ปฏิบัติการเยลโลเบิร์ด
ปฏิบัติการเยลโลเบิร์ด (อังกฤษ: Operation Yellowbird; จีน: 黄雀行动) เป็นปฏิบัติการในฮ่องกงเพื่อช่วยเหลือชาวจีนที่เข้าร่วมการประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน พ.ศ. 2532 เพื่อช่วยเหลือจากการถูกรัฐบาลจีนจับกุม โดยมีการอำนวยความสะดวกให้เดินทางออกนอกประเทศทางทะเลผ่านฮ่องกง[1] หน่วยงานข่าวกรองตะวันตก เช่น ราชการข่าวกรองลับของบริเตน และสำนักข่าวกรองกลางของสหรัฐ ก็มีส่วนเกี่ยวข้องในปฏิบัติการนี้ด้วย[2] บุคคลอื่นที่เข้าร่วมด้วยมีทั้งนักการเมือง ผู้มีชื่อเสียง นักธุรกิจ และสมาชิกสมาคมลับชาวจีนจากฮ่องกง ซึ่งดำเนินมาเกือบตลอดระยะเวลาของปฏิบัติการนี้[3][4]
ปฏิบัติการเริ่มต้นในปลายเดือนมิถุนายน 2532 ให้หลังการออกคำสั่งของกรมความมั่นคงสาธารณะเทศบาลกรุงปักกิ่งในวันที่ 13 มิถุนายน 2532 ให้จับกุมผู้นำสหพันธ์ปกครองตนเองนักศึกษาปักกิ่งที่อยู่ระหว่างหลบหนี ปฏิบัติการนี้ดำเนินไปจนถึงปี 2540[5] เยลโลเบิร์ดช่วยเหลือผู้เห็นต่างจากรัฐบาลได้กว่า 400 คน ซึ่งได้มุ่งหน้าไปยังประเทศตะวันตก[6] มีนักกิจกรรมในฮ่องกงสามคนถูกทางการจีนจับกุม แต่ภายหลังถูกปล่อยตัวเพราะรัฐบาลฮ่องกงเข้าสอด[7]
อ้างอิง
แก้- ↑ Liu, Melinda (1 April 1996). "Still on the wing; inside Operation Yellowbird, the daring plot to help dissidents escape". Newsweek.
- ↑ Anderlini, Jamil (1 June 2014). "Tiananmen Square: the long shadow". Financial Times. สืบค้นเมื่อ 2 June 2014.
The extraction missions, aided by MI6, the UK’s Secret Intelligence Service, and the CIA, according to many accounts, had scrambler devices, infrared signallers, night-vision goggles and weapons.
- ↑ Lim, Louisa (2014). The People's Republic of Amnesia: Tiananmen Revisited. New York: Oxford University Press. p. 70. ISBN 9780190227913.
- ↑ Wen, Philip (1 June 2014). "The incredible story of Brother Six, democracy activist, friend to triads". The Sydney Morning Herald. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 April 2018. สืบค้นเมื่อ 28 March 2018.
- ↑ 營救八九民運領袖 前線總指揮首次披露 เก็บถาวร 2009-09-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Apple Daily, 28 May 2009
- ↑ Lee, Samson; Wong, Natalie (12 July 2011) "Praise for Brit agents who helped students" เก็บถาวร 16 ตุลาคม 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. The Standard
- ↑ Shiu Tsu Bough Hing, Lo (2009). The politics of cross-border crime in greater China: case studies of mainland China, Hong Kong, and Macao. M.E. Sharp. pp. 87–88. ISBN 9780765623041.