ประวัติศาสตร์จักรวรรดิออตโตมัน

จักรวรรดิออตโตมันนั้นถูกก่อตั้งเป็นครั้งแรกโดยสุลต่านออสมันที่ 1 ณ ดินแดนเบย์ลิกขนาดเล็กในทางตะวันตกเฉียงเหนือของเอเชียน้อย จากทางใต้ของเมืองหลวงจักรวรรดิไบแซนไทน์คือกรุงคอนสแตนติโนเปิล พวกออตโตมันได้ข้ามมายังยุโรปเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1895 ได้สร้างถิ่นฐานอย่างถาวรที่ปราสาท Çimpe บนดาร์ดะเนลส์ในปี ค.ศ. 1354 และย้ายเมืองหลวงไปยังเอดีร์แน(Adrianople) ในปี ค.ศ. 1369[1]

เนื่องจากสุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 ได้พิชิตกรุงคอนสแตนติโนเปิล(ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นอิสตันบูล)ในปี ค.ศ. 1453 รัฐได้เติบโตเป็นจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ ขยายลึกเข้าไปในยุโรป แอฟริกาเหนือ และตะวันออกกลาง ด้วยส่วนใหญ่ของคาบสมุทรบอลตกอยู่ภายใต้การปกครองของออตโตมันในช่วงกลางศตวรรษที่ 16 ดินแดนออตโตมันได้เพิ่มมากขึ้นภายใต้การนำโดยสุลต่านเซลิมที่ 1 ซึ่งได้รับการสมมติว่าเป็นเคาะลีฟะฮ์หรือกาหลิบ ในปี ค.ศ. 1517 ในขณะที่พวกออตโตมันได้หันไปทางด้านตะวันออกและพิชิตทางด้านตะวันตกของอาระเบีย อียิปต์ เมโสโปเตเมีย และลิแวนต์ ท่ามกลางดินแดนอื่นๆ ภายในไม่กี่ทศวรรษข้างหน้า ส่วนใหญ่ของชายฝั่งแอฟริกาเหนือ(ยกเว้นโมร็อกโก) กลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรออตโตมัน

จักรวรรดิได้มาถึงจุดสูงสุดภายใต้การนำโดยสุลัยมานผู้เกรียงไกรในศตวรรษที่ 16 เมื่อได้ขยายจากอ่าวเปอร์เซียในทางตะวันออกไปจนถึงแอลจีเรียในทางตะวันตกและจากเยเมนในทางใต้ไปยังฮังการีและบางส่วนของยูเครนในทางตอนเหนือ

จากปี ค.ศ. 1699 เป็นต้นมา จักรวรรดิออตโตมันเริ่มสูญเสียดินแดนในช่วงสองศตวรรษถัดไป เนื่องจากความซบเซาจากภายใน สงครามการป้องกันที่มีราคาแพง ลัทธิล่าอาณานิคมจากยุโรป และการก่อกบฏของชาตินิยมในท่ามกลางประชาชน จุดเริ่มต้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 มีการปฏิรูปการบริหารหลายอย่างในความพยายามที่จะขัดขวางการเสื่อมถอยของจักรวรรดิ ด้วยความสำเร็จที่แตกต่างกัน

จักรวรรดิได้มาถึงจุดสิ้นสุดลงในช่วงภายหลังจากความปราชัยต่อฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง จักรวรรดิได้ถูกล้มล้างอย่างเป็นทางการโดยรัฐบาลสมัชชาแห่งชาติใหญ่ในอังการาในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1922 ตามมาด้วยสงครามประกาศอิสรภาพของตุรกี (ค.ศ. 1919-23) ตลอดระยะเวลากว่า 600 ปีที่ผ่านมา จักรวรรดิออตโตมันได้ทิ้งมรดกอันล้ำลึกไว้ในตะวันออกกลางและยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งสามารถเห็นได้จากขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม และอาหารของประเทศต่างๆ ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักร

อ้างอิง แก้

  1. McNeill, American, Britain and Russia (1953). p. 353.