กวางป่า (Sambar Deer) แก้

กวางป่า
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Artiodactyla
วงศ์: Cervidae
วงศ์ย่อย: Cervinae
สกุล: Rusa
สปีชีส์: R.  unicolor

บทนำ แก้

ชีววิทยา แก้

กวางป่า ชื่อสามัญ Sambar Deer ชื่อวิทยาศาสตร์ Cervus unicolor Kerr กวางเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จำพวกกีบคู่ มีถิ่นกำเนิดและกระจายพันธุ์ในประเทศศรีลังกา อินเดีย พม่า ไทย จีน ไต้หวัน อินโดนีเซีย มาเลเซีย สุมาตรา บอร์เนียว และหมู่เกาะซีลีเบส ชนิดที่พบในประเทศไทยมีชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Cervus unicolor equinus [1] กวางป่าเป็นสัตว์จำพวกกวางที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยทั่วไปกวางเพศผู้จะมีขนาดใหญ่กว่าเพศเมีย มีขนสั้นหยาบสีน้ำตาลแกมเหลือง บางตัวน้ำตาลแกมแดง พบตามป่าดงดิบทุกภาค ทั้งในป่าระดับต่ำ ป่าสูง ชอบหากินตามทุ่งโล่ง ชายป่า ในตอนเช้าตรู่และพลบค่ำ กลางวันจะหลับนอนตามพุ่มไม้ใกล้ชายป่า จะกินพืช ทั้งใบ ยอด และต้องการดินโป่ง ในธรรมชาติชอบอยู่ตัวเดียวหรืออยู่เป็นกลุ่มเล็กๆ พร้อมลูกของมัน ฤดูผสมพันธุ์ส่วนใหญ่เป็นฤดูหนาว

ลักษณะนิสัยและพฤติกรรมต่างๆ แก้

ลักษณะที่บ่งบอกถึงสุขภาพกวางที่สมบูรณ์ สังเกตได้จากขนตามลำตัวมันเงา ดวงตาแจ่มใส จมูกชื้น มูลเป็นเม็ด ไม่มีกลิ่น ปัสสาวะใส ไม่แยกตัวออกจากฝูง ร่างกายไม่ผอมผิดปกติ ส่วนการระวังภัยของกวาง เมื่อได้ยินหรือเห็นสิ่งผิดปกติ จะชูคอหันหน้า ใบหูทั้ง 2 ข้างหันไปยังทิศทางที่ได้ยินหรือเห็น หางจะชี้ขึ้น ยืนนิ่งเงียบ จากนั้นจะส่งเสียงร้องแหลมดังขึ้น ถ้าอยู่กันหลายตัวจะไปยืนรวมกัน เมื่อมีตัวใดตัวหนึ่งตื่นและวิ่ง จะทำให้กวางตัวอื่นทั้งหมดวิ่งตามได้ การโกรธ ทำร้าย และการต่อสู้ กวางจะกัดฟันเสียงดังกรอด ๆ ร่องใต้ตาทั้งสองข้างเบิกลึกกว้างพร้อมกับเดินส่ายหัวเข้าหาศัตรูอย่างช้า ๆ แล้วก้มหัวลงเพื่อให้ปลายเขาชี้เข้าหาศัตรู

ความสำคัญ แก้

กวางมีบทสำคัญต่อการตำรงชีวิตของมนุษย์มานานแล้ว ตั้งแต่ยุคที่มีการล่าสัตว์เพื่อนำมาทำเป็นอาหาร เอาหนังมาทำเครื่องนุ่งห่ม ต่อมาได้มีการนำกวางมาเป็นสัตว์เลี้ยงเพื่อบริโภคเนื้อ เป็นเกมกีฬาของคนชั้นสูงและมีการพัฒนาขึ้นมาจนเกิดเป็นอุตสาหกรรมการเลี้ยงกวางหรือฟาร์มกวาง [2] กวาง สัญลักษณ์แห่งดาวโชคลาภ กวาง ในภาษาจีนจะเรียกว่า “ลู่” เป็นสัตว์สิริมงคลของจีน ซึ่งหมายถึงเทพดาวลก (ผู้เป็น 1 ใน 3 เทพดาว “ฮก ลก ซิ่ว”') ดังนั้นกวางจึงมีความหมายในเชิงสัญลักษณ์ เป็นตัวแทนหมายถึง เทพแห่งดาวโชคลาภและชื่อเสียง[3] กวางถูกจัดอยู่ในสัตว์ป่าคุ้มครอง สถานภาพทางกฎหมายตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช ๒๕๓๕ ที่อนุญาตให้เพาะพันธุ์ได้ [4]

ความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการของกวางป่าและญาติ แก้

จากการวิเคราะห์ทางพันธุศาสตร์แสดงญาติที่ใกล้ชิดที่สุดของกวางป่า อาจเป็นกวางรูซาในประเทศอินโดนีเซีย[5] ซึ่งมีรายงานสนับสนุนที่ว่ากวางป่าสามารถผสมพันธุ์กับกวางรูซาและให้กำเนิดลูกผสมที่สามารถสืบพันธุ์ได้ และมีการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ของกวางป่าจากสมัยสมัยไพลสโตซีนตอนต้น แม้ว่าจะมีการค้นพบกวางดึกดำบรรพ์ที่คล้ายกว่าป่าจากสมัยไพลโอซีน แต่กวางชนิดนี้กลับคล้ายกวางในปัจจุบันน้อยมาก กวางป่าได้รับการเสนอว่าอาจเกิดขึ้นครั้งแรกในเอเชียใต้ ภายหลังจึงกระจายพันธุ์ไปยังถิ่นอาศัยในปัจจุบัน Epirusa และEucladoceros ได้รับการเสนอว่าทั้งสองอาจเป็นบรรพบุรุษของกวางป่ารวมทั้งเป็นญาติใกล้ชิด [6] จากการขุดค้นสำรวจของดร.เชตเตอร์ เกอร์แมน (Chester Gorman) นักโบราณคดีแห่งมหาวิทยาลัยฮาวาย ได้สำรวจบริเวณถ้ำผี อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้พบหลักฐานของคนยุคก่อนประวัติศาสตร์อายุราว 1,200 ปี ซึ่งจัดเป็นพวกเดียวกับวัฒนธรรมหันบินห์หรือฮัอบินเหียนในเวียดนาม พบกระดูกของกวางป่า แมวป่า กระรอก ปู ปลา หอย พบเมล็ดพืชหลายชนิด เช่น หมาก[7]

การปรับตัวเชิงวิวัฒนาการของกวางป่า (Evolutionary adaptation of the Sambar Deer) แก้

การปรับตัวของสีขน แก้

จะมีการเปลี่ยนแปลงสีขนให้กลมกลืนไปกับธรรมชาติรอบ ๆ ตัว ในลูกกวางจะพบว่ามีลายจุดบนตัว หย่อมขนสีบริเวณสองข้างของตะโพก เมื่อเวลาตกใจหรือพบเห็นภัยอันตราย หย่อมขนสีนี้จะเข้มขึ้นและเป็นประกายอย่างเห็นได้ชัดเจน สามารถมองเห็นได้ในระยะไกล เป็นสัญญาณเตือนภัยให้แก่กวางตัวอื่น ๆ ภายในฝูง [8]

เขากวาง แก้

กวางตัวผู้จะสามารถผลัดเปลี่ยนเขาได้ทุกปี คือเมื่อใกล้ถึงฤดูผสมพันธุ์จะมีการสร้างเขา ซึ่งคือโครงสร้างของมวลคล้ายกระดูกอ่อนที่ยังมีเลือดไปหล่อเลี้ยงอยู่ตลอดเวลาได้ มีหนังที่เต็มไปด้วยขนสั้นละเอียดและหนาแน่นคล้ายผ้ากำมะหยี่หุ้ม[9] การที่กวางมีเขางอกออกมาจากบริเวณศีรษะ เพื่อใช้สำหรับต่อสู้หรือดึงดูดเพศเมียในฤดูผสมพันธุ์

ต่อมกลิ่น แก้

ต่อมกลิ่มโดยเฉพาะกวางเพศผู้ จะมีแอ่งน้ำตาขนาดใหญ่ เรียกว่าต่อมใต้กระบอกตา ( Facial gland ) ทำหน้าที่คัดหลั่งสารที่มีกลิ่นฉุนมากให้ไหลออกตามร่องน้ำตาที่มุมตาด้านใน โดยกวางจะเอาหน้าไปเช็ดถูตามต้นไม้เพื่อเป็นการสื่อสารและบ่งบอกถึงอาณาเขตที่อยู่ของตน จะขยายใหญ่ช่วงฤดูผสมพันธุ์ [10] [11]

การปรับตัวต่อถิ่นอาศัย แก้

จากการศึกษาวิวัฒนาการของสัตว์วงศ์กวางและกระจง พบว่ามีหลายชนิดที่มีลักษณะการปรับตัวทางวิวัฒนาการเป็นแบบ Convergence คือกวางและกระจงที่มีถิ่นอาศัยต่างถิ่นกัน อาจมีรูปร่างภายนอกที่คล้ายคลึงกันได้ หากสภาพแวดล้อมทางนิเวศวิทยาของถิ่นอาศัยนั้นมีสภาพใกล้เคียงกัน (adaptive radiation) [12] ซึ่งภายใต้สภาพการเลี้ยงในสวนสัตว์ในแต่ละที่ แต่ละกลุ่มประชากรในถิ่นอาศัยที่มีสภาพทางนิเวศวิทยาที่แตกต่างกัน (different ecomorphs) นั้น อาจจะเป็นคนละชนิดพันธุ์ ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันก็ได้ [13]

References แก้

  1. http://web3.dnp.go.th/wildlifenew/downloads/Deer%20Antiers.pdf
  2. http://www.rattanafarm.com/DATAREDDEER.html
  3. http://variety.horoworld.com/3924_%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%87-%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%82%E0%B8%8A%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A0
  4. http://www.dnp.go.th/fca16/file/ur96mjodujspar1.pdf
  5. http://jhered.oxfordjournals.org/content/84/4/266.full.pdf
  6. http://www.mammalogy.org/uploads/Leslie%202011%20-%20MS%2043(871),%201-30_0.pdf
  7. http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/bangkok/malaiwan_c/historym1/unit02_02.html
  8. http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A7%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%A1
  9. http://www.thaifeed.net/animal/deer/deer-4.html
  10. http://www.dld.go.th/service/deer/deer_h.html
  11. http://www.dnp.go.th/fca16/file/ur96mjodujspar1.pdf
  12. http://books.google.co.th/books/about/Biology_and_management_of_the_Cervidae.html?id=D7IWAAAAYAAJ&redir_esc=y
  13. http://app.dnp.go.th/opac/multimedia/research/C00592/C00592-2.pdf