บีบี กา มักบะรา (มราฐี: बीबी का मकबरा; Bibi Ka Maqbara, แปล: "สุสานของพระนาง"[1][2]) เป็นสุสาน ตั้งอยู่ในเมืองเอารังคาบาด รัฐมหาราษฏระ ประเทศอินเดีย สร้างขึ้นในปี 1660 โดยจักรพรรดิโมกุล เอารังเซบ เพื่อระลึกถึงพระอัครมเหสีและมเหสีพระองค์แรก ดิลรัส บานู เบกุม (หรือพระนามหลังสิ้นพระชนม์ ราเบียอุดดาวรานี; Rabia-ud-Daurani) ถือกันว่าเป็นสัญลักษณ์ถึง 'ความภักดีซื่อสัตย์ในคู่ครอง' (conjugal fidelity) ของเอารังเซบ[3][4][5] อาคารมีหน้าตาที่คล้ายคลึงอย่างมากกับทัชมาฮาล ซึ่งเป็นสุสานของมุมตาช มหัล พระมารดาของจักรพรรดิเอารังเซบ[6] เอารังเซบไม่มีความสนพระทัยในการสถาปัตยกรรม ถึงแม้จะเคยก่อสร้างมัสยิดโมตีในเดลีซึ่งมีขนาดเล็กแต่สง่างาม บีบีกามักบะรานี้เป็นสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่ที่สุดอันดับสองที่เอารับเซบเคยดำริให้สร้าง รองจากมัสยิดบาดชาฮี[7]

บีบี กา มักบะรา
ที่ตั้งเอารังคาบาด, รัฐมหาราษฏระ, ประเทศอินเดีย
พิกัด19°54′05″N 75°19′13″E / 19.90151°N 75.320195°E / 19.90151; 75.320195
สถาปนิกอะตาอุลลอห (Ata-ullah), หันสปัต ราอี (Hanspat Rai)
สถาปัตยกรรมสถาปัตยกรรมโมกุล
บีบี กา มักบะราตั้งอยู่ในรัฐมหาราษฏระ
บีบี กา มักบะรา
ตำแหน่งที่ตั้งบีบี กา มักบะราในรัฐมหาราษฏระ
บีบี กา มักบะราตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย
บีบี กา มักบะรา
บีบี กา มักบะรา (ประเทศอินเดีย)

เนื่องจากความคล้ายอย่างมากต่อทัชมาฮาล ทำให้อาคารนี้ได้รับการเรียกขานว่า ทักขณีตาช (Dakkhani Taj; ทัช[มาฮาล]แห่งเดกกาน)[8] ในปัจจุบัน บีบีกามักบะราเป็นอนุสรณ์หลักของเมืองเก่าเอารังคาบาด[9][10] ที่ประตูทางเข้าปรากฏจารึกผู้ออกแบบสร้างคือ อะตาอุลลอห (Ata-ullah) ผู้เป็นสถาปนิก และ ฮันสปัต ราอี (Hanspat Rai) ผู้เป็นวิศวกร[8] อะตาอุลลอหเป็นบุตรของอุสตาดอะห์มาดลาฮาวรี ผู้ออกแบบหลักของทัชมาฮาล[11]

ประวัติ แก้

 
ภาพถ่ายเมื่อทศวรรษ 1880s

ดิลราส บานู เบกุม เป็นเจ้าหญิง ธิดาในจักรพรรดิแห่งซาฟาวิดในเปอร์เซีย[12] แลดมีร์ซา บาดีอุซซามาน ซาฟาวี[13] และมียศเป็นอุปราชแห่งคุชราต[14] ต่อมาเธอสมรสกับมูฮี-อูด-ดิน (Muhi-ud-din) (ต่อมาขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิเอารังเซบ) เมื่อ 8 พฤษภาคม 1637 ที่เมืองอัคระ[15] ดิลราชเป็นทั้งอัครมเหสี, มเหสีองค์แรก และมเหสีองค์โปรของเอารังเซบ[16][17][18][19] ทั้งคู่มีลูกห้าคน

หลังพระนางคลอดบุตรคนที่ห้า ก็สิ้นพระชนม์ในหนึ่งเดือนต่อมาในวันที่ 8 ตุลาคม 1657 เป็นไปได้ว่าเกิดจากอาการแทรกซ้อนจากการคลอดบุตร ที่ซึ่งนำความเศร้าโศกอย่างรุนแรงมายังจักรพรรดิเอารังเซบและบุตร อะซัม ชาห์[20] ในปี 1660 จักรพรรดิเอารังเซบได้มีดำริให้สร้างสุสานขึ้นเพื่อไว้ศพของดิลราส โดยตั้งชื่อบีบี กา มักบะรา ("สุสานของพระนาง") ที่ซึ่งพระนางดิลราสได้รับการฝังภายใต้พระนามใหม่หลังสิ้นพระชนม์ 'ราเบียอุดดุรานี' (Rabia-ud-Daurani; "ราเบียแห่งยุค") ส่วนพระศพของเอารังเซบฝังไว้ที่สุสานที่สร้างในเมืองขุลดาบาด

ระเบียงภาพ แก้

อ้างอิง แก้

  1. Lach, Donald F.; Kley, Edwin J. Van (1998). Asia in the Making of Europe : Volume III, the Century of Advance (Pbk. ed.). University of Chicago Press. p. 738. ISBN 9780226467672.
  2. Rupani, Bob. India's 100 best destinations. ISBN 9788192526201. OCLC 1027216185.
  3. Lach, Donald F.; Kley, Edwin J. Van (1998). Asia in the Making of Europe : Volume III, the Century of Advance (Pbk. ed.). University of Chicago Press. p. 738. ISBN 9780226467672.
  4. Eraly, Abraham (2008). The Mughal world: India's tainted paradise. Weidenfeld & Nicolson. pp. 376.
  5. "The Taj of Deccan". Deccan Herald. 19 February 2011.
  6. Gopal, Madan (1990). K.S. Gautam (บ.ก.). India through the ages. Publication Division, Ministry of Information and Broadcasting, Government of India. p. 174.
  7. Eraly, Abraham (2008). The Mughal world: India's tainted paradise. Weidenfeld & Nicolson. pp. 376.
  8. 8.0 8.1 "World Heritage Sites. Bibi-Ka-Maqbar". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 October 2011. สืบค้นเมื่อ 28 January 2013.
  9. Koch, Ebba (1997). King of the World: The Padshahnama. Azimuth. p. 104.
  10. "Bibi Ka Maqbara". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 February 2013. สืบค้นเมื่อ 28 January 2013.
  11. text; Sahai, photogr. Surendra (2004). Indian architecture : Islamic period : 1192-1857 (1. publ. ed.). New Delhi: Prakash Books. p. 150. ISBN 9788172340575.
  12. Yust, Walter (1954). Encyclopædia Britannica, Volume 2. p. 694.
  13. Faruqui, Munis D. (2012). The Princes of the Mughal Empire, 1504–1719. Cambridge University Press. pp. 72, 90. ISBN 978-1139536752.
  14. Annie Krieger-Krynicki (2005). Captive princess: Zebunissa, daughter of Emperor Aurangzeb. Oxford University Press. p. 1.
  15. Sir Jadunath Sarkar (1979). A short history of Aurangzib, 1618-1707. Orient Longman. p. 409.
  16. Eraly, Abraham (2007). The Mughal World: Life in India's Last Golden Age. Penguin Books India. p. 147.
  17. Chandra, Satish (2002). Parties and politics at the Mughal Court, 1707-1740. Oxford University Press. p. 50.
  18. Koch, Ebba (1997). King of the world: the Padshahnama. Azimuth Ed. p. 104.
  19. Nath, Renuka (1990). Notable Mughal and Hindu women in the 16th and 17th centuries A.D. New Delhi: Inter-India Publ. p. 148.
  20. Hamid, Annie Krieger Krynicki ; translated from French by Enjum (2005). Captive princess : Zebunissa, daughter of Emperor Aurangzeb. Karachi: Oxford University Press. p. 84. ISBN 9780195798371.

บรรณานุกรม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้