ปางปัจเจกขณะ เป็นพระพุทธรูปอยู่ในอิริยาบถประทับ (นั่ง) ขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายประคองบาตร ที่วางอยู่บนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวายกขึ้นป้องเสมอพระอุระ (อก) ทอดพระเนตรลงต่ำ

ประวัติ แก้

หลังจากที่เจ้าชายสิทธัตถะพระโพธิสัตว์ ได้บรรพชาแล้ว ได้เสด็จไปเสวยสุขจากการบรรพชา ณ ป่ามะม่วงนามว่า อนุปิยอัมพวัน โดยเว้นการเสวยพระกระยาหาร 7 วัน ด้วยอิ่มในสุขจากการบรรพชา ในวันที่ 8 ได้เสด็จไปบิณฑบาตในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ในเขตกรุงราชคฤห์ แล้วเสด็จมาประทับ ณ บัณฑวบรรพต ทอดพระเนตรอาหารซึ่งปะปนกันในบาตรแล้วเสวยไม่ลง เพราะเคยเสวยแต่อาหารที่ประณีต จึงได้เตือนพระองค์เองว่า "บัดนี้เราเป็นบรรพชิต ต้องอาศัยผู้อื่นเลี้ยงชีพ ไม่มีสิทธิ์เลือกอาหารตามใจชอบ การบริโภคอาหารของผู้แสวงหาสัจธรรมนั้น ก็เพียงเพื่อให้มีชีวิตอยู่รอด ไม่มีจุดประสงค์อื่น นอกจากแสวงหาทางหลุดพ้นเท่านั้น" แล้วจึงเสวยภัตตาหารนั้น

ความเชื่อและคตินิยม แก้

อ้างอิง แก้

  • สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. ตำนานพุทธเจดีย์. ธนบุรี  : ศิลปาบรรณาคาร โรงพิมพ์รุ่งวัฒนา, 2513.
  • เรื่องพระพุทธรูปปางต่างๆ หลวงบริบาลบุรีรัตน์ และนายเกษมบุญศรี (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์ขึ้นเพื่อพระราชทานในงานพระราชกุศลราชคฤหมงคลขึ้นพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2500)
  • สกุลศิลปพระพุทธรูปในประเทศไทย อาจารย์จิตร บัวบุศย์
  • ศิลปในประเทศไทย ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิสกุล