ผักเสี้ยน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cleome gynandra) เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนของทวีปยุโรป, แอฟริกาและเอเชีย[3] เป็นวัชพืชที่พบได้ตามท้องนาและริมลำธาร ผักเสี้ยนเป็นไม้ล้มลุก สูง 30-150 เซนติเมตร ตามลำตันและใบมีขนปกคลุม ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อยรูปไข่กลับหรือรูปใบหอกกลับ 3-5 ใบ ยาว 2.5-5 เซนติเมตร ใบประดับ 3 ใบย่อย ยาว 0.5-2.5 เซนติเมตร ดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ยาว 5-20 เซนติเมตร ก้านดอกยาว 1-2 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงรูปใบหอก ยาวประมาณ 6 มิลลิเมตร กลีบดอกรูปรีหรือรูปไข่ สีขาวหรืออมม่วง ยาวประมาณ 7 มิลลิเมตร ก้านกลีบยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร มีเกสรเพศผู้ 6 อัน ก้านชูเกสรร่วมยาว 0.8-2.3 เซนติเมตร ก้านชูอับเรณูสีม่วง ยาว 1-2 เซนติเมตร อับเรณูรูปขอบขนาน สีเขียวอมน้ำตาล ยาว 1-3 มิลลิเมตร รังไข่มีก้านสั้น ๆ ยาว 1-1.4 เซนติเมตร ผลยาว 4-9.5 เซนติเมตร ภายในมีเมล็ดสีน้ำตาลแดงปนดำ ยาวประมาณ 1.5 มิลลิเมตร[4]

ผักเสี้ยน
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: พืช
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
เคลด: พืชดอก
เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้
เคลด: โรสิด
อันดับ: อันดับผักกาด
วงศ์: วงศ์ผักเสี้ยน
สกุล: Cleome
L.
สปีชีส์: Cleome gynandra
ชื่อทวินาม
Cleome gynandra
L.
      ขอบเขต[1]
ชื่อพ้อง[2]
  • Cleome acuta Schumach. & Thonn.
  • Cleome affinis (Blume) Spreng. nom. illeg.
  • Cleome alliacea Blanco
  • Cleome alliodora Blanco
  • Cleome blumeana D.Dietr.
  • Cleome bungei Steud.
  • Cleome candelabrum Sims
  • Cleome denticulata Schult. & Schult.f.
  • Cleome eckloniana Schrad.
  • Cleome flexuosa F.Dietr. ex Schult. & Schult.f.
  • Cleome heterotricha Burch.
  • Cleome muricata (Schrad.) Schult. & Schult.f.
  • Cleome oleracea Welw.
  • Cleome pentaphylla L.
  • Cleome pubescens Sieber ex Steud.
  • Cleome rosea Eckl. ex Steud. nom. inval.
  • Cleome triphylla L.
  • Gymnogonia pentaphylla (L.) R. Br. ex Steud.
  • Gynandropsis affinis Blume
  • Gynandropsis candelabrum (Sims) Sweet
  • Gynandropsis denticulata DC.
  • Gynandropsis glandulosa C.Presl
  • Gynandropsis gynandra (L.) Briq.
  • Gynandropsis heterotricha DC.
  • Gynandropsis muricata Schrad.
  • Gynandropsis ophitocarpa DC.
  • Gynandropsis palmipes DC.
  • Gynandropsis pentaphylla (L.) DC.
  • Gynandropsis pentaphylla Blanco
  • Gynandropsis sinica Miq.
  • Gynandropsis triphylla DC.
  • Gynandropsis viscida Bunge
  • Pedicellaria pentaphylla (L.) Schrank
  • Pedicellaria triphylla (L.) Pax
  • Podogyne pentaphylla (L.) Hoffmanns.
  • Sinapistrum pentaphyllum (L.) Medik.

ทั้งต้นผักเสี้ยนมีกรดไฮโดรไซยานิก แต่จะลดลงเมื่อนำไปหมักดองหรือถูกความร้อน[5] ผักเสี้ยนนิยมนำไปดอง กินเป็นผักแกล้มหรือกินกับขนมจีนน้ำยา[6] ใบมีสรรพคุณตำพอกฝีและแก้ปวดเมื่อย น้ำคั้นจากใบผสมกับน้ำมัน ใช้แก้ปวดหู[7]

อ้างอิง แก้

  1. "Cleome gynandra - L." pfaf.org. 1996–2012. สืบค้นเมื่อ 19 March 2019.
  2. "The Plant List: A Working List of All Plant Species". สืบค้นเมื่อ January 26, 2014.
  3. "Cleome gynandra L. - Plants of the World Online". Kew Science. สืบค้นเมื่อ April 8, 2019.
  4. สารานุกรมพืชในประเทศไทย (ฉบับย่อ), ราชันย์ ภู่มา และคณะ, หน้า 284, พ.ศ. 2559, โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กรุงเทพฯ
  5. "Cleome gynandra L." Japan International Research Center for Agricultural Sciences. สืบค้นเมื่อ April 8, 2019.
  6. "ผักเสี้ยน (Cleome gynandra L.)". บ้านและสวน. สืบค้นเมื่อ April 8, 2019.
  7. ผัก 333 ชนิด คุณค่าอาหารและการกิน, นิดดา หงษ์วิวัฒน์ และคณะ, หน้า 163, พ.ศ. 2548, สำนักพิมพ์แสงแดด กรุงเทพฯ

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

แม่แบบ:WestAfricanPlants