บัยตุลฮิกมะฮ์ (อาหรับ: بيت الحكمة) มีอีกชื่อว่า ห้องสมุดใหญ่แห่งแบกแดด สื่อถึงสถาบันสาธารณะหลักของรัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์และศูนย์กลางทางปัญญาในแบกแดด หรือห้องสมุดส่วนตัวขนาดใหญ่ของเคาะลีฟะฮ์ในยุคทองของอิสลาม[1][2] บัยตุลฮิกมะฮ์มีความกำกวมถึงการทำงานและการมีตัวตนในฐานะสถาบันทางการ เนื่องจากไม่มีหลักฐานทางกายภาพหลังการล่มสลายของรัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์และการพึ่งข้อมูลทางวรรณกรรม บัยตุลฮิกมะฮ์อาจก่อตั้งขึ้นในฐานะห้องสมุดที่เก็บรวมชุดสะสมของเคาะลีฟะฮ์ฮารูน อัรเราะชีดในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 8 (ต่อมากลายเป็นสถาบันสาธารณะในรัชสมัยอัลมะอ์มูน) หรือชุดสะสมส่วนตัวของอัลมันศูร (ครองราชย์ ค.ศ. 754–775) ที่มีหนังสือหายากและชุดสะสมกวีในภาษาอาหรับและเปอร์เซีย[1][3]

กลุ่มนักวิชาการในห้องสมุดอับบาซียะฮ์ ภาพโดยยะห์ยา อัลวาซิฏี ค.ศ. 1237

บัยตุลฮิกมะฮ์และข้อมูลในนั้นถูกทำลายในการล้อมแบกแดดใน ค.ศ. 1258 ทำให้มีหลักฐานทางโบราณคดีน้อยมาก โดยผู้มีความรู้ในเรื่องนี้มากที่สุดมาจากผลงานของนักวิชาการร่วมสมัยในตอนนั้น เช่นอัฏเฏาะบะรีและอิบน์ อันนะดีม[3]การไม่มีหลักฐานทางกายภาพทำให้บางส่วนตั้งคำถามถึงการมีตัวตนของบัยตุลฮิกมะฮ์[2]

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 Dimitri Gutas (1998). Greek Thought, Arabic Culture: The Graeco-Arabic Translation Movement in Baghdad and Early ʻAbbāsid Society (2nd–4th/8th–10th Centuries). Psychology Press. pp. 53–60. ISBN 978-0-415-06132-2.
  2. 2.0 2.1 Jim Al-Khalili (31 March 2011). "5: The House of Wisdom". The House of Wisdom: How Arabic Science Saved Ancient Knowledge and Gave Us the Renaissance. Penguin Publishing Group. p. 53. ISBN 978-1-101-47623-9.
  3. 3.0 3.1 Brentjes, Sonja; Morrison, Robert G. (2010). "The Sciences in Islamic Societies". The New Cambridge History of Islam. Vol. 4. Cambridge: Cambridge University Press. p. 569.

บรรณานุกรม

แก้

อ่านเพิ่ม

แก้