ปลาตะเพียนน้ำเค็ม

ปลาตะเพียนน้ำเค็ม
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Clupeiformes
วงศ์: Clupeidae
สกุล: Anodontostoma
สปีชีส์: A.  chacunda
ชื่อทวินาม
Anodontostoma chacunda
(Hamilton, 1822)
ชื่อพ้อง[1]
  • Anodontostoma chanpole (Hamilton, 1822)
  • Dorosoma chacunda (Hamilton, 1822)
  • Clupanodon chanpole Hamilton, 1822
  • Anodontostoma hasseltii Bleeker, 1849
  • Gonostoma javanicum Hyrtl, 1855

ปลาตะเพียนน้ำเค็ม หรือ ปลาโคก หรือ ปลามักคา (อังกฤษ: Shortnose gizzard shad[1], Chacunda gizzard shad; ชื่อวิทยาศาสตร์: Anodontostoma chacunda) ปลาน้ำเค็มและน้ำกร่อยชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาหลังเขียว (Clupeidae)

มีรูปร่างคล้ายกับปลาตะเพียนที่พบในน้ำจืด ซึ่งเป็นปลาต่างวงศ์และต่างอันดับกัน ลักษณะลำตัวป้อมสั้นจะงอยปากสั้นทู่ ตามีเยื่อไขมันหุ้ม ปากเล็ก ท้องแบนเป็นสันคมซึ่งเกิดขึ้นเพราะการเปลี่ยนรูปของเกล็ดไปทำหน้าที่ในการป้องกันตัว ครีบหางเว้าลึก ครีบอื่น ๆ มีขนาดเล็ก สีของลำตัวด้านหลังมีสีดำปนเทา ทางด้านท้องสีขาวเงิน หลังช่องเปิดเหงือกมีจุดสีดำข้างละจุด

มีความยาวประมาณ 14–20 เซนติเมตร กินซากสัตว์และพืชเน่าเปื่อยเป็นอาหาร

มีพฤติกรรมอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง หากินตามพื้นที่หน้าดินตามชายฝั่งและบริเวณปากแม่น้ำ พบทั่วไปในอ่าวไทย ในต่างประเทศพบในแถบอินโด-แปซิฟิก ตั้งแต่อ่าวเปอร์เซีย, ชายฝั่งอินเดีย, ทะเลอันดามัน จนถึงนิวแคลิโดเนีย[2]

เป็นปลาเศรษฐกิจ ใช้เนื้อในการรับประทานเป็นอาหาร[3]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "Anodontostoma chacunda". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ.
  2. จาก fishbase.org (อังกฤษ)
  3. "ปลาตะเพียนน้ำเค็ม". สนุกดอตคอม.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Anodontostoma chacunda ที่วิกิสปีชีส์