บารับบัส
บารับบัส (/bəˈræbəs/; แอราเมอิก: ישוע בר Bar ʾAbbaʾ, แปลว่า "บุตรของบิดา" หรือ "บุตรของอาจารย์")[1] หรือที่เรียกว่า เยซู บารับบัส (แอราเมอิก: ישוע בר אבא Yeshua Bar ʾAbbaʾ) ในบางต้นฉบับ เป็นบุคคลที่ถูกกล่าวถึงในพันธสัญญาใหม่ เป็นกบฏที่ถูกจับกุมโดยข้าหลวงโรมันในเวลาเดียวกันกับพระเยซู และเป็นผู้ที่ป็อนติอุส ปีลาตุส (ปีลาต) ปล่อยตัวเป็นอิสระในเทศกาลปัสกาในกรุงเยรูซาเลม ในขณะที่ยังคุมตัวพระเยซูในฐานะนักโทษ
เรื่องราวในคัมภีร์ไบเบิล
แก้จากในพระวรสารในสารบบทั้งสี่ฉบับระบุถึงธรรมเนียมของเทศกาลปัสกาในกรุงเยรูซาเลมที่ให้ปีลาตข้าหลวงแคว้นยูเดียลดโทษประหารชีวิตของนักโทษคนหนึ่งจากการเรียกร้องของฝูงชน ในเหตุการณ์ครั้งนั้นได้มีการเสนอต่อฝูงชนให้เลือกบารับบัสหรือพระเยซูที่จะถูกปล่อยตัวจากการควบคุมของโรมัน จากความในพระวรสารสหทรรศน์ได้แก่มัทธิว(มัทธิว 27:15-26),[2]มาระโก (มาระโก 15:6-15), และ ลูกา (ลูกา 23:13-25) กับความในพระวรสารนักบุญยอห์น (ยอห์น 18:38-19:16) ฝูงชนเลือกให้ปล่อยตัวบารับบัสและให้ตรึงกางเขนพระเยซูชาวนาซาเรธ ปีลาตยอมรับอย่างไม่เต็มใจต่อข้อเรียกร้องของฝูงชน มีข้อความหนึ่งพบในพระวรสารนักบุญมัทธิว เป็นคำพูดของฝูงชน (ที่กล่าวถึงพระเยซู) ว่า "ให้ความผิดเรื่องความตายของเขาตกอยู่กับเราและลูก ๆ ของเรา" (มัทธิว 27:25)
พระวรสารนักบุญมัทธิวกล่าวถึงบารับบัสเพียงว่าเป็น "นักโทษอุกฉกรรจ์" (มัทธิว 27:16) พระวรสารนักบุญมาระโกและลูกากล่าวถึงบารับบัสว่าเป็นผู้ร่วมใน στάσις (stasis, จลาจล) อาจเป็น "ผู้ร่วมในกบฏต้านอำนาจของโรมันหลายครั้ง"[3] ผู้ก่อเหตุฆ่าคนตาย (มาระโก 15:7, ลูกา 23:19) Robert Eisenman กล่าวว่าในยอห์น 18:40 กล่าวถึงบารับบัสว่าเป็น λῃστής (lēstēs, "โจร") "คำที่โยเซพุสมักใช้เมื่อพูดถึงนักปฏิวัติ"
มีพระวรสารสามฉบับที่กล่าวถึงธรรมเนียมในเทศกาลปัสกาที่ข้าหลวงโรมันต้องปล่อยตัวนักโทษตามการเลือกของฝูงชน ได้แก่ มาระโก 15:6, มัทธิว 27:15 และยอห์น 18:39 ฉบับสำเนาในยุคหลังของพระวรสารนักบุญลูกาก็มีข้อความที่สอดคล้องกัน (ลูกา 23:17) แม้จะไม่ปรากฏข้อความนี้ในต้นฉบับที่เก่าแก่ที่สุด อาจมีการแทรกข้อความเพิ่มเติมในภายหลังเพื่อให้พระวรสารนักบุญลูกามีความสอดคล้องกับพระวรสารอื่น[4]
ธรรมเนียมการปล่อยตัวนักโทษที่เยรูซาเลมในเทศกาลปัสกาเป็นที่รู้จักในหมู่นักศาสนศาสตร์ในชื่อ Paschal Pardon[5] แต่ธรรมเนียมนี้ (ไม่ว่าจะในช่วงเทศกาลปัสกาหรือช่วงเวลาอื่น ๆ) ไม่มีบันทึกในเอกสารทางประวัติศาสตร์ใด ๆ นอกจากในพระวรสาร ทำให้นักวิชาการบางส่วนตั้งคำถามเกี่ยวกับข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์และอ้างว่าธรรมเนียมเช่นนี้เป็นเพียงเรื่องที่แต่งขึ้นมาโดยผู้เขียนคัมภีร์ไบเบิล[6][7]
อ้างอิง
แก้เชิงอรรถอ้างอิง
แก้- ↑ "Barabbas : Facts & Significance". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-11-11.
- ↑ Evans 2012, pp. 452-.
- ↑ "Mark 15". Cambridge Bible for Schools and Colleges. สืบค้นเมื่อ 11 December 2017.
- ↑ Brown 1994, pp. 793–795.
- ↑ Merritt 1985, pp. 57–68.
- ↑ Cunningham, Paul A. "The Death of Jesus: Four Gospel Accounts". Center for Christian-Jewish Learning at Boston College. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-05. สืบค้นเมื่อ 2021-12-07.
- ↑ Ehrman, Bart (2016). Jesus Before the Gospels. United Kingdom: HarperOne.
แหล่งข้อมูล
แก้- Pope Benedict XVI (2011). Jesus of Nazareth: From the Entrance Into Jerusalem to the Resurrection. Holy week. Part two. Ignatius Press. ISBN 978-1-58617-500-9.
- Brown, Raymond E. (1994). The Death of the Messiah. Vol. 1. New York: Doubleday.
- Bulgakov, Mikhail (2016). The Master and Margarita. Grove Atlantic. ISBN 978-0-8021-9051-2.
- Davies, Stevan L. (1981). "Who is called Bar Abbas?". New Testament Studies. 27 (2): 260–262. doi:10.1017/S0028688500006202.
- Dimont, Max I. (1999). Appointment in Jerusalem. Open Road. ISBN 978-1-58586-546-8.
- Evans, Craig A. (2012). Matthew. New Cambridge Bible Commentary. Cambridge University Press. ISBN 9780521812146.
- Hebron, Carol A. (2016). Judas Iscariot: Damned or Redeemed: A Critical Examination of the Portrayal of Judas in Jesus Films (1902-2014). Bloomsbury Publishing. ISBN 978-0-567-66831-8.
- Holland, Tom (6 September 2012). "The Liars' Gospel by Naomi Alderman – review". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 27 May 2014.
- Maccoby, H. Z. (1969). "Jesus and Barabbas". New Testament Studies. 16 (1): 55–60. doi:10.1017/S0028688500019378.
- Maccoby, Hyam (1973). Revolution in Judaea. New York: Taplinger.
- Merritt, Robert L. (March 1985). "Jesus (the nazarene) Barabbas and the Paschal Pardon". Journal of Biblical Literature. 104 (1): 57–68. doi:10.2307/3260593. JSTOR 3260593.
- Oursler, Fulton (1957). The Greatest Story Ever Told. World's Work.
- Reynolds, Matt (2 March 2011). "Pope Benedict XVI Points Fingers on Who Killed Jesus". ChristianityToday.com. สืบค้นเมื่อ 1 July 2021.</ref>
- Rigg, Horace Abram (1945). "Barabbas". Journal of Biblical Literature. 64 (4): 417–456. doi:10.2307/3262275. JSTOR 3262275.
- Urrutia, Benjamin (October 2008). "Pilgrimage". The Peaceable Table.
- Van Hooydonck, Peter (1994). Willy Vandersteen: De Bruegel van het beeldverhaal : biografie. Standaard.
- Warren, William (2011). "Who Changed the Text and Why? Probable, Possible, and Unlikely Explanations". ใน Bart D. Ehrman; Daniel B. Wallace; Robert B. Stewart (บ.ก.). The Reliability of the New Testament. Fortress Press. ISBN 978-0-8006-9773-0.