ปรินิพพานสถูป (ฮินดี: परिनिर्वाण स्तूप) เป็นวัดในพระพุทธศาสนาที่ตั้งอยู่ในเมืองกุสินารา เป็นสถานที่เสด็จดับขันธปรินิพพานของ พระโคตมพุทธเจ้า ศาสดาของศาสนาพุทธ[1] เซอร์ อเล็กซานเดอร์ คันนิงแฮม งานของเขาชิ้นนี้ได้รับความสนใจมากที่สุดเพราะเขาพิสูจน์ว่าพระโคตมพุทธเจ้าได้เสด็จดับขันธปรินิพพานที่สถานที่แห่งนี้[2] วัดในปัจจุบันสร้างขึ้นโดย รัฐบาลอินเดีย เมื่อ ค.ศ. 1956 หรือ พ.ศ. 2499 เป็นส่วนหนึ่งของพิธีเฉลิมฉลอง 2500 ปี มหาปรินิพพาน หรือ 25 พุทธศตวรรษ ภายในวัดแห่งนี้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป ปางปรินิพพาน ซึ่งหันพระเศียรไปทางทิศเหนือ โดยพระพุทธรูปองค์นี้มีความยาวทั้งสิ้น 6.1 เมตรและแกะสลักจากหินทั้งก้อน[3]

ปรินิพพานสถูป
परिनिर्वाण स्तूप
วัดปรินิรวาณและสถูป
ปรินิพพานสถูปตั้งอยู่ในรัฐอุตตรประเทศ
ปรินิพพานสถูป
ปรินิพพานสถูป
ข้อมูลพื้นฐาน
ที่ตั้งกุสินารา, รัฐอุตตรประเทศ
พิกัดภูมิศาสตร์26°44′28″N 83°53′17″E / 26.741°N 83.888°E / 26.741; 83.888
ศาสนาศาสนาพุทธ
ประเทศอินเดีย ประเทศอินเดีย
เว็บไซต์kushinagar.nic.in
การสร้าง
ปีที่เสร็จ413-55 ก่อนคริสต์กาล[1]

ประวัติ แก้

หลังจาก 45 ปีของการเผยแผ่พระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าเริ่มประชวรในที่สุดพระองค์ตัดสินพระทัยเดินทางไปยังเมือง กุสินารา เพื่อแสดงธรรมโปรดปัจฉิมสาวกคือ พระสุภัททะปริพาชก และแสดงปัจฉิมโอวาทโปรดพระสงฆ์สาวกของพระองค์ และเสด็จดับขันธ ปรินิพพาน เมื่อ 487 ปีก่อนคริสตกาล กษัตริย์แห่ง ราชวงศ์เมารยะ พระเจ้าอโศกมหาราช ได้มีการบันทึกว่าพระองค์เสด็จเยือนเมืองกุสินาราเมื่อ 260 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งพระองค์ได้สร้างพระพุทธไสยาสน์และพระสถูปเป็นจำนวนมากเพื่อเป็นเกียรติแก่สถานที่เสด็จดับขันธปรินิพพานของพระพุทธเจ้า สิ่งก่อสร้างทางพระพุทธศาสนาในกุสินาราได้รับการบูรณะอย่างต่อเนื่องระหว่างยุค จักรวรรดิกุษาณะ (ป. ค.ศ. 50-241) เมื่อกุสินาราร่วมเป็นสักขีพยานในระหว่างยุคทองของ จักรวรรดิคุปตะ (ป. ค.ศ. 320-647) ปรินิพพานสถูปได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่พร้อมกับพระพุทธไสยาสน์องค์ใหญ่[2] พระพุทธไสยาสน์และพระสถูปถูกค้นพบและขุดตกแต่งพร้อมกับพระสถูปที่อยู่ใกล้กันและได้ถูกบูรณะปฏิสังขรณ์เมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 1877 (หรือ พ.ศ. 2420 ตรงกับรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) พระพุทธไสยาสน์อยู่ในสภาพปรักหักพังแตกกระจัดกระจายนับไม่ถ้วน จึงได้มีการก่อสร้างขึ้นมาใหม่ส่วนพระสถูปได้รับการบูรณะและได้มีการสร้างหลังคาครอบองค์พระพุทธไสยาสน์โดยคณะสำรวจทางโบราณคดีของอินเดีย[4]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Knapp, Stephen (2009). Spiritual India handbook : a guide to temples, holy sites[,] festivals and traditions. Mumbai: Jaico Publishing. ISBN 978-81-8495-024-3. สืบค้นเมื่อ 18 July 2015.
  2. 2.0 2.1 Phuoc, Le Huu (2010). Buddhist architecture. [S.l.]: Grafikol. p. 282. ISBN 978-0984404308. สืบค้นเมื่อ 18 July 2015.
  3. "Parinirvana Temple". Buddhanet. สืบค้นเมื่อ 18 July 2015.
  4. Wright, Colin. "The sculpture of the mahaparinirvana of the Buddha at Kasia". www.bl.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-15. สืบค้นเมื่อ 2019-04-04.