ในสถาปัตยกรรมโบสถ์พราหมณ์ ประณาละ (IAST: praṇāla; ปฺรณาล) หรือ ประณาลี เป็นช่องทางปล่อยน้ำออกที่ติดตั้งเข้ากับผนังของครรภคฤห์ โดยมีไว้ปล่อยน้ำจากพิธีหรือของเหลวอื่นที่เทใส่รูปเคารพ

ประณาละในพฤหทีศวรมนเทียร ตัญชาวุร กำลังระบายน้ำอภิเษกออกมา

ประวัติศาสตร์ แก้

หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดของประณาละสามารถย้อนไปได้ถึง 100 ปีก่อนคริสต์กาลถึงศตวรรษที่ 2 ที่แหล่งโบราณคดีกันกลีตีละในอินเดียเหนือ และยังคงปรากฏการใช้งานเรื่อยมา เช่นในสมัยคุปตะ อย่างไรก็ตาม ประณาละในลักษณะที่สร้างขึ้ยนและแกะสลักอย่างปราณีตอลังการนั้นเริ่มมาพบในศตวรรษที่ 8 และพบได้ทั่วไปในโบสถ์พราหมณ์ในอินเดีย กระนั้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กลับไม่พบแพร่หลายเท่า ยกเว้นเพียงในชวา[1]

ชื่ออื่น ๆ ของประณาละ เช่น ประณาลี (praṇāli), ณาละ (nāla), ณาลี (nāli),[2] โคมุข (gomukha) และ นฤคม (nirgama)[3] นักโบราณคดีชาวฝรั่งเศสในสมัยศตวรรษที่ 20 เรียกประณาละว่า "โสมสูตร" (soma-sūtra) กระนั้นในเอกสารอินเดีย คำนี้มีไว้เรียกเส้นทางหรือช่องทางที่ใช้ตั้งประณาละ ซึ่งเป็นคนละส่วนกัน[4]

การออกแบบ แก้

ประณาละใช้งานเพื่อระบายน้ำ อภิเษกตีรถะ ทั้ง น้ำ นม กี ที่เทลงบนเทวรูปภายในโบสถ์พราหมณ์[5]

ชนิดของประณาละที่พบบ่อยที่สุดในโบสถ์พราหมณ์โบราณคือ มกรประณาละ (makara-pranala) ซึ่งนิยมเปรียบเทียบกับการ์กอยล์ในยุโรป มกรประณาละสร้างเป็นรูปของมกร ซึ่งเป็นสัตว์ในตำนานที่มีอาศัยในน้ำ[1] การสร้างประณาละเป็นรูปมกรจึงมีความนิยมเนื่องจากมกรมีความเกี่ยวเนื่องกับน้ำ[6] เอกสารสมัยศตวรรษที่ 11 สมรังคนสูตรธร เสนอให้สร้างประณาละโดยรอบครรภคฤห์เพื่อระบายน้ำโดยทำฝั่งทางออกเป็นรูปมกร ใน วาสตุศาสตระ จากปลายศตวรรษที่ 11 ซึ่งรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมมารุ-คุรชร มีการกล่าวถึงประณาละเช่นกัน[1] ใน อปรชีตปฤจฉา จากปลายศตวรรษที่ 12 กล่าวถึงมกรประณาละ ว่าใช้ระบายน้ำออกจาก ชคตี (ฐาน) ของอาคารในโบสถ์พราหมณ์[7]

อ้างอิง แก้

บรรณานุกรม แก้

  • M. A. Dhaky (1982). "The "Praṇāla" in Indian, South-Asian and South-East Asian Sacred Architecture". ใน Bettina Bäumer (บ.ก.). Rupa Pratirupa: Alice Boner commemoration volume. New Delhi: Biblia Impex. OCLC 10541431.
  • S. K. R. Rao (2001). Vāstu-Śilpa-Kosha. Vol. 1. Kalpatharu. ISBN 978-93-81218-51-8.
  • S. P. Gupta; S. N. Vijayakumar (2010). Temples in India: Origin and Developmental Stages. Delhi: Centre for Research and Training in History, Archaeology and Paleo-Environment / DK Printworld. ISBN 978-81-246-0496-0.