ประตูชัก[1] (อังกฤษ: portcullis) คือส่วนประตูของปราสาทที่มีลักษณะเป็นกรงที่ทำด้วยไม้หรือโลหะ หรือทั้งไม้และโลหะรวมกัน ประตูชักมักจะเป็นประตูที่ในการป้องกันทางเข้าปราสาทในสมัยกลาง นับเป็นระบบการป้องกันระบบสุดท้ายก่อนที่จะเข้าถึงตัวปราสาท ประตูแต่ละช่องจะติดตั้งบนร่องดิ่งในกำแพงปราสาท และอาจจะยกขึ้นหรือลงได้อย่างรวดเร็วโดยการใช้โซ่หรือเชือกที่ร้อยกับระบบเครื่องกว้าน

ระบบดุลน้ำหนัก (counterweight) ของประตูชัก
ประตูชักบนตราอาร์มของปราก

ทางเข้าปราสาทหลักมักจะมีประตูชักสองช่อง ประตูด้านในเป็นประตูที่ปิดก่อน ตามด้วยประตูนอก ซึ่งทำให้เป็นกับดักข้าศึกระหว่างประตูสองช่อง เหนือช่องดักก็อาจจะมีช่องสังหารบนเพดานที่ผู้ป้องกันปราสาทสามารถใช้เพื่อการยิง หย่อน หรือเทสิ่งที่เป็นอันตราย เช่น ทรายร้อนหรือน้ำร้อน ลงมายังข้าศึกผู้ติดกับอยู่ได้ ส่วนด้านข้างบนกำแพงก็จะมีช่องธนูที่นายขมังธนูใช้ยิงข้าศึกได้

มุทราศาสตร์ แก้

ประตูชักเป็นเครื่องหมายที่ใช้ในตราอาร์ม เช่น ในตราอาร์มของตระกูลโบฟอร์ต และโดยพระมหากษัตริย์ราชวงศ์ทิวดอร์พระองค์แรกพระเจ้าเฮนรีที่ 7 ผู้สืบเชื้อสายทางพระราชมารดาเลดีมาร์กาเร็ต โบฟอร์ต[2] โดยใช้ประตูชักและดอกกุหลาบบนสัญลักษณ์ นอกจากนั้นก็ยังปรากฏบนตราอาร์มอื่น ๆ เช่น ตราอาร์มของพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ และอื่น ๆ

อ้างอิง แก้

  1. ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมศัพท์สถาปัตยกรรมศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2554, หน้า 104.
  2. Jonas, Michael K and Underwood, Malcolm G: The King's Mother: Lady Margaret Beaufort, Countess of Richmond and Derby, Cambridge University Press 1993 ISBN 0521447941

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ประตูชัก