บัญญัติ (ศาสนาพุทธ)

(เปลี่ยนทางจาก บัญญัติ (พุทธศาสนา))

บัญญัติ หรือ ที่ในภาษาบาลีเขียนว่า "ปญฺญตฺติ" คือ สิ่งที่จิตคิดค้นขึ้นเองโดยอาศัยปรมัตถธรรมที่เป็นอารมณ์ในวาระจิตก่อนๆ. บัญญัติจึงไม่มีอยู่จริง เพราะไม่ได้ถูกปัจจัยปรุงแต่งขึ้น เป็นได้แค่อารมณ์ของจิตเท่านั้น ไม่มีความสามารถในการเป็นปัจจยุปบัน ไม่สามารถเป็นผลของเหตุได้. บัญญัติจึงไม่มีสังขตลักษณะ คือ ไม่เกิด ไม่ดับ. ตัวอย่างของบัญญัติ เช่น อัตตา, ต้นไม้, กสิณปฏิภาคนิมิต, อนิจจตา (ไม่ใช่อนิจจัง) เป็นต้น.

ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาได้แสดงไว้มากมายนับไม่ได้ สาเหตุที่ท่านแสดงไว้มากมายนั้น ก็เพื่อให้ปัญญาเจริญนั่นเอง. ในอภิธัมมัตถสังคหะ[1] นั้นจัดไว้ ๒ หมวด คือ อัตถบัญญัตติ (กสิณปฏิภาคนิมิตเป็นต้น) กับ นามบัญญัตติ (ชื่อว่า "ต้นไม้" เป็นต้น). อนึ่ง นามบัญญัติ ถูกเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สัททบัญญัติ.

  • อัตถบัญญัตติ จิตที่เกิดก่อนๆ จะประมวลมาเพื่อให้จิตหลังๆ รับรู้ โดยอาศัย ปุนสัญชานนปัจจยนิมิตกรณรสา (หน้าที่ทำเครื่องหมายให้จำได้อีกในอนาคตของสัญญาเจตสิก) ของวิถีจิตในวาระก่อนเป็นปกตูปนิสสยปัจจัยแก่วิถีจิตในวาระหลัง ตั้งแต่วาระอตีตัคคหณวิถี และวาระสมูหัคคหณวิถี ไปจนประมวลเป็นบัญญัติวาระอัตถัคคหณวิถี และนามมัคคหณวิถี เช่น จ้องบาตรหาน้ำลาย ที่ตกลงไปจะได้เขี่ยทิ้ง (ถ้ากินอาบัติของไม่ได้ปะเคน) อันนี้ไม่ต้องคิดเป็นคำๆ ไม่ต้องคิดชื่อเลยว่าจะเขี่ย "น้ำลาย" หรือแม้คิดแต่เราก็ไม่เขี่ยคำว่า "น้ำลาย"อยู่แล้ว เราก็คิดถึงน้ำลายซึ่งประมวลมาจากรูปที่เกิดในแบบต่างๆนั่นแหละแล้วก็รีบเขี่ยทิ้ง.

ลำดับวาระดังนี้: วาระที่เห็นสี เป็นวาระจักขุทวารวิถี ทางปัญจทวาร, วาระต่อเนื่องกันที่คิดถึงสี เป็นวาระอตีตัคคหณวิถี ทางมโนทวาร, วาระที่คิดถึงสีโดยไม่จำแนกรายละเอียด เป็นวาระสมูหัคคหณวิถี ทางมโนทวาร, วาระที่คิดถึงกลุ่มก้อนของสี เป็นวาระอัตถัคคหณวิถี ทางมโนทวาร, วาระที่คิดถึงคำเรียกขานของสี หรือของกลุ่มก้อนของสี เป็นวาระนามัคคหณวิถี ทางมโนทวาร. อนึ่งวาระทางมโนทวารทั้งหมดข้างต้น สมัยนี้นิยมเรียกว่า "ตทนุวัตติกะมโนทวาร".

  • นามบัญญัตติ จะประมวลมาเพื่อพูดคุยบอกกล่าว อันนี้ต้องคิดเป็นคำ ๆ เป็นชื่อ ๆ. ถ้าเป็นการฟังจะต้องคิดถึงชื่อก่อนจึงจะรู้อัตถบัญญัตตินะ เหมือนตอนฟังมาแล้วจำคำแปลไม่ได้หน่ะนึกแทบตายใช่ไหมครับ นั่นแหละชื่อมาก่อนอัตถะ. ส่วนทวาร ๔ ที่เหลือต้องรู้อรรถะก่อนจึงรู้ชื่อ เช่น เห็นหน้าดาราคุ้นๆ แต่ก็นึกชื่อไม่ออกนั่นแหละ, ส่วนใจนั้นจะรู้อัตถะหรือรู้ชื่อก่อนแบบไหนก็ได้ทั้งนั้น.

การแปลบาลีที่อธิบายเรื่องบัญญัติ แก้

การแปลเรื่องบัญญัติมักมีการแปลที่ผิดหลักความเป็นจริงอยู่บ่อยๆ คือ แปลให้บัญญัติกลายเป็นปรมัตถ์ เช่น แปลว่า "บัญญัติอาศัยปรมัตถ์เกิดขึ้น" เป็นต้น ซึ่งเป็นการแปลที่ขัดกับข้อเท็จจริงตามหลักปัฏฐานที่ว่า บัญญัติเป็นได้แค่อารัมมณปัจจัยเท่านั้น บัญญัติไม่สามารถเป็นปัจจยุปบันได้เลย แต่เมื่อแปลให้เกิดความเข้าใจไปว่า บัญญัติสามารถอาศัยปรมัตถ์ได้ ก็จะทำให้บัญญัติกลายเป็นธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่ง (สังขตธรรม) ขึ้นมาทันที ทั้งๆ ความจริงแล้วบัญญัติเป็นปัจจยุปบันไม่ได้ตามหลักปัฏฐาน.

การแปลที่ถูกต้องตรงตามหลักปัฏฐาน จึงควรโยคสภาวะธรรมที่เกี่ยวข้องกันมาใส่ด้วยให้ครบถ้วนตามหลักบาลี เช่น จากที่แปลว่า "บัญญัติอาศัยปรมัตถ์เกิดขึ้น" ก็ควรโยคจิตเข้ามาเป็น "จิตอาศัยปรมัตถ์ รู้บัญญัติ" โดยในคำแปลที่แก้แล้วนั้นมีอธิบายแยกลงไปว่า คำว่า "จิต" นั้น โยคเพิ่มเข้ามาได้เพราะ คำว่า "อาศัยปรมัตถ์" นั้น ต้องการปัจจยุปบันของปรมัตถ์ เมื่อบัญญัติเป็นปัจจยุปบันของปรมัตถ์ไม่ได้ ก็ต้องหาต้นตอของบัญญัติที่เป็นปัจจยุปบันได้แล้วโยคเข้ามาให้ครบตามหลักบาลี, ส่วนคำว่า "รู้" นั้น ก็โยคมาจากความหมายของบัญญัติที่ว่า "ปัญญาปิยตา (อัตถบัญญัติ)" กับ "ปัญญาปนโต (นามบัญญัติ)". คำโยคเหล่านี้ ถ้าคิดไม่ออก ในพระไตรปิฎก อรรถกถา และฏีกาต่างๆ ก็มักจะแสดงไว้ให้อยู่แล้ว แต่ต้องรอบคอบ ดูเรื่องปัจจัยปัจจยุปบัน และกฎไวยากรณ์ต่างๆ ให้ดี เพื่อไม่ให้โยคผิดพลาด.

ไตรลักษณ์ก็เป็นบัญญัติ แก้

ตามคัมภีร์ฝ่ายศาสนา ท่านให้ความหมายของขันธ์ กับ ไตรลักษณ์ไว้คู่กัน เพราะเป็น ลักขณวันตะ และ ลักขณะ ของกันและกัน[2][3][4][5][6] ดังนี้ :-

อนิจจลักษณะทำให้เราทราบได้ว่าขันธ์ 5 เป็นของไม่เที่ยง ไม่คงที่ ไม่ยั่งยืน ซึ่งได้แก่ อาการความเปลี่ยนแปลงไปของขันธ์ 5 เช่น อาการที่ขันธ์ 5 เคยเกิดขึ้นแล้วเสื่อมสิ้นไปเป็นขันธ์ 5 อันใหม่, อาการที่ขันธ์ 5 เคยมีขึ้นแล้วก็ไม่มีอีกครั้ง เป็นต้น.

แหล่งข้อมูลที่กล่าวว่าไตรลักษณ์เป็นบัญญัติ แก้

สำหรับแหล่งข้อมูลในคัมภีร์ที่กล่าวถึงไตรลักษณ์นัยที่เป็นบัญญัติ เท่าที่ค้นพบมีดังนี้ :-

  • "วุฏฺฐานคามินี ปน วิปสฺสนา กิมารมฺมณาติ? ลกฺขณารมฺมณาติ. ลกฺขณํ นาม ปญฺญตฺติคติกํ น วตฺตพฺพธมฺมภูตํ.-ก็วุฏฐานคามินีวิปัสสนามีอะไรเล่าเป็นอารมณ์? ตอบว่า มีลักษณะเป็นอารมณ์ ชื่อว่า ลักษณะมีคติเป็นบัญญัตติ เป็นนวัตตัพพธรรม ​"[7] .
  • "​ตทารัมมณ์ย่อม​ไม่ได้​ใน​วิปัสสนาที่มีอารมณ์​ไตรลักษณ์​. ​ตทารมณ์ย่อม​ไม่​ได้​ใน​พลวิปัสสนาที่​เป็นวุฏฐานคามินี​" [8].
  • "อาทิ-คฺคหเณน ขยาทิสภาวํ ตํ ตํ ธมฺมมุปาทาย ปญฺญาปิยมานํ อนิจฺจลกฺขณาทิกํ สงฺคณฺหาติ-ด้วยการถือเอาอาทิศัพท์ ท่านได้สงเคราะห์อนิจจลักษณะเป็นต้น อันบุคคลรู้กันได้โดยอาศัยธรรมะนั้นๆอันเป็นสภาวะที่สิ้นไปเป็นต้น"[9]
  • "​รูปนีลาทิอากา​โร​ ​รูปารมฺมณรูปาทานาการปญฺญตฺติ.​ ตชฺชาปญฺญตฺติ​ ​เหสา​ ​ยถา​ ​อนิจฺจตาทิ-อาการคือสีเขียวของรูปเป็นต้นเป็น (อาการ)บัญญัติแห่งอาการแห่งรูป คือ รูปารมณ์ (วัณณรูป) ที่ถูกจิตยึดเอา. จริงอยู่นี้เป็นตัชชาบัญญัตติ อาทิเช่น อนิจจตาเป็นต้น​"[10].
  • "​ตานิ​ ​ปน​ ​นิสฺสยานเปกฺขํ​ ​น​ ​ลพฺภนฺตีติ​ ​ปญฺญตฺติสภาวา​เนว​ ​ตชฺชาปญฺญตฺติภาวโตติ สตฺตฆฏาทิ​โต​ ​วิ​เสสทสฺสนตฺถํ​ ​ปน​ ​อฏฺฐกถายํ​ ​วิสุ​ ​วุตฺตานีติ. น​ ​หิ​ ​โกจิ​ ​สภา​โว​ ​กุสลตฺติกาสงฺคหิ​โตติ​ ​วตฺตุ​ ​ยุตฺตํ กุสลตฺติกสฺส​ ​นิปฺปเทสตฺตา​- แต่ว่าไตรลักษณ์ทั้งหลายย่อมไม่ได้ที่จะไม่เพ่งถึงที่อาศัยดังนี้ เพราะเป็นตัชชาบัญญัตติแห่งสภาวะที่มีบัญญัตติ ดังนี้,แต่ในอรรถกถาท่านได้กล่าวแยกไตรลักษณ์ทั้งหลายไว้ต่างหาก ก็เพื่อแสดงความแตกต่างจากสัตว์และหม้อเป็นต้น. เป็นการควรที่จะกล่าวว่า จริงอยู่ สภาวะอะไรๆที่จะไม่สงเคราะห์เข้าในกุสลติกะหามีไม่ดังนี้ เพราะกุสลติกะเป็นนิปเทสเทสนา (ทรงแสดงสภาวะไว้ไม่มีส่วนเหลือ)"[11].
  • "อิเม ตโยปิ อาการา อสภาวธมฺมตฺตา ขนฺธปริยาปนฺนา น โหนฺติ ฯ ขนฺเธหิ วินา อนุปฺปลพฺภนียโต ขนฺธวินิมุตฺตาปิ น โหนฺติ ฯ ขนฺเธ ปน อุปาทาย โวหารวเสน ลพฺภมานา ตทาทีนววิภาวนาย วิเสสการณภูตา ตชฺชาปญฺญตฺติวิเสสาติ เวทิตพฺพา ฯ-พีงทราบว่า อาการทั้ง ๓ อย่างไม่นับเข้าในขันธ์ เพราะเป็นธรรมะที่ไม่มีสภาวะ. แต่ก็ไม่เป็นทั้งขันธวินิมุตติด้วย เพราะเว้นจากขันธ์เสียแล้วก็จะมีไม่ได้. แต่เป็นตัชชาบัญญัตติต่างๆที่จิตอาศัยขันธ์ต่างๆ แล้วก็จึงได้บัญญัติมาด้วยอำนาจโวหาร เป็นตัชชาบัญญัตติที่เป็นเหตุแห่งความแตกต่างกันของการแสดงโทษของขันธ์นั้น ดังนี้"[12]

อ้างอิง แก้

  1. อภิธมฺมตฺถสงฺคโห,มรมฺม หน้า 57 ปริจเฉท 8 ข้อ 39
  2. พุทฺธโฆสาจริโย, วิสุทฺธิมคฺค-อฏฺฐกถา , อุปกฺกิเลสวิมุตฺตอุทยพฺพยญาณกถา, ปฏิปทาญาณทสฺสนวิสุทฺธินิทฺเทโส, วิสุทฺธิ. 2 ข้อ 739.
  3. ธมฺมปาลาจริโย, ปรมตฺถมญฺชูสา-ฎีกา, อุปกฺกิเลสวิมุตฺตอุทยพฺพยญาณกถาวณฺณนา ปฏิปทาญาณทสฺสนวิสุทฺธินิทฺเทสวณฺณนา วิสุทธิมคฺคมหาฎีกา, วิสุทฺธิ.มหาฏี. 2 ข้อ 739.
  4. พุทฺธโฆสาจริโย, สมฺโมหวิโนทนี-อฏฺฐกถา, อายตนวิภงฺคนิทฺเทสวณฺณนา สุตฺตนฺตภาชนีวณฺณนา อภิธมฺม-อฏฺฐกถา,อภิ.อฏฺ. 2 ข้อ 154.
  5. ธมฺมปาลาจริโย, มูลฎีกา, อายตนวิภงฺคนิทฺเทสวณฺณนา สุตฺตนฺตภาชนีวณฺณนา อภิธมฺม-มูลฎีกา, อภิ. มูลฏี. 2 ข้อ 154.
  6. ธมฺมปาลาจริโย, ลีนตฺถวณฺณนา-ฎีกา, อายตนวิภงฺคนิทฺเทสวณฺณนา สุตฺตนฺตภาชนีวณฺณนา อภิธมฺม-อนุฎีกา, อภิ. อนุฏี. 2 ข้อ 154.
  7. อภิ.ธ.อ.มกุฎ 75/-/620", บาลีอยู่ใน "​โลกุตฺตรกุสลวณฺณนา​ - -34- ​อฏฺฐสาลินี​ ​ธมฺมสงฺคณี​-​อฏฺฐกถา​ (พุทฺธโฆส) - ​อภิ​.​อฏฺ​. 1 ​ข้อ​ ๓๕๐"
  8. ในอภิ.วิ.อ.ฉ. มหามกุฎ 77/-/491 ค้นคำว่า ตทารมณ์ย่อม​ไม่​ได้​ใน​พลวิปัสสนา
  9. อภิธมฺมวิกาสินี 2 - อภิธมฺมาวตารฎีกา ๒ - ๑๒. ทฺวาทสโม ปริจฺเฉโท ปญฺญตฺตินิทฺเทสวณฺณนา - อภิธมฺมาวตารฏี.2/777
  10. ๑๖. ​ญาณวิภงฺ​โค​ - ๑. ​เอกกนิทฺ​เทสวณฺณนา​ - -35-​อนุ​- ​ลีนตฺถวณฺณนา​ 2 ​อนุฎีกาวิภงฺค์​ (ธมฺมปาล) - ​อภิ​.​อนุฏี​. 2 ​ข้อ​ ๗๖๖
  11. ติกนิกฺเขปกถาวณฺณนา - -34-อนุ- ลีนตฺถวณฺณนา 1 อนุฎีกาธมฺมสงฺคณี (ธมฺมปาล) - อภิ.อนุฏี. 1 ข้อ ๙๘๗
  12. ปญฺญานิทฺเทสวณฺณนา - ปฏิปทาญาณทสฺสนวิสุทฺธินิทฺเทสวณฺณนา – อุปกฺกิเลสวิมุตฺตอุทยพฺพยญาณกถาวณฺณนา-ปรมตฺถมญฺชุสา 2 วิสุทฺธิมคฺคมหาฎีกา 2 -วิสุทฺธิ.มหาฎีกา.2 ข้อ 740