ปาล์มฟอกซ์เทล
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Monocots
ไม่ได้จัดลำดับ: Commelinids
อันดับ: Arecales
วงศ์: Arecaceae
วงศ์ย่อย: Arecoideae
เผ่า: Areceae
สกุล: Wodyetia
สปีชีส์: W.  bifurcata
ชื่อทวินาม
Wodyetia bifurcata
A.K.Irvine

ปาล์มฟอกซ์เทล ปาล์มหางจิ้งจอก หรือ ปาล์มหางหมาป่า (ชื่อวิทยาศาสตร์: Wodyetia bifurcata) เป็นปาล์มชนิดเดียวในสกุล Wodyetia เป็นปาล์มประจำถิ่นในรัฐควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย[1] ลักษณะเป็นปาล์มต้นเดี่ยว สูงได้ถึง 15 เมตร ลำต้นมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 20–25 เซนติเมตร ใบเป็นใบรูปขนนก ใบย่อยเป็นกระจุก แผ่ออกทุกทิศทางเป็นพวงคล้ายหางหมาป่าหรือหางจิ้งจอก ทางใบยาว 2–2.5 เมตร ช่อดอกสีขาวแบบแยกเพศอยู่ร่วมต้น ยาว 50 เซนติเมตร ผลกลมรีขนาด 5–6 เซนติเมตร เมื่อสุกมีสีส้มแดง[2]

ปาล์มฟอกซ์เทลมีชื่ออื่น ได้แก่ ปาล์มหางกระรอก ปาล์มหางจิ้งจอก และปาล์มหางหมาป่า[3] เป็นปาล์มที่ทนต่อสภาพดินและอากาศที่หลากหลาย[4] ปาล์มฟอกซ์เทลเหมาะสำหรับปลูกกลางแจ้ง ต้องการน้ำปานกลาง ขยายพันธุ์ได้ด้วยการเพาะเมล็ดแก่ที่สุกงอมสีแดงหรือเมล็ดที่สีเลือดนก แดงเข้มอมน้ำตาล ได้เพียงวิธีเดียวเท่านั้น เหมือนพืชใบเลี้ยงเดี่ยวระบบลักษณะรากฝอยวงศ์ปาล์มเหมือนกัน เช่น มะพร้าว และไม่สามารถขยายพันธ์ุโดยใช้วิธีทาบกิ่งแบบพืชใบเลี้ยงคู่ระบบลักษณะรากแก้ว เช่น มะม่วง มังคุด มะขาม หรือใช้วิธีแยกหน่อ ในแบบพืชใบเลี้ยงเดี่ยวระบบรากแขนง วงศ์หัวใต้ดินเช่น กล้วย หรือ ขิง ก็ไม่ได้เช่นกัน ระยะเวลางอกนั้นเมื่อสภาวะแวดล้อมจำเพาะเหมาะสมที่ถูกกำหนดไว้โดยจีโนมร่วมในสปีชี่ส์เดียวกัน วงศ์ปาล์ม, หมาก และ มะพร้าว ค่าเฉลี่ยทุกสกุล (ค่ามัธยฐาน) ใช้เวลาจนสามารถแทงรากจนงอกใบขึ้นได้สำเร็จนั้นใช้เวลาทั้งสิ้น 90–120 วัน หรือจนข้ามผ่านฤดูฝนไปก่อน (หนึ่งฤดูคือ 4 เดือน 12 เดือนเป็นหนึ่งปีดังนั้นจึงมี 3 ฤดู) จะงอกผลเป็นต้นอ่อนขึ้นใหม่[5]

อ้างอิง แก้

  1. Dowl, J.L. 1998. Wodyetia bifurcata. 2006 IUCN Red List of Threatened Species. Downloaded on 20 July 2007.
  2. คู่มือปาล์มประดับ ฉบับปรับปรุงและเพิ่มเติม, ดร. ปิยะ เฉลิมกลิ่น, หน้า 283, พ.ศ. 2550, สำนักพิมพ์บ้านและสวน กรุงเทพฯ
  3. "ปาล์มฟอกซ์เทล". บ้านและสวน. March 4, 2016. สืบค้นเมื่อ June 18, 2021.
  4. "Wodyetia bifurcata". Palmpedia - Palm Grower's Guide. February 26, 2019. สืบค้นเมื่อ June 18, 2021.
  5. "Wodyetia bifurcata". National Parks Board. สืบค้นเมื่อ June 18, 2021.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้