ปลาบู่ทอง เป็นนิทานพื้นบ้านทางภาคกลางของไทย ที่เล่าโดยผ่านวิธีมุขปาฐะ, ร้อยแก้ว, ร้อยกรอง มีเนื้อหาเกี่ยวกับเด็กสาวชาวบ้านผู้มีใจเมตตาได้แต่งงานกับกษัตริย์ สร้างเป็นภาพยนตร์และละครโทรทัศน์มาแล้วหลายครั้ง เชื่อว่ามีที่มาจากชนชาติจ้วง-ลาว-ไทในภาคใต้ของจีนเล่าถ่ายทอดกันมาแต่ดึกดำบรรพ์ และชนพื้นเมืองในหลายชาติของภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ เช่น ลาว, เขมร, พม่า ก็มีเรื่องราวทำนองคล้ายกันนี้ แต่เรียกชื่อต่างออกไป และคล้ายคลึงกับนิทานพื้นบ้านของยุโรป คือ ซินเดอเรลลา[1]

ใน พ.ศ. 2554 กระทรวงวัฒนธรรมขึ้นทะเบียนปลาบู่ทองเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของไทย[2]

การดัดแปลง แก้

ปลาบู่ทองได้รับการดัดแปลงเป็นภาพยนตร์หลายครั้ง ครั้งแรกเป็นภาพยนตร์ 16 มม. ของเทพกรภาพยนตร์ กิติมา เศรษฐภักดี อำนวยการสร้าง อำนวย กลัสนิมิ (ครูเนรมิต) กำกับ ออกฉายวันที่ 20 สิงหาคม 2508 ที่โรงหนังเฉลิมบุรี[ต้องการอ้างอิง] ต่อมาสร้างเป็นภาพยนตร์โทรทัศน์จักร ๆ วงศ์ ๆ ออกอากาศทาง สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ใน พ.ศ. 2510 ซึ่งเป็นภาพยนตร์โทรทัศน์เรื่องแรกของดาราฟิล์ม ไพรัช สังวริบุตร กำกับ ประสม สง่าเนตร เขียนบท เพ็ญศรี พุ่มชูศรี ร้องเพลงนำ[ต้องการอ้างอิง] จากนั้นใน พ.ศ. 2515 วนิชศิลปภาพยนตร์ ของอนันต์ ชลวนิช สร้างเป็นภาพยนตร์ 35 มม. ชื่อ "แม่ปลาบู่" ออกฉายวันที่ 14 พฤศจิกายน 2515 ที่โรงภาพยนตร์นิวบรอดเวย์[ต้องการอ้างอิง]

ปลาบู่ทองสร้างเป็นภาพยนตร์อีก 3 ครั้ง ดังนี้

  • ใน พ.ศ. 2522 ศิริมงคลโปรดัคชั่น สร้าง ชาญชัย เนตรขำคม อำนวยการสร้าง ชิต ไทรทอง กำกับ ออกฉายเมื่อ 7 กรกฎาคม[ต้องการอ้างอิง]
  • ใน พ.ศ. 2527 วิษณุภาพยนตร์ สร้าง วิษณุ นาคสู่สุข อำนวยการสร้าง วิเชียร วีระโชติ กำกับ[ต้องการอ้างอิง]
  • ใน พ.ศ. 2537 กรุ๊ฟโฟร์ โปรดักชั่น สร้าง สิทธิชัย พัฒนดำเกิง กำกับ อาทิตย์ เขียนบท ออกฉาย 8 พฤศจิกายน[ต้องการอ้างอิง]

และสร้างเป็นละครโทรทัศน์จักร ๆ วงศ์ ๆ ทางช่อง 7 อีก 2 ครั้ง ดังนี้

  • ใน พ.ศ. 2537 สามเศียร และดาราวีดีโอ สร้าง สยม สังวริบุตร และสมชาย สังข์สวัสดิ์ กำกับ รัมภา ภิรมย์ภักดี (ภาวิต) และลุลินารถ สุนทรพฤกษ์ เขียนบท[ต้องการอ้างอิง]
  • ใน พ.ศ. 2552 สามเศียร สร้าง คูณฉกาจ วรสิทธิ์ กำกับ รัมภา ภิรมย์ภักดี (พิกุลแก้ว) เขียนบท ออกอากาศ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ถึง 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553[ต้องการอ้างอิง]

อ้างอิง แก้

  1. "อัศจรรย์รักข้ามขอบฟ้า จากมะเมียะถึง ซินเดอเรลล่า". กรุงเทพธุรกิจ. 14 July 2013. สืบค้นเมื่อ 18 June 2016.
  2. "ปลาบู่ทอง". กระทรวงวัฒนธรรม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-10. สืบค้นเมื่อ 18 June 2016.