ปาล์มเจ้าเมืองตรัง

ปาล์มเจ้าเมืองตรัง
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Monocots
ไม่ได้จัดลำดับ: Commelinids
อันดับ: Arecales
วงศ์: Arecaceae
สกุล: Licuala
สปีชีส์: L.  peltata
ชื่อทวินาม
Licuala peltata
Roxb.

ปาล์มเจ้าเมืองตรัง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Licuala peltata) ไม้ยืนต้นชนิดหนึ่ง จำพวกปาล์ม จัดอยู่ในสกุลกะพ้อ

มีลักษณะคล้ายกับปาล์มจีบ (L. grandis) ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน มีความแตกต่างกันที่ก้านหลังใบเส้นที่ตรงมาจากก้าน และหนาม โดยหนามของปาล์มเจ้าเมืองตรังมีลักษณะใหญ่และห่าง ช่อดอกมีสีขาวและแทงขึ้นมาจากก้าน โดยแทงตรงยาวขึ้นไปและค่อย ๆ ย้อยลงมา มีลักษณะเด่น คือ ใบที่กลมใหญ่คล้ายกับรูปพัด ความกว้าง 1-1.5 เมตร ขอบใบเป็นหยักเล็ก ๆ ไม่แหลมเหมือนกับปาล์มชนิดอื่น

ลักษณะใบของปาล์มเจ้าเมืองตรัง

ปาล์มเจ้าเมืองตรัง จัดเป็นปาล์มที่มีความสวยงามชนิดหนึ่ง จึงนิยมปลูกกันเป็นไม้ประดับ เป็นปาล์มที่ขึ้นในป่าดิบชื้นในภาคใต้ของไทยและพม่า จัดเป็นปาล์มที่หายากชนิดหนึ่ง เหตุที่ได้ชื่อว่า "เจ้าเมืองตรัง" เนื่องจากถูกค้นพบโดย พระยารัษฎานุประดิษฐ์ (คอซิมบี้ ณ ระนอง) ขณะดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองตรัง ขณะที่บุกเบิกตัดถนนในป่าเขตแดนจังหวัดตรัง เห็นว่ามีความสวยงาม จึงนำมาปลูกไว้ในกระถางเลี้ยง[1]

ปัจจุบัน ปาล์มเจ้าเมิืองตรังสามารถหาดูได้รอบ ๆ สวนสาธารณะพระยารัษฎานุประดิษฐ์ ในเขตเทศบาลเมืองตรัง อำเภอเมือง จังหวัดตรัง[2]

อ้างอิง แก้

  1. "ปาล์มเจ้าเมืองตรัง". biogang.net. สืบค้นเมื่อ 10 January 2015.[ลิงก์เสีย]
  2. "เที่ยวตรังสักการะเจ้าเมือง "พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี" บิดาแห่งยางพาราไทย". ผู้จัดการออนไลน์. 22 December 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 10 January 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Licuala peltata ที่วิกิสปีชีส์