวค่อนข้างยาว หัวกลมรีรูปไข่ ปลายจมูกค่อนข้างแหลม จมูกอยู่ใกล้จะงอยปาก นัยน์ตาโตมีหนังตาเปิดปิดได้ ขาคู่หน้าสันมีนิ้วสี่นิ้ว ขาคู่หลังมีห้านิ้ว ปลายนิ้วมีลักษณะเป็นตุ่มกลม ระหว่างนิ้วมีพังผืดใช้ในการว่ายน้ำที่เรียกว่า"ตีนกบ" ผิวหนังโดยทั่วไปเรียบ จะมีเม็ดสิวขนาดเล็กบริเวณขาหลังและใต้คางแต่เห็นไม่ชัดเจนนักจึงดูคล้ายกับมีผนังเรียบ สีของหัว หลัง และสีลำตัวมีสีน้ำตาลเข้ม ริมฝีปากบนและล่างมีจุดดำขนาดใหญ่หลายจุด ขอบปากล่างมีเส้นเหลืองแบ่งเขตระหว่างส่วนปากกับส่วนอก ขาคู่หลังมีพื้นสีน้ำตาลและน้ำตาลแก่พาดขวางขาทำให้ดูเป็นปล้อง ส่วนของท้องใต้ขาเป็นสีขาวปนเหลืองบริเวณด้านหน้าของอกมีจุดสีดำจางๆกระจายอยู่ทั่วไป

กบภูเขาตัวผู้ไม่มีกล่องเสียงเหมือนกบทั่วไป ส่งเสียงร้องออกจากลำคอดังกังวานคล้ายเสียงร้องของวัว ใช้ร้องเรียกตัวเมียให้มาผสมพันธุ์ เสียงร้องของกบตัวผู้จะมีเสียงดังแตกต่างไปตามชนิดของกบ แต่พบว่าทั้งสองเพศจะร้องได้ดังเหมือนกันเมื่อได้รับอันตราย

การแยกเพศสังเกตจากระยะห่างระหว่างตากับวงแก้วหู ตัวผู้จะมีระยะห่างดังกล่าวนี้ยาวกว่าตัวเมีย นอกจากนี้ ยังสังเกตได้จากเขี้ยว ซึ่งตัวผู้จะเห็นได้เด่นชัดมากกว่าตัวเมียที่มีลักษณะคล้ายตุ่มเล็ก ๆ และโดยส่วนใหญ่แล้ว กบทูดตัวผู้จะมีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย

ฤดูผสมพันธุ์ อยู่ระหว่างเดือนมกราคม-มีนาคม เมื่อช่วงฤดูวางไข่ ตัวผู้จะขุดหลุมสำหรับตัวเมียวางไข่ เวลาผสมพันธุ์ตัวผู้ลงไปอยู่ในหลุมที่มันขุด แล้วจะส่งเสียงร้องเรียกตัวเมีย ตัวเมียที่พร้อมผสมพันธุ์ก็จะลงไปในหลุมนั้น หลังจากผสมพันธุ์เสร็จ ตัวผู้และตัวเมียจะช่วยกันกลบหลุมไข่ ซึ่งมีลักษณะเป็นกองหินนูนขึ้นมา ทั้งตัวเมียและตัวผู้จะผลัดกันเฝ้าหลุมไข่พร้อมกับออกหาอาหาร

บริเวณที่พบได้ บริเวณลำธารและน้ำตกบนภูเขาในป่าลึก
กินอาหาร กินแมลงและตัวอ่อนของแมลง
สถานภาพ สิ่งมีชีวิตที่เกือบอยู่ในข่ายเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ( NT - Near Threatened )
จุดที่พบในประเทศไทย แถบเทือกเขาตะนาวศรี ภาคเหนือพบที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ภาคใต้พบที่จังหวัดยะลา ภาคกลางพบที่จังหวัดกาญจนบุรี


 
Fishapods.svg

หน้าที่ของกบยักษ์แห่งเอเชีย แก้

กบภูเขาแม้ไม่ใช่สัตว์ที่มีสีสันสวยงามแต่ก็มีประโยชน์ต่อระบบนิเวศทางธรรมชาติ โดยกบภูเขากินแมลงเป็นอาหารจึงทำให้เป็นสัตว์ผู้ล่าในระบบนิเวศ ช่วยควบคุมจำนวนแมลงในบริเวณต่างๆให้มีจำนวนที่สมดุลต่อไปในระบบนิเวศทำให้เกิดห่วงโซ่อาหารเป็นระบบมากขึ้น นอกจากนี้มนุษย์ยังนำกบภูเขาไปบริโภคโดยนำไปประกอบเป็นอาหารรูปแบบต่างๆ

ความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการของกบภูเขาและญาติ แก้

เมื่อประมาณ 370 ล้านปีที่แล้ว กลุ่มสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกเป็นสัตว์กลุ่มแรกที่พัฒนาขึ้นในสมัยดีโวเนียน (Devonian period) ซึ่งพัฒนามาจากปลาที่มีการพัฒนาของโลบไปเป็นขาเพื่อยกตัวขึ้นบนบกและมีการพัฒนาของปอด โดยบรรพบุรุษแรกของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกคือ Ichthyostega [7] ในเวลาต่อมาก็มีการพัฒนาและปรับตัวเพื่อให้สามารถอยู่ได้ในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงได้ดีขึ้น โดยทางสัณฐานวิทยาจะมีการพัฒนาส่วนต่างๆเพื่อให้เหมาะสมกับการอยู่อาศัยบนบก

การเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างกระดูก แก้

การมีกระดูกที่หนักขึ้นแข็งแรงขึ้นเพื่อรับมือกับแรงโน้มถ่วง การพัฒนาของมือและเท้าหรือการมีขาทั้ง 2 คู่ที่มีนิ้ว 5 นิ้วหรือมากกว่า นอกจากนี้ยังมีการปรับเปลี่ยนกระดูก hyomandibula ที่พบด้านหลังเหงือกในปลาและมีการพัฒนากลายเป็นกระดูกโกลนของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก ซึ่งเป็นการปรับตัวที่จำเป็นสำหรับการได้ยินในการดำรงชีวิตบนแผ่นดิน

การพัฒนาของการมีผิวหนัง แก้

การมีผิวหนังเป็นการช่วยให้มีการรักษาสมดุลของเหลวในร่างกายและป้องกันแสงแดดที่จะทำให้ผิวแห้ง

การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการหายใจ แก้

แหล่งที่อยู่อาศัยที่มีส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ทั้งแผ่นดิน ต้นไม้หรือระบบนิเวศน้ำจืด พวกกบมักจะเริ่มต้นจากการออกมาเป็นตัวอ่อนที่อาศัยอยู่ในน้ำ แต่บางชนิดมีการพัฒนาพฤติกรรมการปรับตัวเพื่อหลีกเลี่ยงนี้ โดยสัตว์ที่อาศัยบนบกทั่วไปจะมีการเปลี่ยนแปลงจากตัวอ่อนที่มีรูปแบบของเหงือกในการหายใจไปเป็นเป็นรูปแบบปอดเมื่อโตเต็มวัย แต่สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกจะเปลี่ยนแปลงจากตัวอ่อนที่มีรูปแบบของเหงือกในการหายใจมาใช้ผิวหนังในขณะหายใจในตัวเต็มวัยแทน

References แก้

  1. http://www.ecologyasia.com/verts/amphibians/malayan_giant_frog.htm
  2. http://www.xn--12c1bij4d1a0fza6gi5c.com/%E0%B8%81%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%82%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%88%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81.html
  3. https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A7%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%AA%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B8%81#cite_note-3
  4. https://en.wikipedia.org/wiki/Amphibian
  5. https://th.wikipedia.org/wiki/Anura
  6. https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B9%8A%E0%B8%AD%E0%B8%94
  7. https://en.wikipedia.org/wiki/Ichthyostega