หนังตายล่อน[1] หรือ ผิวหนังตายแห้ง[2] (อังกฤษ: eschar; /ˈɛskɑːr/; จากภาษากรีก: eschara) เป็นรูปแบบหนึ่งของเนื้อตายลอกหลุด (slough)[3] หรือชิ้นส่วนของเนื้อเยื่อที่ตายแล้วที่หลุดออกจากผิวหนัง โดยเฉพาะภายหลังการบาดเจ็บจากไฟไหม้ และพบได้ในกรณีของเนื้อเน่าตาย (gangrene), แผลเปื่อย (ulcer), การติดเชื้อฟังไจ, เนื้อเยื่อตายจากแผลแมงมุมกัด, รอยเห็บกัดที่เกิดจากความเกี่ยวเนื่องกับ ไข้เผื่อน และการสัมผัสกับเชื้อแอนแทรกซ์ชนิดผิวหนัง (cutaneous) คำว่า "eschar" (หนังตายแห้ง) ไม่สามารถใช้ทดแทนกันได้กับคำว่า "scab" (สะเก็ดแผล) เพราะหนังตายแห้งต้องประกอบด้วยเนื้อเยื่อที่ตายแล้ว (necrotic tissue) ส่วนสะเก็ดแผลประกอบขึ้นจากเลือดที่แห้งกรังกับสารคัดหลั่ง (exudate)

หนังตายแห้งบนผู้ป่วยด้วยผนังหลอดน้ำเหลืองบวมจาก Rickettsia sibirica

หนังตายแห้งสีดำ (Black eschars) พบมากที่สุดเกิดจากเชื้อแอนแทรกซ์กลุ่มผิวหนัง (cutaneous anthrax; คือกลุ่มการติดเชื้อจาก Bacillus anthracis) ซึ่งอาจติดต่อผ่านทางสัตว์ในปศุสัตว์หรือผ่าน Pasteurella multocida ที่พบในแมวและกระต่าย หนังตายแห้งสามารถใช้แยกแยะความต่างของการติดเชื้อริกเก็ตต์เซีย (rickettsial) R. parkeri rickettsiosis ในมุนษย์ ออกจากไข้ผื่นร็อกกีเมาเทนโดยดูที่การปรากฏของหนังตายแห้งที่จุดฝี (inoculation)[4] ในภาษาอังกฤษบางครั้งเรียกหนังตายแห้งว่า black wound (แผลดำ) เพราะแผลจะมีบักษณะถูกคลุมด้วยเนื้อเยื่อตายแล้วสีดำแห้งกรังอย่างหนา

อ้างอิง แก้

  1. อังกฤษ-ไทย: ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔
  2. คลังศัพท์ไทย โดย สวทช. การแพทย์
  3. eschar ใน พจนานุกรมศัพท์การแพทย์ดอร์แลนด์
  4. Paddock, C. D.; Finley, R. W.; Wright, C. S.; Robinson, H. N.; Schrodt, B. J.; Lane, C. C.; Ekenna, O.; Blass, M. A.; Tamminga, C. L.; Ohl, C. A.; McLellan, S. L. F.; Goddard, J.; Holman, R. C.; Openshaw, J. J.; Sumner, J. W.; Zaki, S. R.; Eremeeva, M. E. (2008). "Rickettsia parkeri Rickettsiosis and Its Clinical Distinction from Rocky Mountain Spotted Fever". Clinical Infectious Diseases. 47 (9): 1188–1196. doi:10.1086/592254. PMID 18808353.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก