ปลาบู่ทราย หรือ ปลาบู่ทอง เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Oxyeleotris marmorata ในวงศ์ปลาบู่ทราย (Eleotridae) มีลักษณะลำตัวกลมยาว ความลึกลำตัวประมาณ 1 ใน 3.5 ของความยาวมาตรฐานลำตัว ส่วนหัวยาวเป็น 1 ใน9.0 ของความยาวมาตรฐานของลำตัว หัวค่อนข้างโต และด้านบนของหัวแบนราบ หัวมีจุดสีดำประปราย ปากกว้างใหญ่เปิด ทางด้านบนตอนมุมปากเฉียงลงและยาวถึงระดับกึ่งกลางตา ขากรรไกรล่างยื่นยาวกว่าขากรรไกรบน ทั้งขากรรไกรบนและล่างมีฟันแหลมซี่เล็ก ๆ ลักษณะฟันเป็นฟันแถวเดียว ลูกตาลักษณะโปนกลมอยู่บนหัวถัดจากริมฝีปากบนเล็กน้อย รูจมูกคู่หน้าเป็นหลอดยื่นขึ้นมาอยู่ติดกับร่องที่แบ่งจะงอยปากกับริมฝีปากบน ครีบหูและครีบหางมีลักษณะกลมมนใหญ่ มีลวดลายดำและสลับขาว มีก้านอ่อนอยู่ 15–16 ก้าน ครีบหลัง 2 ครีบ ครีบอันหน้าสั้นุเเ่าเทรมเป็นหนาม 6 ก้าน เป็นก้านครีบสั้นและเป็นหนาม ครีบอันหลังเป็นก้านครีบอ่อน 11 ก้าน ครีบท้องหรือครีบอกอยู่แนวเดียวกับครีบหูและมีก้านครีบอ่อน 5 ก้าน สีลำตัวสีน้ำตาลเหลือง มีรอยปื้นสีดำกระจายไปทั่วตัว ในบางตัวสีอาจกลายเป็นสีเหลืองทองได้ จึงทำให้ได้ชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า "ปลาบู่ทอง"

ปลาบู่ทราย
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอต
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
Animalia
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
Chordata
ชั้น: ปลาที่มีก้านครีบ
Actinopterygii
อันดับ: Gobiiformes
Gobiiformes
วงศ์: Butidae
Butidae
สกุล: ปลาบู่ทราย (สกุล)
Oxyeleotris
(Bleeker, 1852)
สปีชีส์: Oxyeleotris marmorata
ชื่อทวินาม
Oxyeleotris marmorata
(Bleeker, 1852)
ชื่อพ้อง
  • Eleotris marmorata Bleeker, 1852
  • Bostrichthys marmoratus (Bleeker, 1852)
  • Gigantogobius jordani Fowler, 1905
  • Callieleotris platycephalus Fowler, 1934

มีขนาดลำตัวประมาณ 30 เซนติเมตร ใหญ่ที่สุด 60 เซนติเมตร จัดเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในสกุล Oxyeleotris พบกระจายพันธุ์ในแหล่งน้ำจืดทุกประเภทของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอาจพบได้ในแหล่งน้ำกร่อยด้วย สำหรับในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาค มีพฤติกรรมชอบอยู่นิ่ง ๆ กับพื้นน้ำเพื่อล่าเหยื่อ อาหารได้แก่ ปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กกว่า

ปลาบู่ทรายเป็นปลาชนิดหนึ่งที่ผูกพันกับวิถีชีวิตคนไทย ดังจะเห็นได้จากนิทานพื้นบ้านของภาคกลางเรื่อง ปลาบู่ทอง เป็นต้น จัดเป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่ง โดยนิยมใช้เนื้อบริโภคกันมาช้านาน มีราคาขายที่แพง ปัจจุบัน นิยมเพาะเลี้ยงกันอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้แล้วในตัวที่มีสีกลายไปจากสีปกติ เช่น สีทองหรือสีเงิน พบมีการเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย เช่นในภาคใต้จะมีการเลี้ยงไว้เพราะเชื่อว่าจะนำโชคลาภมาให้ และเรียกปลาชนิดนี้ว่า "ปลาครีบทอง" ตามสีที่ปรากฏนี้เอง[2]

อ้างอิง

แก้
  1. Allen, D.J. (2011). "Oxyeleotris marmorata". The IUCN Red List of Threatened Species. 2011: e.T181009A7657958. doi:10.2305/IUCN.UK.2011-1.RLTS.T181009A7657958.en.
  2. "เรื่องปลาบู่". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-12-16. สืบค้นเมื่อ 2009-11-16. {{cite web}}: ระบุ |accessdate= และ |access-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้